เขียงแต่ละสี ใช้กับอะไรบ้าง ? เขียงสีไหนใช้หั่นอะไร ทำไมต้องแยกสี

เขียงแต่ละสี ใช้กับอะไรบ้าง ? เขียงสีไหนใช้หั่นอะไร ทำไมต้องแยกสี
MEEKAO
14 พฤษภาคม 2568 ( 14:25 )
15

     วิธีเลือกใช้เขียง เขียงสีไหน ใช้หั่นอะไร ? วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่า เขียงมีกี่ชนิด แล้วทำไมทำไมเราถึงควรจะต้องแยกสีเขียงในการหั่นอาหารแต่ละประเภท เขียงแต่ละสี ใช้กับอะไรบ้าง ใครกำลังสงสัยอยู่ก็ตามเรามาหาคำตอบกันเลย

 

 

ทำไมต้องแยกสีเขียง ในการหั่นอาหาร

     การแยกสีเขียงในการหั่นอาหารประเภทต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการแยกเขียงจะช่วยป้องกันการ ปนเปื้อนข้าม (cross-contamination) ซึ่งอาจทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค และไม่ปลอดภัยในการบริโภค การแยกสีของเขียงในการหั่นอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะในร้านอาหารหรือครัวกลางที่ต้องการมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร

  • ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค : เพราะเนื้อดิบของสัตว์บางชนิด เช่น เนื้อหมู ไม่สามารถทานดิบได้ เพราะอาจมีการปนเปื้อนของ สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis) การแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ ที่อาจมีสาร ซาลโมเนลลา (Salmonella ) จึงเป็นการลดการปนเปื้อนของอาหาร ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ลดความเสี่ยงของโรค : การใช้เขียงแยกตามประเภทอาหารช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะเกิดอาการอาหารเป็นพิษ หรือการแพ้อาหารได้
  • มาตรฐานด้านสุขอนามัย : ร้านอาหาร โรงแรม โรงเรียน หรือโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะถูกตรวจสอบด้านสุขอนามัย ซึ่งการแยกเขียงเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานที่ควรปฏิบัติ

 

 

เขียงแต่ละสี ใช้กับอะไรบ้าง

เขียงสีแดง ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีแดง ใช้สำหรับการหั่นเนื้อแดง เนื้อสัตว์บก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ "ดิบ" เช่น

  • เนื้อวัว
  • เนื้อหมู
  • เนื้อแกะ
  • หรือเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ที่ยังดิบอยู่

 

เขียงสีเหลือง ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีเหลือง ใช้สำหรับหั่นเนื้อไก่ หรือ เนื้อสัตว์ปีก ที่ "ดิบ" เช่น

  • เนื้อไก่
  • เนื้อเป็ด
  • เนื้อห่าน
  • นก หรือ สัตว์ปีกดิบ ที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก

 

 ลูกค้าทรู ใช้ทรูพอยท์ แลกเน็ตเล่น TikTok ส่องของกินฮิตๆ 
 750 MB เต็มสปีดไม่มีอั้น 24 ชั่วโมง กดเลย! 

 

เขียงสีน้ำเงิน ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีน้ำเงิน หรือ สีฟ้า ใช้สำหรับหั่นอาหารทะเล ที่ยัง "ดิบ" เช่น

  • ปลา (ปลาดิบ, ปลาสด)
  • กุ้ง
  • ปู
  • หอย
  • หมึก
  • หรือผลิตภัณฑ์จากทะเลดิบ ที่ยังไม่ผ่านการปรุงสุก

 

เขียงสีเขียว ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีเขียว ใช้สำหรับ หั่นผักและผลไม้สด หรืออาหารที่ทานสดๆ ได้เลย (ready-to-eat) "ไม่จำเป็นต้องปรุงสุก" ก่อนรับประทาน เช่น

  • ผักสด-ผักสลัด
  • ผลไม้
  • สมุนไพร เช่น กะเพรา, โหระพา, ตะไคร้, ขิง, กระชาย ฯลฯ

* หากใช้เขียงหั่นมันฝรั่ง หรือพืชหัวอื่นๆ ที่ไม่สามารถกินดิบได้แล้ว หลังใช้เสร็จควรล้างเขียงให้สะอาด ก่อนที่จะนำเขียงมาใช้ต่อกับผักสดหรือผลไม้ที่กินดิบชนิดอื่นๆ

 

เขียงสีขาว ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีขาว ใช้สำหรับหั่นอาหารประเภทแป้ง ขนมปัง เบเกอรี่ และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น

  • ขนมปัง
  • พาย
  • แซนวิช
  • เนย
  • ชีส

 

เขียงสีน้ำตาล ใช้กับอาหารอะไร

 

 

     เขียงสีน้ำตาล ใช้สำหรับหั่นเมนูอาหารเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้ว เช่น

  • เนื้อสเต๊ก
  • หมูย่าง
  • เนื้อย่าง
  • ไก่ย่าง

สีเขียงการใช้งาน
สีแดงเนื้อแดง เนื้อหมู เนื้อวัว "ดิบ"
สีเหลืองไก่ เป็ด ห่าน สัตว์ปีก "ดิบ"
สีน้ำเงินปลา และ อาหารทะเล "ดิบ"
สีเขียวผัก และ ผลไม้
สีขาวขนมปัง เบเกอรี่ และ ผลิตภัณฑ์นม
สีน้ำตาลเนื้อสัตว์ "ปรุงสุก"


     สำหรับครัวบ้านๆ ที่ไม่ใช่ร้านอาหาร เราก็สามารถแยกเขียงในการหั่นอาหารได้เช่นเดียวกันค่ะ โดยสามารถใช้เขียงแค่ 2-3 อัน เพื่อแยกสำหรับหั่น เนื้อสัตว์ดิบ, ผัก-ผลไม้สด แบะอาหารปรุงสุก ซึ่งก็เพียงพอที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ สำหรับบ้านที่มีสมาชิกที่แพ้อาหารรุนแรง ควรแยกเขียงไว้เฉพาะเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากอาหารที่แพ้ และลดความเสี่ยงในการสัมผัสหรือรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

ยอดนิยมในตอนนี้