ชาเขียว Green Tea กับ มัทฉะ Matcha สีเขียวเหมือนกัน แล้วต่างกันยังไง
ชาเขียวธรรมดา กับชาเขียวมัทฉะต่างกันยังไง สรุปง่ายๆ ให้เข้าใจในเวลาสั้นๆ ! สำหรับใครที่เป็นสาย ชาเขียวเลิฟเวอร์ หรือ Matcha Lovers หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว ชาทั้งสองชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีสีเขียวด้วยกันทั้งคู่ แต่ทั้งกรรมวิธีการผลิต รสชาติ กลิ่น และรสสัมผัสนั้นไม่เหมือนกันนะจ๊ะ เอาล่ะ ถ้าอยากรู้แล้วว่า ชาเขียว Green Tea กับ มัทฉะ Matcha ต่างกันตรงไหน ก็ตามเรามาหาคำตอบกันเลยค่ะ
ชาเขียวธรรมดา ชาเขียวมัทฉะ ต่างกันยังไง
ชาเขียว กับ มัทฉะ ชาทั้งสองตัวนี้จะเป็นชาเขียวที่มีลักษณะต้นชาเหมือนกัน หรือเรียกได้ว่าเป็นต้นเดียวกันเลยก็ได้ แต่มีกรรมวิธีในการปลูก การผลิต และแปรรูปที่ต่างกัน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นเหมือนกัน ซึ่งชาเขียวสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้เป็น 4 ประเภท ที่คนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย และหาซื้อได้ง่าย คือ
- Sencha (เซนฉะ) ใบชาเขียว หรือ Green Tea ที่อบจนแห้ง มีรสหอม หวานโคนลิ้น ดื่มง่าย สีของน้ำชาจะเป็นสีเขียวอ่อน
- Genmaicha (เกนไมฉะ) ชาข้าวคั่ว คือการนำใบชาเขียวมาผสมกับข้าวคั่ว ข้าวพอง น้ำชาที่ได้จะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ สีของน้ำชาจะมีสีเหลืองอ่อน
- Hojicha (โฮจิฉะ) ใบชาเขียวที่คั่วผ่านความร้อน จนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดงมีความเข้มคล้ายชาจีน แต่มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีของน้ำชาจะเป็นสรน้ำตาลใส
- Matcha (มัทฉะ) ผงยอดอ่อนใบชา บดละเอียด จนสามารถละลายน้ำได้
ซึ่งชาเขียวที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกก็คือ Sencha (เซนฉะ) หรือ ชาเขียว Green Tea และ Matcha (มัทฉะ) นั่นเองค่ะ
ขั้นตอนการชง ชาเขียว Green Tea และ มัทฉะ Matcha
เรียกได้ว่าสิ่งที่ทำให้เราสามารถแยกชาเขียวกับมัทฉะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร ที่ง่ายที่สุดก็คือขั้นตอนการชงนั่นเองค่ะ เพราะชาทั้ง 2 ชนิด มีขั้นตอนการชงที่แจกต่างกันโดยสิ้นเชิง
วิธีการชงชาเขียว
การชงชาเขียว เป็นการนำใบชามาแช่ในน้ำร้อน ซึ่งต้องชงด้วยน้ำร้อนที่อุณภูมิไม่ร้อนจนเกินไป (ประมาณ 80 องศาเซลเซียส) และก่อนดื่มต้องกรองน้ำชาผ่านตัวกรองก่อน เพราะใบชาเขียวจะไม่สามารถละลายน้ำได้ โดยเวลาในการแช่ใบชาไม่ควรแช่นานเกินไปเพราะจะทำให้น้ำชาเฝื่อน และขม
วิธีการชงมัทฉะ
การชงมัทฉะ เป็นการผสมผงชาเข้ากับน้ำร้อน น้ำเย็น หรือนมเย็น ถ้าชงด้วยน้ำร้อนจะต้องควบคุมอุณภูมิของน้ำเพราะถ้าใช้น้ำร้อนจัดเกินไป รสชาติชาจะมีความเฝื่อน ขม และการผสมชาควรใช้แปรงตีชา (Chasen) ตีผสมชาเป็นรูปตัว M เพราะเป็นการคนที่จะช่วยให้ผงชาละลายได้ดีที่สุด และเกิดฟองสวยงาม
ลักษณะชา
ชาเขียว : มีลักษณะเป็นใบชาแห้ง ซึ่งความละเอียดของใบอาจจะแตกต่างกันออกไป
มัทฉะ : ลักษณะเป็นผง มัทฉะเป็นอาหารที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เป็นการนำยอดอ่อนใบชาเขียวมาบดจนเป็นผงละเอียดมากๆ จนเหมือนผงแป้ง
สีของน้ำชา
ชาเขียว : น้ำชาจะมีสีเขียว ใส ถ้าชงแล้วปล่อยทิ้งไว้จะไม่ค่อยตกตะกอน
มัทฉะ : ลักษณะจะมีสีเขียวขุ่น เข้มข้น สีอาจจะอ่อนหรือแก่ ขึ้นอยู่กับการผลิตของแต่ละพื้นที่ เมื่อชงน้ำชาวางทิ้งไว้ผงชาจะตกตะกอนไปที่ก้นแก้ว
กลิ่น
ชาเขียว : มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ บางวิธีการชงอาจจะทำให้น้ำชามีกลิ่นคล้ายสาหร่าย ที่ประเทศไทยนิยมอบใบชาเขียวพร้อมดอกมะลิ จะทำให้กลายเป็นกลิ่นชาเขียวมะลิ
มัทฉะ : มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ของยอดอ่อนใบชา มีกลิ่นหอมนวลๆ ขึ้นจมูก
รสชาติ รสสัมผัส
ชาเขียว : เป็นน้ำชาใสๆ หอมกลิ่นใบชา มีกลิ่นอูมามิ สดชื่น ไม่ขม
มัทฉะ : น้ำชามีลักษณะนวล เนียน เข้มข้น ไม่ขม หอมโดดเด่น มีรสอูมามิชัดเจน มีความข้นกว่าการชงแบบใบชา บางคนอาจจะสัมผัสได้ถึงความเป็นผงๆ ตอนดื่ม เหมาะกับการดื่มแบบร้อน เอามาชงกับนม นำมาทำไอศกรีม และผสมในขนมต่างๆ
การปลูก
ชาเขียว : ปลูกกลางแจ้ง แบบปกติ
มัทฉะ : มีขั้นตอนการปลูกและการดูแลที่ละเอียดทุกขั้นตอน ต้นชาจะต้องปลูกในร่มเท่านั้น มีการกางสแลนคลุมเพื่อไม่ให้ใบชาโดนแดด ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ต้นชาผลิตคลอโรฟิลล์มากขั้น จึงทำให้ยอดใบชามีสีเขียวเข้ม กว่าชาเขียวปกติ
ราคา
ชาเขียว : ด้วยขั้นตอนการปลูก และการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้มีราคาไม่สูงมาก
มัทฉะ : มัทฉะเป็นใบชาที่ต้องใช้ขั้นตอนการปลูก การเก็บเกี่ยว และการผลิตที่ละเอียด นึงทำให้ผงมัทฉะมีราคาสูง ยิ่งคุณภาพดี ก็ยิ่งแพง
อุปการณ์ที่ใช่ในการชงชา
อุปกรณ์ในการชงชาเขียว
- ใบชาเขียว
- กาน้ำชา พร้อมที่กรองใบชา
- ถ้วยชา
อุปกรณ์ในการชงมัทฉะ
- ผงมัทฉะ
- ที่ตักมัทฉะ
- แปรงตีชา (Chasen) หรือที่ตีฟองชา ทำมาจากไม้ไผ่
- ที่กรองผงมัทฉะ
- ถ้วยชา
การเก็บรักษาชาเขียว และมัทฉะ
จริงๆ แล้วชาทั้งสองชนิดมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ค่ะ
- ไม่ควรวางชาอยู่ใกล้กับอาหารที่มีกลิ่น
- เวลานำชาไปให้ห้ามใช้มือหยิบ ควรใช่ช้อนที่แห้งสนิทเท่านั้น
- ควรรักษาความชื้นของใบชา และผงชา รีบเปิดและรีบปิดภาชนะใส่ชา
- เวลาปิดถุงชาควรรีดอากาศให้ออกจากถุงก่อนที่จะปิดถุงให้สนิท
- ห้ามนำถุงชาหรือกระปุกชาไปโดนแดด ควรใส่ในภาชนะทึบแสงเท่านั้น
- ปิดฝาถุงให้สนิท พยายามอย่าให้อากาศเข้าไปในถุงได้ เพราะความชื้นในอากาศจะทำให้ชามีรส สี กลิ่น ที่เปลี่ยนไปได้
บทความที่คุณอาจสนใจ
- 10 ร้านชาเขียว ในกรุงเทพ อัพเดท 2021 เข้มสะใจ มัทฉะเลิฟเวอร์ถูกใจสิ่งนี้ !
- แจกสูตร 15 เมนูชาเขียว ทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน ชาเขียวเลิฟเวอร์ต้องโดน
- สูตรชงชาเขียวนมสด มัทฉะลาเต้ สูตรอร่อย เข้มข้นหอมมัน ถูกใจสายเขียว 🍵
---------------------------
อัพเดทคาเฟ่สุดชิล รีวิวร้านอร่อยร้านดัง แจกสูตรอาหารเด็ดๆ
มาพูดคุยแชร์รูปยั่วน้ำลาย ให้สายกินต้องอิจฉา
ที่แอปทรูไอดี คลิกเลย > TrueID Food Community <