รวมลิสต์อาหารสำหรับ ตักบาตรเทโว เตรียมของใส่บาตร ในวันออกพรรษา 2566

รวมลิสต์อาหารสำหรับ ตักบาตรเทโว เตรียมของใส่บาตร ในวันออกพรรษา 2566
MEEKAO
28 ตุลาคม 2566 ( 13:00 )
91.2K
1

     เมืองไทยเมืองพุทธ สำหรับ วันออกพรรษา 2566 ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566 และสำหรับกิจกรรมสำคัญของพุทธศาสนิกชนในช่วงวันออกพรรษา ก็คือการ ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโหรณะ นั่นเองค่ะ ในทุกๆ ปี วันตักบาตรเทโว ก็จะถูกจัดขึ้นหลังจากวันออกพรรษา 1 วัน และในปีนี้จะตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม 2566 นั่นเองค่ะ สำหรับใครที่กำลังจัดเตรียมอาหารสำหรับใส่บาตรให้พระสงฆ์ ในวันตักบาตรเทโว วันนี้เรารวมมาให้แล้วค่ะ

 

 

ตักบาตรเทโว คืออะไร

 

     คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก เชื่อกันว่าในวันออกพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จะเป็นวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ หลังที่ทรงจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 3 เดือน ในแต่ละจังหวัดของประเทศไทย ก็จะมีการจัดงานตักบาตรเทโวกันที่บริเวณพระอุโบสถ โดยชาวพุทธ จะตั้งแถวนั่งหรือยืนเรียงเป็นสองฝั่ง และพระสงฆ์จะเดินเรียงแถวอยู่ตรงกลางเพื่อออกบิณฑบาต นับว่าเป็นภาพที่สวยงามและหาดูได้ยากขึ้นรื่อยๆ ในปัจจุบันค่ะ

 

 

การเตรียมอาหาร สำหรับตักบาตรเทโว

     อาหารที่นิยมนำมาใส่บาตร ตักบาตรเทโว ในวันออกพรรษา สามารถใส่บาตรได้ทั้งของสดและของแห้งค่ะ แต่ในสมัยนี้คนส่วนมากจะนิยมใส่ข้าวสารอาหารแห้งค่ะ เนื่องจากเป็นงานบุญใหญ่ ถ้าใส่อาหารสดปรุงสุกก็อาจจะทำให้อาหารเน่าเสียเร็ว และอีกหนึ่งอาหารที่ขาดไม่ได้ในการตักบาตรเทโว ก็คือ ข้าวต้มลูกโยน หรือ ข้าวต้มมัด ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ในการตักบาตรเทโวนั่นเองค่ะ

 

 

ข้าวต้มลูกโยน คืออะไร

     ข้าวต้มลูกโยน หรือ ข้าวต้มหาง ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ผสมน้ำตาล เกลือ จะใส่ถั่วดำกับกล้วยน้ำว้าหรือไม่ใส่ก็ได้ จาดนั้นนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน คล้ายข้าวต้มมัด แต่จะต่างกันที่การห่อ โดยการห่อข้าวต้มลูกโยน จะมีการเหลือส่วนของใบออกมาให้เป็นลักษณะคล้ายหาง เพื่อให้สะดวกในการใส่บาตรของชาวพุทธนั่นเองค่ะ ข้าวต้มลูกโยน เป็นอีกหนึ่งอาหาร ที่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการตักบาตรเทโว เลยทำให้บางพื้นที่เรียกงานตักบาตรเทโว ว่า งานตักบาตรลูกโยน ซึ่งก็สามารถใช้ข้าวต้มมัดมาใช้ในการตักบาตรเทโวได้เช่นกันค่ะ

 

 

ที่มาของข้าวต้มลูกโยน

     เชื่อกันว่าในวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จกลับลงมายังโลกมนุษย์ ชาวบ้านชาวเมืองผู้เลื่อมใสที่ทราบข่าว ก็พากันไปทำบุญตักบาตรกันอย่างแน่นขนัด ซึ่งก็มีประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงตัวพระพุทธองค์ได้ จึงได้นำข้าวมาปั้นก้อนแล้วโยนลงบาตร เมื่อเวลาผ่านไปจึงได้มีการปรับเป็นข้าวต้มลูกโยน และข้าวต้มมัด นั่นเองค่ะ

 

ดูวิธีทำข้าวต้มลูกโยน ที่นี่ 👩‍🍳 : วิธีทำ ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มหาง ตักบาตรเทโว วันออกพรรษา หวาน มัน อร่อย

 

วิธีการห่อข้าวต้มลูกโยน

 

 

อาหารแห้งที่เหมาะสำหรับนำมาใส่บาตร

  1. ข้าวต้มลูกโยน หรือ ข้าวต้มหาง นิยมใส่เฉพาะตักบาตรเทโว
  2. ข้าวสาร บรรจุถุงและปิดปากถุงให้เรียบร้อย ในปริมาณที่พอดี ไม่เยอะเกินไป เพราะจะทำให้พระสงฆ์หนักเกินไปค่ะ
  3. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป แบบถ้วย หรือแบบซองก็ได้
  4. อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน ควรดูวันหมดอายุ และเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
  5. น้ำดื่ม น้ำสะอาด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการดำรงค์ชีวิตของพระสงฆ์
  6. นมกล่อง หรือน้ำผลไม้แบบกล่อง ที่สามารถเก็บได้นานโดยไม่ต้องแช่เย็น จะเป็นนมวัวหรือนมถั่วเหลืองก็ได้ ควรดูวันหมดอายุให้ดี และเลือกแพ็คเกจที่แข็งแรง
  7. ยาสามัญประจำบ้าน เป็นอีกสิ่งจำเป็นสำหรับพระสงฆ์

 

 

อาหารที่สมควรถวายแก่พระภิกษุสงฆ์

  • เนื้อสัตว์ทุกชนิด ซึ่งเป็นเนื้อที่เขาฆ่าเพื่อนำมาขายเป็นอาหารคนพื้นเมือง ตามร้านตลาดเรียกว่า “ปะวัตตะมังสะ” แปลว่า เนื้อมีอยู่แล้ว เนื้อที่เป็นไปอยู่ตามปกติที่เขาทำให้สุกด้วยไฟแล้ว อนุญาตให้พระภิกษุฉันได้ ไม่เป็นอาบัติ
  • สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงเพื่อทำอาหารถวายแก่พระภิกษุโดยตรง แต่พระภิกษุไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้สงสัยว่าเขาฆ่าเป็นการเฉพาะเจาะจงแก่ตน อนุญาตให้พระภิกษุฉันได้ไม่เป็นอาบัติ

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิพิเศษแนะนำ

ยอดนิยมในตอนนี้

สิทธิพิเศษแนะนำ