เครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ปัจจุบันมีเครื่องดื่มมากมายวางจำหน่ายในท้องตลาดหลายขนาดหลายบรรจุภัณฑ์และหลายคุณประโยชน์ซึ่งสามารถสังเกตได้จากส่วนประกอบบนฉลากโภชนาการ ผู้บริโภคเลือกดื่มด้วยหลายเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นดื่มเพื่อรสชาติอร่อยถูกใจ ดับกระหายคายร้อน ดื่มเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ ช่วยในเรื่องของความสวยงาม ดูแล และ บำรุงสุขภาพ แต่ลืมไปว่า รสชาติที่ถูกปากส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพด้วยปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มในระดับที่เกินคำว่าจะดูแลสุขภาพได้ ดังนั้นจึงมีหน่วยงานจากภาครัฐ คือ กระทรวงสาธารณสุขที่และสรรพสามิตรที่คอยดูแลผู้บริโภค โดยมีกำหนดปริมาณน้ำตาลในเครื่องเพื่อคุ้มครองสุขภาพให้กับผู้บริโภค โดยมีเงื่อนไขดังนี้ ปริมาณน้ำตาลที่มีในเครื่องดื่มต้องไม่เกิน 6 กรัม ต่อเครื่องดื่ม 100 มิลลิลิตร และด้วยเงื่อนไขข้างต้น ผู้ผลิตที่ปฏิบัติตามจะสามารถใช้เครื่องหมายเครื่องดื่มทางเลือกสุขภาพ ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ได้ หากผู้ประกอบการดำเนินการไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขข้างต้น จะไม่สามารถใช้เครื่องหมายดังกล่าวบนฉลากได้ และ ต้องดำเนินการเสียภาษีน้ำตาลตามระดับช่วงน้ำตาลที่มีในผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จึงเป็นที่มาที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของผู้ประกอบการในประเทศไทย เริ่มทำการปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องการกฏหมายอาหาร การปรับสูตรผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องใหญ่ในองค์กร เพราะส่งผลกระทบต่อ รสชาติ ต้นทุน กระบวนการผลิต ตลอดจน คุณภาพสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ โดยปรับลดความหวานโดยลดน้ำตาลและทดแทนความหวานด้วยวัตถุอาหารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล(สารให้ความหวาน ) ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต การตรวจเช็คคุณภาพสินค้า ต้องแข่งขันกับเวลา เพื่อให้ทันต่อโอกาสการขายในท้องตลาด นอกจากนี้ ผลจากการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อผู้บริโภคที่ต้องมีคำถามว่าทำไม่รสชาติไม่สินค้าไม่เหมือนเดิม เป็นสินค้าจริงหรือสินค้าเลียนแบบ เพราะไม่คุ้นเคยกับเปลี่ยนแปลง ส่งผลหนักต่อยอดขายที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระนี้ไว้ภายใต้นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคจากหน่วยรัฐ ซึ่งผู้เขียนเองก็เข้าใจสถานการณ์ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีมุมมองที่เห็นต่างมาตลอด จากเหตุการณ์ที่เกิด ทำให้มีคำถามต่อไปว่า จะมีกฏหมายอาหารส่วนใดเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคต อย่างไรก็ตามผู้บริโภคคือผู้รับประโยชน์การเปลี่ยนแปลงภายใต้ความเห็นต่างทั้งของภาครัฐและเอกชนครั้งนี้ การเติบโตในตลาดเครื่องดื่มเงื่อนไขนี้ในปัจจุบัน เติบโตขึ้นมากจะสังเกตได้จากมีผู้ประการหลายรายเล็กใหญ่กระโดดเข้ามาแบ่งส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มนี้ ประกอบกับเกิดเทรนด์การดื่มตามสมัย ผู้บริโภครักสุขภาพมากขึ้น ดูแลตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น จึงส่งผลให้ตลาดเติบโตในปัจจุบัน ท้ายที่สุดบทสรุปของ ธุรกิจน้ำตาล ธุรกิจวัตถุใช้ทดแทนน้ำตาล (สารให้ความหวาน ) จะเป็นอย่างไรต่อไปต้องติดตาม ขอขอบคุณเครดิตรูปภาพ รูปภาพ หน้าปก ภาพ1 โดย https://pixabay.com รูปภาพ ภาพ2 โดย https://pixabay.com รูปภาพ ภาพ3 โดย https://pixabay.com รูปภาพ ภาพ4 โดย https://pixabay.com