ประโยชน์ของ ผักโขม ฝาแฝดปวยเล้ง อร่อยดี มีประโยชน์มากกว่าที่คิด
ผักโขม กับปวยเล้ง เหมือนกันไหม ? วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ ประโยชน์ของ ผักโขม กันค่ะ ซึ่งเป็นผักที่เราคุ้นเคยกันดี รสชาติหวานอร่อย นำไปทำได้หลายเมนู ทั้งใบอ่อน ยอดอ่อน และต้นอ่อน จะนำมาลวกหรือต้มให้สุกก็ได้ รับรองว่าภายใต้ความอร่อยที่ซ่อนอยู่นี้ มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพเพียบเลยล่ะค่ะ และจะมีข้อควรระวังในการทานผักโขม อย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ
ลักษณะของ ผักโขม
ผักโขม ไม้พุ่มเตี้ย โคนต้นมีสีแดงน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม สีเขียวหรือสีแดงตามสายพันธุ์ ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น เมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ
ผักโขม มีชื่อท้องถิ่น ว่า ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน) เป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง หรือป่าละเมาะ ป่ารกร้าง ซึ่งผักโขมมีหลายสายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น รสชาติจะออกหวาน ทานง่าย และมีโปรตีนสูง รวมถึงมีกรดอะมิโนครบทุกชนิด เหมาะกับผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติ
ผักโขม กับ ปวยเล้ง
ผักโขมกับปวยเล้ง คือผักคนละชนิดกัน ในการ์ตูนเรื่องป๊อปอายที่บอกว่าทานผักโขมแล้วเพิ่มพลังได้ แท้จริงแล้ว ผักที่ป๊อปอายทานจริงๆ ก็คือปวยเล้งหรือ Spinach (“สปีแนช”) ซึ่งผักสองชนิดนี้คือสปีชีส์เดียวกัน และคุณสมบัติทางด้านโภชนาการจะคล้ายๆ กันนั่นเองค่ะ (ทำความรู้จัก ปวยเล้ง)
คุณค่าทางโภชนาการ ผักโขม
- พลังงานทั้งหมด 23 กิโลแคลอรี่
- ไขมันทั้งหมด 1.6 กรัม
- ใยอาหาร 2.1 กรัม
- โปรตีน 3.8 กรัม
- คลอเรสเตอรอล 0 มิลลิกรัม
- โซเดียม 6 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 135 มิลลิกรัม
- คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม
- แคลเซียม 5 %
- วิตามินบี 6 6 %
- ไทอามิน 1 %
- ไนอาซิน 1 %
- ซิงค์ 6 %
- เหล็ก 12 %
- แมกนีเซียม 16 %
- ไรโบพลาวิน 1 %
- วิตามินอี 1 %
- ฟอสฟอรัส 15 %
*หมายเหตุ ร้อยละของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลลอรี่
ประโยชน์ของผักโขม
- ช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- ช่วยเสริมสร้างระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้น
- ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาอาหาร
- ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร
- ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน
ข้อควรระวังในการทาน ผักโขม
เนื่องจากผักโขม เป็นผักใบเขียวที่มีปริมาณสารออกซาเลตค่อนข้างสูง ผู้ที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว เกาต์ ปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณแคลเซียม ควรหลีกเลี่ยงการทานผักขมในปริมาณมาก
🙏 ข้อมูลอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, Green Net, ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความที่คุณอาจสนใจ
- ประโยชน์ของ 10 ผักสวนครัว ยอดฮิต แต่ละชนิดใกล้ตัว มีคุณค่ามากกว่าคิด
- 12 ประโยชน์ของ สมุนไพรไทย พืชผักสมุนไพร มีติดครัวไว้ทุกบ้าน
- แจกสูตร ผักโขมอบชีส ทำกินเองง่ายๆ อร่อยนัว ไม่กลัวอ้วน ทำขายได้เลย