ไข่ข้าว คืออะไร เมนูแปลกแต่อร่อย รสชาติแบบไหน | บทความโดย Pchalisa เมนูจากไข่มีหลายอย่างที่บ้านเรา ซึ่งชนิดของสัตว์ที่สามารถออกไข่ได้ก็มีให้เลือกเยอะ แต่จะมีสักกี่คนที่เคยได้ยินและได้ทานเมนูที่ทำมาจากไข่ชื่อว่า “ไข่ข้าว” ไข่ข้าวคืออาหารหนึ่งอย่างที่ในตอนหลังมาผู้เขียนมีโอกาสได้ซื้อทานบ่อยค่ะ เพราะมีเจ้าประจำขายที่ตลาด และเป็นร้านที่ค่อนข้างพึงพอใจกับคุณภาพของไข่ข้าวที่ได้รับ กับการจ่ายค่าความอร่อยเพียงแค่ 20 บาทเท่านั้นค่ะ ไข่ข้าวแบบนึ่งสุกดีแล้วคือตัวเลือกที่ผู้เขียนซื้อทานบ่อยที่สุด แต่ที่ตลาดมีทั้งไข่ข้าวที่นึ่งให้สุกแล้วแต่นำมาย่างอีกรอบ เพื่อเพิ่มความหอมอร่อยของไข่แบบนี้ ที่หลายคนก็มักจะเลือกแบบนี้ อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็คงจะพอรู้แล้วนะคะว่า เมนูชื่อแปลกนี้สามารถทานได้จริง และมีขายทั่วไปตามตลาดด้วย แล้วไข่ข้าวคืออะไร รสชาติแบบไหน ทำไมยังทานได้ ถ้าสนใจทานจะเลือกแบบไหนนี้ ในบทความนี้มีคำตอบมาให้แล้วกับทุกข้อสงสัยค่ะ ส่วนจะมีเนื้อหาอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมนูแปลกแต่อร่อยชื่อนี้บ้าง งั้นต้องอ่านต่อให้จบกันเลยดีกว่าค่ะ ดังข้อมูลต่อไปนี้ หลายคนยังไม่รู้ว่า ไข่ข้าวเกิดจากไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว แต่ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น การพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ อุณหภูมิไม่เหมาะสม หรือปัญหาอื่นๆ จึงทำให้ตัวอ่อนภายในไข่ไม่สามารถเจริญเติบโตและฟักออกมาเป็นตัวได้ตามปกติค่ะ ซึ่งแต่ละฟองมีความแตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ไข่ข้าวแต่ละฟองก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ทั้งในเรื่องของขนาด รูปร่างและสีของตัวอ่อนค่ะ และการเรียกชื่อของไข่ชนิดนี้ในแต่ละท้องถิ่น มีการเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ไข่ค้างรัง ไข่ฮังฮังหรือไข่ตัว โดยสาเหตุที่ทำให้ไข่กลายเป็นไข่ข้าว มีดังนี้ การปฏิสนธิไม่สมบูรณ์: แม้ว่าไข่จะได้รับการปฏิสนธิแล้ว แต่การรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์อาจไม่สมบูรณ์ ทำให้ตัวอ่อนพัฒนาผิดปกติค่ะ อุณหภูมิไม่เหมาะสม: อุณหภูมิในการฟักไข่มีความสำคัญมาก หากอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป ตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ การติดเชื้อ: เชื้อโรคบางชนิดอาจเข้าไปทำลายตัวอ่อนภายในไข่ ทำให้ไข่ไม่สามารถฟักเป็นตัวได้ ปัญหาทางพันธุกรรม: บางครั้งปัญหาทางพันธุกรรมของพ่อแม่ไก่ก็อาจส่งผลให้ลูกไก่มีพัฒนาการผิดปกติและตายในไข่ ถ้าไม่ได้สังเกตแบบจริงจังเวลาไปตลาด ไข่ข้าวมักมีหน้าตาเหมือนไข่ต้มลูกหนึ่งค่ะ แต่ถ้าสังเกตดีๆ เราจะพบว่าลักษณะของไข่ข้าวมีความแตกต่างจากไข่สดทั่วไปที่เรานำมาทำอาหาร ที่ถึงแม้ว่าไข่ข้าวจะมีลักษณะคล้ายไข่ไก่ทั่วไป แต่เมื่อส่องดูด้วยไฟฉายจะเห็นเงาของตัวอ่อนอยู่ภายในค่ะ และภายในไข่ข้าวจะมีตัวอ่อนในระยะต่างๆ กัน อาจเป็นเพียงจุดเล็กๆ หรือเป็นตัวอ่อนที่มีขนขึ้นแล้วก็ได้นะคะ ไข่ข้าวโดยทั่วไปแล้วจะไม่แบ่งชนิดที่ชัดเจนเหมือนไข่ไก่ทั่วไปที่แบ่งตามขนาดหรือสีเปลือกค่ะ เนื่องจากไข่ข้าวเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละฟอง ทำให้ขนาด รูปร่าง และการเจริญเติบโตของตัวอ่อนภายในมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเรายังสามารถแบ่งไข่ข้าวได้ตามลักษณะที่สังเกตเห็นได้ดังนี้ค่ะ 1. ตามอายุของตัวอ่อน ไข่ข้าวอ่อน: ตัวอ่อนยังเล็กมาก อาจมองเห็นเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นเส้นเลือดฝอย ไข่ข้าวแก่: ตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ อาจมีขนอ่อนขึ้นตามตัว 2. ตามขนาด ไข่ขนาดเล็ก: มักเป็นไข่ข้าวอ่อน ไข่ขนาดใหญ่: มักเป็นไข่ข้าวแก่ 3. ตามชนิดของสัตว์ ไข่ไก่ข้าว: ได้จากไข่ไก่ ไข่เป็ดข้าว: ได้จากไข่เป็ด ไข่นกกระทาข้าว: ได้จากไข่นกกระทา (แม้จะพบได้น้อยกว่าชนิดอื่นๆ) ไข่ข้าวที่สุกดีแล้วสามารถทานเป็นอาหารได้ค่ะ โดยไข่ข้าวมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ที่ควรทานาไข่ข้าวในปริมาณที่เหมาะสม เพราะไข่ข้าวยังคงมีคอเลสเตอรอลตามธรรมชาติ ซึ่งการเลือกซื้อไข่ข้าวที่ดีนั้น อาจจะยากกว่าการเลือกซื้อไข่ไก่ทั่วไปเล็กน้อยค่ะ เนื่องจากลักษณะภายนอกของไข่ข้าวอาจดูคล้ายคลึงกัน แต่ผู้เขียนมีเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณผู้อ่านสามารถเลือกซื้อไข่ข้าวที่มีคุณภาพได้ ดังนี้ค่ะ 1. ความสะอาด ควรเลือกซื้อไข่ข้าวจากร้านขายที่มีการจัดเตรียมและวางไข่ข้าวตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ที่ต้องสะอาดและปรุงให้สุกก่อนนำมาทานค่ะ 2. สังเกตความสด ที่เปลือกควรสะอาด ไม่มีรอยแตกหรือรอยร้าว และควรมีสีขาวนวลหรือสีออกเขียวอ่อนๆ ค่ะ 3. สัมผัสเพื่อประเมินน้ำหนัก ไข่ข้าวที่ดีคือไข่ข้าวมีน้ำหนัก เพราะไข่แบบนี้มักจะมีไข่แดงที่สมบูรณ์ก่อนที่จะมาเป็นไข่ข้าวแบบสุก 4. ใช้การเขย่า หากเป็นไปได้ให้ลองเขย่าไข่ข้าวเบาๆ ค่ะ หากรู้สึกว่าภายในมีของเหลวเคลื่อนไหวมาก แบบนี้เป็นสัญญาณว่าไข่นั้นไม่สดนะคะ 5. ดมกลิ่น ไข่ข้าวที่ดีควรมีกลิ่นคาวเฉพาะตัวเล็กน้อย แต่ไม่เหม็นเปรี้ยวหรือมีกลิ่นแปลกปลอมค่ะ 6. ดูขนาด ไข่ข้าวจะมีขนาดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุของตัวอ่อนภายใน แต่โดยทั่วไปแล้ว ไข่ข้าวที่คุณภาพดีจะมีขนาดใกล้เคียงกับไข่ไก่ทั่วไปค่ะ ปกติการทานไข่ข้าวมักมีน้ำจิ้มมาให้ด้วย ที่ไม่ได้เผ็ดนำค่ะ แต่เป็นน้ำจิ้มรสชาติกลางๆ โดยน้ำจิ้มนี้เราก็ต้องตรวจสอบก่อนทานด้วย หากมีกลิ่นผิดปกติแบบนี้ก็ไม่ควรทานค่ะ ไข่ข้าวที่ดีสะอาดและสุกแล้วสามารถทานเปล่าๆ เป็นของทานเล่นได้ค่ะ ที่บางคนอาจนำมาทานกับส้มตำหรือเป็นกับข้าวก็ได้ ไม่มีกฎตายตัวค่ะ ที่ผู้เขียนชอบทำมากที่สุดคือทานเล่นแบบไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้มค่ะ โดยรสชาติของไข่ข่าวจะไม่ได้มีรสชาติอะไรเลยนะคะ ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่ขมและไม่เปรี้ยว แต่เฉยๆ ค่ะ เหมือนเราทานไข่สุกที่เกิดจากการตีผสมกันระหว่างไข่แดงและไข่ขาวแล้ว ที่จะทานอร่อยและทานได้ง่ายกว่าไข่ทั่วไปต้ม เพราะถ้าไข่ต้มทั่วไปไข่แดงมักทำให้ติดคอ แต่ไม่พบสถานการณ์นี้ในไข่ข้าวเลยค่ะ ที่เด็กก็ยังทานได้ง่ายๆ และผู้ใหญ่ก็ทานแบบขอเพิ่มรัวๆ ยังไงนั้นหากคุณผู้อ่านสนใจทานไข่ข้าว ก็ต้องลองแวะเวียนไปที่ตลาดใกล้บ้านดูค่ะ ที่เป็นเมนูแปลกแต่อร่อยและทานได้จริงๆ นะคะ เพราะผู้เขียนลองทานมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว ที่โดยส่วนมากชอบแบบไม่เป็นตัวค่ะ และมักซื้อแค่พอดีทานครั้งละ 20 บาท ที่ผ่านมามักได้ทานไข่ข้าวเป็นอาหารทานเล่นช่วงก่อนอาหารเย็นค่ะ แต่คุณผู้อ่านสามารถซื้อมามากกว่า 20 บาทก็ได้ ยังไงนั้นแนะนำว่าให้อุ่นร้อนก่อนนำมาทาน และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/NX95D9ZWbRAX https://food.trueid.net/detail/gWGy6j6jla64 https://food.trueid.net/detail/QBvQLRJ86JkO เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !