10 วิธีเลือกลูกพลับ เนื้อสดกรอบ สุกพอดี ไม่เละ | บทความโดย Pchalisa ลูกพลับเป็นผลไม้ที่สามารถหาทานได้ง่ายในบ้านเราเมื่อถึงฤดูกาล เพราะมีการนำเข้ามาขายในราคาที่จับต้องได้ อีกทั้งลูกพลับสีเหลืองสวย จึงดึงดูดให้หลายคนอยากลองทาน ซึ่งจากที่ผู้เขียนได้ทานลูกพลับมาทุกปีนั้น บอกเลยค่ะว่าลูกพลับอร่อยจริง แต่ต้องเลือกที่สุกพอดีๆ นะคะ เพราะลูกพลับแบบนี้เนื้อแน่นและกรอบ ที่ไม่หวานจนเกินไปค่ะ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าลูกพลับแบบไหนเราต้องเลือกมา ในบทความนี้มีคำตอมาให้แล้วค่ะ กับเคล็ดลับเลือกลูกพลับลูกสดกรอบ ที่สุกพอดีและน่าซื้อ ส่วนจะมีวิธีการไหนบ้างนั้น งั้นเรามาอ่านไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ ดังนี้ 1. ดูสี คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ลูกพลับที่สุกกำลังดีมักจะมีสีส้มอมเหลืองสวยงาม เปลือกเรียบเนียน ไม่มีรอยช้ำหรือรอยด่างค่ะ 2. ใช้การสัมผัส เวลาไปเลือกลูกพลับต้องลองบีบลูกพลับเบาๆ เพื่อประเมินดูความนิ่มค่ะ ถ้าพบว่าลูกพลับนิ่มนิดๆ แสดงว่าสุกกำลังดี แต่ถ้ายังแข็งอยู่แบบนี้ลูกพลับจะยังดิบอยู่นะคะ ในขณะที่ถ้าลูกพลับเละเกินไป แบบนี้ก็บ่งบอกว่าลูกพลับลูกนั้นสุกเกินไปแล้วค่ะ 3. สังเกตจุดดำ การที่ลูกพลับลูกหนึ่งมีจุดดำเล็กๆ บนเปลือกนั้น เป็นเรื่องปกติที่พบได้ตามธรรมชาติค่ะ แต่ถ้ามีจุดดำเยอะเกินไป แบบนี้แสดงว่าลูกพลับอาจจะเน่าเสียด้านในแล้วค่ะ ซึ่งไม่ควรเลือกซื้อมาทานนะคะ 4. ใช้การดมกลิ่น ปกติลูกพลับก็เหมือนผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวตามธรรมชาติเมื่อสุก และลูกพลับสุกพอดี ก็จะเริมมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แบบหอมหวานชื่นใจค่ะ 5. สังเกตขั้ว หลายคนอาจจะยังไม่เคยสังเกตว่า ลูกพลับมีขั้วติดมาด้วยตอนเราไปซื้อนะคะ โดยลูกพลับที่ดีและน่าซื้อ ต้องมีขั้วของลูกพลับควรติดแน่นกับตัวผลค่ะ ที่จะต้องไม่หลุดง่ายด้วย แบบนี้ถึงจะเป็นลูกพลับที่สดและกรอบอร่อยค่ะ 6. ดูขนาด ปกติลูกพลับขนาดกลางมักจะมีรสชาติหวานอร่อยกว่าลูกพลับขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่นะคะทุกคน 7. เลือกตามสายพันธุ์ รู้ไหมคะว่า ลูกพลับมีสายพันธุ์มากมายค่ะ! ที่จริงๆ แล้วมีมากกว่า 1,000 สายพันธุ์เลยทีเดียวนะคะ แต่โดยทั่วไปแล้วเราแบ่งลูกพลับออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ลูกพลับหวานที่มีรสชาติหวานหอม สามารถทานได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยว โดยพันธุ์ยอดนิยม ได้แก่ ฟุยุและจิโร่ค่ะ กับลูกพลับฝาด มักจะมีรสฝาดนำ ที่ต้องนำไปผ่านกระบวนการทำให้สุกหรือลดความฝาดก่อนนำมาทาน ซึ่งพันธุ์ยอดนิยม ได้แก่ ฮิราทาเนนาชิและไซโจค่ะ 8. หลีกเลี่ยงลูกพลับที่มีรอยช้ำ เนื่องจากรอยช้ำนี้มักเป็นปัจจัยชักนำทำให้ลูกพลับมีการเน่าเสียเร็วขึ้นค่ะ มิหนำซ้ำลูกพลับแบบนี้เนื้อด้านในจะเละไม่อร่อยด้วยค่ะ 9. ดูที่ก้นของลูกพลับ รู้ไหมคะว่าลูกพลับที่ดีสดและกรอบอร่อยนั้น มักพบว่าก้นของลูกพลับที่สุกดีจะมีสีเหลืองอ่อนค่ะ 10. ซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ วิธีการนี้เป็นการใช้ความสามารถของคนอื่นค่ะ โดยร้านที่ได้มาตรฐานเขามักคัดเลือกลูกพลับดีและทานอร่อยมาขายเพื่อรักษาชื่อเสียงของทางร้าน พอเราไปเลือกซื้อลูกพลับจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือนี้ ก็ทำให้เราได้ลูกพลับสุกพอดีและอร่อยได้ง่ายๆ ค่ะ และการเลือกร้านที่ไว้ใจได้ ทำไปก็เพื่อให้ได้ลูกพลับคุณภาพดีนั่นเองนะคะ ยังไงนั้นหากคุณผู้อ่านซื้อลูกพลับมาแล้วดิบเกินไป ให้ลองใช้วิธีบ่มลูกพลับให้สุก ดังต่อไปนี้ค่ะ วิธีธรรมชาติ ทำได้โดยการวางลูกพลับไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 2-3 วัน ลูกพลับจะสุกได้เองนะคะ วิธีเร่ง หากต้องการให้ลูกพลับสุกเร็วขึ้น สามารถนำลูกพลับไปวางไว้ใกล้ๆ กับกล้วยสุก หรือใส่ในถุงกระดาษปิดปากถุงไว้ประมาณ 1-2 วันค่ะ และเคล็ดลับเพิ่มเติมเมื่อซื้อลูกพลับสุกพอดีมาแล้ว ก็ควรเก็บผลไม้ชนิดไว้นี้ในที่เย็นและแห้ง การทำแบบนี้ก็เพื่อยืดอายุค่ะ และลูกพลับที่สุกเต็มที่แล้วควรทานให้เร็วที่สุดค่ะ ไม่อย่างงั้นลูกพลับของเราจะค่อยๆ นิ่มและเละนะคะ ก็จบแล้วค่ะ กับเคล็ดลับเลือกลูกพลับลูกสุกพอดี สดและเนื้อกรอบอร่อย ที่ไม่ยากจนเกินไปที่จะอ่านทำความเข้าใจและนำไปใช้ใช่ไหมคะ? สำหรับผู้เขียนนั้นมักพุ่งตรงไปเลือกลูกพลับที่มีขนาดกลาง ที่มีสีเหลืองทั่วทั้งลูก ในขณะที่ผู้เขียนมักใช้มือกดเบาๆ เพื่อประเมินความสุกด้วยเหมือนกันค่ะ ที่ลูกพลับแบบสุกพอดีและมีเนื้อแน่น คือตัวเลือกที่ผู้เขียนชอบมากที่สุด เพราะโดยส่วนตัวไม่ชอบผลไม้สุกงอมมาก จากที่ผลไม้แบบนี้มักมีความหวานมากเกินไปค่ะ ยังไงนั้นคุณผู้อ่านลองนำข้อมูลในนี้ไปปรับใช้กันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/5LWNkqDGo39n https://food.trueid.net/detail/7m8XGwKzjgom https://food.trueid.net/detail/1knWZj5GKb6z หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !