เทคนิคเลือกใช้ เนื้อวัว ให้เหมาะกับเมนู เนื้อส่วนไหนทำเมนูอะไรอร่อย
สายเนื้อมาดูทางนี้เลยย วันนี้เราจะขอชวนทุกคนมาเปลี่ยนเมนูอาหารที่บ้าน ให้อร่อยฟินเหมือนได้ไปกินที่ร้านหรู เคล็ดลับก้นครัวที่เชฟอยากบอกต่อ เทคนิคดีๆ กับ วิธีเลือกใช้เนื้อวัว ให้เหมาะกับเมนู ตามเรามาดูกันว่า เนื้อวัวส่วนไหน เอามาทำเมนูอะไรถึงจะอร่อยที่สุด เพียงแค่เลือกใช้เนื้อคุณภาพดี และเลือกส่วนให้ตรงกับเมนูที่ต้องหาร บอกเลยว่าอาหารมื้อนี้ของคุณต้องไม่ธรรมดาแน่นอน 🐮🥩🍖
วิธีเลือกใช้เนื้อวัวให้เหมาะกับเมนู
เชฟชั้นนำต่างรู้ดีว่า ขั้นตอนแรกของการปรุงอาหารคือการเลือกสรรวัตถุดิบคุณภาพดี โดยเฉพาะเมนูที่มี เนื้อ เป็นตัวชูโรง ยิ่งต้องใส่ใจเลือกวัตถุดิบจากแหล่งผลิตเนื้อที่เชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับในวงการอาหารโลก และ เนื้อออสเตรเลีย ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเนื้อชื่อดังไว้วางใจ เพราะมีชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้เลือกหลากหลาย ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากการทำปศุสัตว์แบบธรรมชาติ ทำให้ได้เนื้อคุณภาพเยี่ยมที่มอบรสชาติอร่อย เข้มข้น และให้กลิ่นหอมหวนเป็นเอกลักษณ์ที่เนื้อจากแหล่งอื่น ๆ ให้ไม่ได้
และเมื่อพูดถึงผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อในเมืองไทย หลายคนคงนึกถึง เชฟแพม-พิชญา อุทารธรรม เชฟชื่อดังที่ยืนหนึ่งในเรื่องศาสตร์ของเนื้อทุกส่วนตั้งแต่หัวยันหาง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ เชฟแพมยังได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานส่งเสริมผลิตภัณฑ์เนื้อของรัฐบาลออสเตรเลีย (Meat & Livestock Australia – MLA) ให้เป็น แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ True Aussie Beef คนแรกของประเทศไทย และหลายคนอาจยังไม่รู้ว่าเชฟแพมมีเชื้อสายออสซี่ ซึ่งทำให้เธอรู้สึกผูกพันกับรสชาติและความเป็นออสเตรเลียอย่างลึกซึ้ง
เนื้อวัวส่วนไหนทำเมนูอะไรดี ?
ขั้นตอนสุดท้ายในการเลือกเนื้อคือเราต้องรู้ว่าชิ้นเนื้อส่วนไหนเหมาะสำหรับปรุงเป็นเมนูใด และนี่คือแนวทางง่าย ๆ ในการเลือกคัตเนื้อของ True Aussie Beef เพื่อให้คุณเลือกคัตเนื้อที่เหมาะสมมาปรุงจานเด็ดได้แบบไม่มีพลาด
- เมนูสเต็ก : ควรใช้ชิ้นเนื้อส่วนสันนอก (top sirloin) สันใน (tenderloin) หรือเนื้อส่วนใบบัว (flank) เพราะเหมาะสำหรับการย่างบนตะแกรง ทั้งยังเหมาะกับการเซียร์ด้วยความร้อนสูงแล้วนำออกมาพักไว้สักครู่ ก่อนยกเสิร์ฟ
- เมนูอบ : เนื้อซี่โครง (rib-eye) ขา (leg) เนื้อส่วนลูกมะพร้าว (eye round) เนื้อสะโพกบน (top round) และสันนอก (striploin) เหมาะกับการทำเมนูอบมากที่สุด
- เมนูแบบเนื้อบด : ชิ้นเนื้อที่เหมาะสมกับการปรุงรูปแบบนี้ ได้แก่ ส่วนสะโพก (round) ทั้งส่วนบนและล่าง สามารถนำมาบดเพื่อทำเป็นซอสพาสต้า มีตบอล (Meat Ball) และทาโค ได้อย่างดี
- เมนูที่ปรุงด้วยความร้อนนาน เมนูซุป หรือ เมนูตุ๋น : ชิ้นเนื้อทุกส่วนสามารถปรุงด้วยความร้อนได้ แต่มีบางชิ้นส่วนที่เหมาะสมมากกว่า อาทิ เนื้อเสือร้องไห้ (brisket) เนื้อซี่โครงส่วนปลาย (short ribs) เนื้อไหล่ (blade) สันคอ (chuck) เพราะเมื่อนำมาปรุงด้วยความร้อนอย่างช้า ๆ เป็นเมนูแกงต่าง ๆ แคสเซอโรล ซุป หรือเมนูตุ๋น ชิ้นเนื้อเหล่านี้จะให้เนื้อสัมผัสนุ่มจนละลายในปาก
ยิ่งเนื้อวัวมีชั้นไขมันลายหินอ่อนแทรกตัวหนาแน่น
ก็จะยิ่งให้รสชาติที่เข้มข้นมากขึ้น
คนรักเนื้อต้องเคยได้ยินคำว่า “ชั้นไขมันลายหินอ่อน” ซึ่งก็คือชั้นไขมันแทรกในกล้ามเนื้อของวัวนั่นเอง เมื่อเรานำเนื้อที่มีชั้นไขมันลายหินอ่อนมาปรุงอาหารก็จะได้เมนูเนื้อที่มีความชุ่มฉ่ำและรสชาติที่เข้มข้นมาก โดยทั่วไปนั้น “เนื้อวัวเกรดสูง” ก็จะยิ่งมีชั้นไขมันลายหินอ่อนแทรกตัวอยู่หนาแน่นมาก โดยเนื้อจากออสเตรเลียจะถูกแบ่งเกรดจากระบบการประเมินชั้นไขมันลายหินอ่อนของสมาคม AUS-MEAT ซึ่งแบ่งตั้งแต่ระดับ 0 (ปราศจากชั้นไขมันลายหินอ่อนที่มองเห็นได้) ไปจนถึงระดับ 9 (ปรากฏชั้นไขมันลายหินอ่อนหนาแน่น) ซึ่งการเกิดชั้นไขมันลายหินอ่อนในเนื้อวัวมาจากหลายปัจจัย อาทิ อายุของสัตว์ อาหารที่ใช้เลี้ยง (หญ้าหรือธัญพืช) รวมถึงสายพันธุ์
คอเนื้อทั้งหลายรู้แบบนี้แล้ว ต้องอย่าลืมเลือกซื้อเฉพาะเนื้อเกรดดีที่มีชั้นไขมันลายหินอ่อน เพื่อให้ได้รสชาติอาหารที่เข้มข้น นุ่มละมุนลิ้น และชุ่มฉ่ำ ไม่แพ้ร้านอาหารดัง ๆ ที่คุณชื่นชอบเลยทีเดียวค่ะ
บทความที่คุณอาจสนใจ
- ทำความรู้จัก เนื้อวัวแต่ละส่วน ต่างกันยังไง ทำเมนูไหน อร่อยที่สุด
- เคล็ดลับระดับเชฟ! 6 ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก แต่ละชนิดใช้เวลากี่นาที
- สูตรทำ สเต็กเนื้อ ฉบับมือใหม่ หนานุ่มชุ่มฉ่ำ จ่ายไม่แพงก็อร่อยแรงได้ 🥩
---------------------------
อัพเดทคาเฟ่สุดชิล รีวิวร้านอร่อยร้านดัง แจกสูตรอาหารเด็ดๆ
มาพูดคุยแชร์รูปยั่วน้ำลาย ให้สายกินต้องอิจฉา
ที่แอปทรูไอดี คลิกเลย > TrueID Food Community <