9 เคล็ดลับเลือกผักดอง ดูยังไง เปรี้ยวอร่อย ไม่เหม็นเขียว | บทความโดย Pchalisa ดูเหมือนว่าวัฒนธรรมการดองผักและการทานผักดองจะมีอยู่ทั่วโลก ที่ฝรั่งก็จะมีแตงดอง แถวเกาหลีก็จะเป็นผักกาดดอง และบ้านเรายิ่งหลากหลายมากค่ะ ไหนจะผักกาดเขียวปลีดอง ผักเสี้ยนดอง กะหล่ำปลีดอง ต้นหอมดอง และผักพื้นบ้านอีกบางส่วนที่นำมาดองได้ นั่นคือสิ่งที่ผู้เขียนได้เห็นมาค่ะ ดังนั้นพอเป็นแบบนั้นการเรียนรู้เรื่องผักดองคุณภาพ ก็เป็นหนึ่งหัวข้อที่จำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา เพราะจากที่เรารู้มาว่าอาหารสามารถเป็นสื่อนำโรคได้ และในบทความนี้ผู้เขียนมีแนวทางเลือกดูผักดองมาบอกค่ะ ที่รับรองว่าเมื่อนำไปปรับใช้แล้ว ได้ผักดองคุณภาพดีมาทานแน่นอน งั้นอ่านต่อให้จบกันเลยดีกว่า กับข้อมูลดังต่อไปนี้ค่ะ 1. สังเกตสีสัน ผักดองที่ดีควรมีสีสันสดใส ไม่ซีดจางหรือมีสีผิดปกติค่ะ เพราะการทำผักดองเราใช้ผักสดทำ การที่ผักดองมีสีสดใส สิ่งนี้ก็สามารคาดการณ์ไปต่อได้ว่า ผักสดใหม่ถูกนำมาทำผักดองชุดนั้นค่ะ 2. มีกลิ่นหอมเปรี้ยว คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? กลิ่นหอมเปรี้ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของผักดองเกิดจากกระบวนการหมัก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของกระบวนการทางชีวภาพที่เกิดจากจุลินทรีย์โดยเฉพาะแบคทีเรียแลคติก ที่เปลี่ยนน้ำตาลในผักให้เป็นกรดแลคติกค่ะ จึงทำให้ผักมีรสเปรี้ยว และสร้างสารประกอบอื่นๆ ที่ให้กลิ่นหอมเฉพาะตัวค่ะ ดังนั้นผักดองที่ดีควรมีกลิ่นหอมเปรี้ยวเฉพาะตัว ที่จะต้องไม่เหม็นเขียวหรือมีกลิ่นแปลกๆ เพราะการมีกลิ่นเหม็น แสดงว่าผักดองอาจบูดเสียแล้วนะคะ 3. ต้องมีน้ำดองที่เพียงพอ รู้ไหมคะว่า? ผักดองน่าซื้อนั้นต้องสังเกตเรื่องน้ำผักดองด้วย ที่หลายคนยังมองภาพไม่ออกในประเด็น โดยน้ำดองมีความสำคัญต้องสังเกต เพราะการที่ผักดองมีน้ำดองผักในปริมาณที่เพียงพอที่คลุมผักทั้งหมดได้ แบบนี้มีส่วนป้องกันการบูดเสียของผักดองค่ะ เนื่องจากน้ำดองจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จึงช่วยให้ผักดองเก็บได้นานขึ้นค่ะ 4. สัมผัสเนื้อสัมผัส ผักดองที่ดีควรมีเนื้อสัมผัสที่มีความกรอบ ไม่เละและไม่นิ่มค่ะ เพราะกระบวนการหมักของการทำผัดดอง เป็นกระบวนการที่ยังไม่ได้ทำให้สารอินทรีย์เปลี่ยนรูป ดังนั้นผักดองจะไม่เละเด็ดขาด หากพบว่าผักดองเปื่อยอาจเป็นไปได้ว่าเกิดการเน่าเสียแล้วค่ะ 5. วิธีการดอง มีความสำคัญอย่างมากที่ต้องเลือกผักดองที่มีสารปรุงแต่งน้อยๆ ค่ะ เพราะจากที่ผู้เขียนได้ทำผักดองมานั้น มีแค่เกลือ น้ำซาวข้าวและผักที่ต้องการดองเท่านั้น เพียงเท่านี้กระบวนการหมักก็เกิดขึ้นได้แล้ว หากสอบถามให้สอบถามว่าใส่อะไรไปบ้างก็ได้ค่ะ หากมีการแต่งเติมอย่างอื่นเพิ่มเข้ามา ที่ไม่ใช่น้ำตาลหรือข้าวสุก เหล่านั้นคือวัตถุเจือปนอาหาร ที่ใส่มาเพื่อป้องกันการเน่าเสียค่ะ ซึ่งผู้เขียนมองว่าประเด็นนี้จะพบมากในกรณีการทำผักดองในปริมาณมาก ดังนั้นให้สอบถามผู้ขายเกี่ยวกับวิธีการดอง เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมตามนั้นค่ะ เพื่อประเมินคุณภาพของผักดองที่เรากำลังจะเลือกซื้อนะคะ 6. ดูน้ำดอง นอกจากจะดูว่าน้ำดองผักสมเหตุสมผลกับปริมาณผักที่ดองไหมแล้วนั้น เราต้องดูน้ำดองโดยตรงด้วยค่ะว่า น้ำดองผักใส สะอาด ไม่มีตะกอนหรือสิ่งแปลกปลอมไหม เพราะถ้าเป็นแบบนี้ก็คือเชื่อถือได้และน่าซื้อค่ะ 7. เลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ การเลือกซื้อผักดองจากร้านค้าที่สะอาดและมีมาตรฐาน หรือตลาดสดที่ได้รับการรับรอง หรือคนทำที่เราไว้วางใจเขา แบบนี้ทำให้เราได้ผักดองคุณภาพดีได้ค่ะ ซึ่งวิธีการนี้ผู้เขียนทำประจำ โดยมักเลือกผักดองจากที่ชาวบ้านทำมาขาย เพราะทำให้ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าเขาใช้วิธีโบราณมาดองผักค่ะ จึงสบายใจตอนทานว่าปลอดสารพิษแน่ 8. เลือกผักดองที่บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ผักดองที่ขายหากถูกใส่มาในภาชนะที่ปิดสนิท แบบนี้ดีค่ะ เพราะช่วยป้องกันการปนเปื้อนได้ จึงน่าซื้อค่ะ 9. ลองชิม ในบางครั้งผักดองแบบชิมก่อนซื้อมีขายค่ะ และหากมีโอกาสได้ลองชิมต้องทำค่ะ เพราะการลองชิมจะทำให้เราได้รู้ว่ารสชาติของผักดองประมารไหน เปรี้ยวอร่อยหรือเหม็นเขียว ซึ่งการลองทำไปเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อผัดดองค่ะ จบแล้วค่ะ กับเคล็ดลับเลือกผักดองน่าซื้อและน่าทาน ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ? โดยการเลือกซื้อผักดองสำหรับผู้เขียนนั้น ยังเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันค่ะ โดยมักเลือกผักดองแบบบ้านๆ ที่จะเป็นผักแบบหลากหลายชนิดไม่เกี่ยงค่ะ เพราะทานได้หมด และมักเลือกแบบที่ถูกใส่ถุงมาพร้อมขายมากกว่าผักดองที่ใส่มาในภาชนะแบบเปิดแล้วมาวางที่ตลาดค่ะ และมีเจ้าประจำอยู่ในใจเหมือนกันที่ซื้อบ่อยซื้อซ้ำค่ะ ในสถานการณ์จริงมีโอกาสน้อยมากที่จะได้ดมกลิ่นหอมเปรี้ยวของผักดองค่ะ แต่ผู้เขียนจะใช้วิธีการสังเกตจากลักษณะของผักในตอนนั้น ที่เมื่อเกิดความเปรี้ยวตามธรรมชาติที่เกิดจากการหมัก ผักดองจะเปลี่ยนสภาพที่ดูเหมือนอ่อนตัวลงค่ะ ที่ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นได้ยากหากผักดองใส่น้ำส้มสายชูมานะคะ ยังไงนั้นคุณผู้อ่านก็สามารถนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ได้เหมือนกันนะคะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/a5dlKndJbr25 https://food.trueid.net/detail/MlMavaZb8val เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !