15 ประโยชน์ของ ผักกวางตุ้ง หวานอร่อย วิตามินเยอะ สรรพคุณเพียบ!

15 ประโยชน์ของ ผักกวางตุ้ง หวานอร่อย วิตามินเยอะ สรรพคุณเพียบ!
Maysylvie
6 ธันวาคม 2565 ( 16:00 )
28.6K
1

      เอาใจคนชอบกินผัก บอกต่อ 15 ประโยชน์ของ ผักกวางตุ้ง พร้อม ข้อควรระวังในการกิน ผักกวางตุ้ง มาฝากกัน เรียกว่าเป็นผักใบเขียวสุดอร่อยที่คนไทยคุ้นเคย หาซื้อง่าย ด้วยรสชาติที่หวาน และมีราคาถูก แถมอุดมไปด้วยวิตามิน และสรรพคุณมากมาย จึงไม่แปลกใจที่ทำไมผักชนิดนี้ถึงอยู่ในเมนูอาหารมากมาย ถ้าอยากรู้ว่าเจ้าผักชนิดนี้มีประโยชน์อะไรบ้าง ก็ตามมาดูกันเลย

 

 

15 ประโยชน์ ของ ผักกวางตุ้ง 

1.ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

2.ช่วยบำรุงและรักษาสายตา

3.ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง

4.ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

5.ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม

6.ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง

7.การทานกวางตุ้งเป็นประจำทำให้ฟีโรโมนหลั่งออกมา จะทำให้กลิ่นตัวหอม

8.เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง 

9.ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

 

10.ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง

11.ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก

12.มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม

13.อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก

14.ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง

15.มีสรรพคุณช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ร่างกาย ระบายความร้อนได้ดี

 

 

คุณค่าทางโภชนาการ ผักกวางตุ้ง 100 กรัม 

  • พลังงาน 13 กิโลแคลอรี่ 
  • คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม 
  • เส้นใย 1.0 กรัม 
  • ไขมัน 0.2 กรัม 
  • โปรตีน 1.5 กรัม 
  • วิตามินเอ 243 ไมโครกรัม 
  • วิตามินซี 45 มิลลิกรัม 
  • แคลเซียม 105 มิลลิกรัม 
  • ธาตุเหล็ก 0.80 มิลลิกรัม
  • แมกนีเซียม 19 มิลลิกรัม 
  • โซเดียม 65 มิลลิกรัม 

 

 

ข้อควรรู้ในการปรุงผักกวางตุ้ง 

     ผักกวางตุ้งอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินเอ และวิตามินซีในปริมาณที่สูงมาก เพราะฉะนั้นการนำผักกวางตุ้งไปประกอบอาหารก็ไม่ควรตั้งไฟนานจนเกินไป เพราะความร้อนจะไปทำลายวิตามินที่อยู่ในผักกวางตุ้งอย่างวิตามินซีและเบตาแคโรทีน และจะทำให้สารอาหาทีอยู่ในผักกวางตุ้ง แทบไม่เหลือเลยนั้นเอง

 

 

ข้อควรระวังในการกินผักกวางตุ้ง

      ผักกวางตุ้ง จะมีสารบางชนิดเมื่อถูกความร้อนแล้วจะกลายเป็นสารตัวใหม่ ซึ่งได้แก่สารไทโอไซยาเนต (thiocyanate) เมื่อได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย ความดันเลือดต่ำ ร่างกายอ่อนเพลีย นอกจากนี้ ผักกวางตุ้งเป็นหนึ่งในผักที่มักตรวจพบสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงอยู่บ่อยๆ จึงควรทำความสะอาดผักก่อนการนำมาปรุงเป็นอาหาร ไม่ว่าจะด้วยวิธีการแช่น้ำส้มสายชู แช่ในน้ำเกลือ หรือจะล้างด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกน้ำนานอย่างน้อย 2 นาที จะช่วยลดปริมาณสารพิษที่ตกค้างในผักชนิดนี้ได้

 

 

🙏 ข้อมูลอ้างอิง : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรสมาคมพัฒนาคุณภาพและสิ่งแวดล้อม 

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้