ไขข้อข้องใจ เนื้อสัตว์ประเภทไหน กินดิบได้ กินดิบไม่ได้? สายเข้าครัวต้องจด!
จากกระแสของรายการ MasterChef Thailand season 4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เกิดกระแสการทำวัตถุดิบจากปลาสวาย ซึ่งมีหนึ่งในผู้เข้าแข่งขัน ทำปลาสวายไม่สุก ทำให้คณะกรรมการไม่สามารถกินได้ แต่ในอีกโจทย์หนึ่งคือนกพิราบ หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันทำเสิร์ฟในแบบ medium rare แต่คณะกรรมการสามารถกินได้ จึงเกิดเป็นคำถามว่า แล้วเนื้อสัตว์ปรเภทไหนสามารถกินดิบได้ เนื้อสัตว์ประเภทไหนไม่สามารถกินดิบได้ วันนี้เราเลยจะมาไขข้อข้องใจพอสังเขป เพื่อให้เหล่าพ่อครัว แม่ครัว เก็บไว้เป็นความรู้เพื่อทำอาหารในครัวกันจ้า
- เคล็ดลับระดับเชฟ! 6 ระดับความสุกของเนื้อสเต็ก แต่ละชนิดใช้เวลากี่นาที
- หนทางสู่ Master Chef ! 10 คำศัพท์การทำอาหาร สู่การเป็นเชฟมืออาชีพ!
เนื้อสัตว์ที่กินดิบได้ เนื้อสัตว์ที่กินดิบไม่ได้
สัตว์น้ำและเนื้อปลาที่กินดิบได้
- ปลาแซลมอน
- ปลามากุโร่ (ปลาทูน่า)
- คัตสึโอะ (ตระกูลเดียวกับปลาทูน่า)
- ปลาเทราต์
- ปลาบุริ (หรือปลาอาจิ)
- หอยเชลล์
- กุ้ง, กั้ง
- ปลาหมึก
- ปูทะเล
สัตว์น้ำและเนื้อปลาที่กินดิบไม่ได้ (ส่วนใหญ่คือปลาน้ำจืด)
- ปลาบึก
- ปลาสวาย
- ปลาทู
- ปลากระเบน
- ปลาไหล
- ปลานิล
- ปลากระพง
ข้อควรรู้ในการกินปลาดิบ
เป็นที่รู้กันว่าปลาจากทะเลน้ำจืดเกือบ 100% จะไม่สามารถกินดิบได้ นอกจากนี้พยาธิที่เกิดจากปลาดิบที่เราพบเห็นบ่อยที่สุดคือ อะนิซาคิส (Anisakiasis) หรือก็คือพยาธิตัวกลมที่อาศัยอยู่ในปลาทะเลและหมึก โดยจะแฝงตัวอยู่ในกระเพาะอาหาร จะทำให้มีอาหารคล้ายอาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน โดยการป้องกันพยาธิจากอาหารทะเลทำได้โดยง่ายคือ การนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-7 วัน หรือต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง เพื่อฆ่าเชื้อนั่นเอง
เนื้อสัตว์ทั่วไป ที่กินดิบได้
- เนื้อวัว
- เนื้อแกะ
- นกพิราบฝรั่งเศส
เนื้อสัตว์ทั่วไป ที่กินดิบไม่ได้
- เนื้อหมู
- เนื้อไก่
- เนื้อเป็ด
- เนื้อห่าน
- เนื้อจระเข้
- นกกระจอกเทศ
ข้อควรรู้ในการกินเนื้อสัตว์ในแบบดิบ
แม้เนื้อวัว เนื้อแกะ และอื่นๆ จะสามารถกินดิบได้ แต่ก็ไม่ควรกินโดยไม่ผ่านการปรุงด้วยความร้อนเลย แม้เนื้อที่ได้จะสะอาดเพียงใด เพราะอาจจะมีพยาธิหลงเหลืออยู่ ส่วนความสุกที่ควรทำก่อนรับประทานขั้นต่ำคือระดับ rare นั่นเอง
เลือกของดิบอย่างไรให้ปลอดภัย
- ถ้าเป็นปลาดิบ ควรเลือกแบบซาซึมิ เกรด สามารถสอบถามที่พนักงานได้
- สำหรับอาหารทะเลก่อนนำมารับประทานควรผ่านการแช่แข็งในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า -35 องศาอย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือแช่ในอุณหภูมิที่ -20 องศา นาน 7 วัน
- สินค้าที่วางจำหน่ายควรเก็บรักษาในอุณหภูมิแช่เย็นตลอดเวลา
- สังเกตที่วันหมดอายุ หรือสีของเนื้อสัตว์ที่เลือก ควรสดใหม่ ไม่ออกสีคล้ำ
- เลือกซื้อปลาและอาหารทะเลให้หลากหลายประเภท ป้องกันการตกค้างของสารปนเปื้อนจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง