ประโยชน์ของ สะระแหน่ สรรพคุณหลากหลาย หอมสดชื่น ดีต่อร่างกาย

ประโยชน์ของ สะระแหน่ สรรพคุณหลากหลาย หอมสดชื่น ดีต่อร่างกาย
nnanthisin
27 ธันวาคม 2565 ( 18:00 )
15.9K

        ใบสะระแหน่ หรือมินต์ ที่เราคุ้นเคยในไอศครีม หรือผักเครื่องเคียงในอาหารอีสาน บอกเลยว่าเป็นสมุนไพร ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด! ประโยชน์ สรรพคุณของ สะระแหน่ มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะพามารู้จักกันค่ะ ภายใต้กลิ่นหอมสดชื่น หรือรสชาติอร่อยแปลกๆ คล้ายทานยาสีฟัน มีคุณค่าทางโภชานาการซ่อนอยู่เพียบ! ตามมาดูกันเลยค่า

 

 

ลักษณะของ สะระแหน่

        สะระแหน่ (Kitchen Mint) พืชล้มลุกในวงศ์ตระกูลเดียวกันกับ กะเพรา โหระพา และแมงลัก เป็นพืชที่ขึ้นอย่างแพร่หลายในเขตอบอุ่น เพราะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารเมนธอล (Menthol) สูง มีแหล่งกำเนิดในแถบทวีปยุโรปตอนใต้และในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีกลิ่นและรสชาติคล้ายกับตะไคร้หอมและมะนาว รูปทรงของใบเป็นรูปกลมรี ขอบใบหยัก สีเขียวชัดเจน

ชื่อเรียก สะระแหน่

  • ภาษาอังกฤษ : Kitchen Mint
  • ภาคกลาง : สะระแหน่ หรือสะระแหน่สวน
  • ภาคเหนือ : หอมด่วน หอมเดือน
  • ภาคอีสาน : ขะแยะ
  • ภาคใต้ : สะแน่ มักเงาะ

 

 

ประโยชน์ของ สะระแหน่

        สะระแหน่ มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีม ชาสมุนไพร หรือใช้เป็นส่วนผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ คนไทยมักใช้ใบสะระแหน่ ปรุงอาหารเพื่อดับกลิ่นหรือเพิ่มรสชาติของอาหารรสจัด หรือใช้เป็นผักสดแกล้มกับเมนูอาหารอีสาน เช่น ลาบ หรือเมนูปลาร้า และใช้ปรุงกลิ่นรสอาหาร หรือดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา นอกจากนี้ยังพบในยำต่างๆ รวมถึงใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มต่างๆ และใช้เป็นเครื่องเคียงในผลไม้สด

 

คุณค่าโภชนาการของ ใบสะระแหน่ 100 กรัม

  • พลังงาน 48 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม
  • ไฟเบอร์ 3 กรัม
  • โซเดียม 20 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 30 มิลลิกรัม

 

 

สรรพคุณของ สะระแหน่

  1. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  2. ช่วยบรรเทาอาการเครียด
  3. ช่วยบรรเทาอาการและแก้หวัด น้ำมูกไหล อาการไอ
  4. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
  5. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  6. ช่วยให้หัวใจแข็งแรง
  7. ช่วยระงับกลิ่นปาก
  8. ช่วยขับลมในลำไส้และช่วยในการย่อยอาหาร
  9. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ปวดท้อง อาการบิด
  10. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  11. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  12. ช่วยระงับอาการปวดได้ดี

 

🙏 ข้อมูลอ้างอิง : มูลนิธิหมอชาวบ้าน, ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้