เทมเป้ เมนูที่ทำมาจากถั่วเหลือง มีรสจืด ถือเป็นเมนู Plant based ที่อุดมไปด้วยโปรตีน ถูกใช้ทดแทนเนื้อสัตว์มานานเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ ด้วยการนำเอามาแปรรูปจากการตะกอนโปรตีนนำมาบีบอัดลงในพิมพ์เพื่อรีดน้ำออก จนกลายเป็น เต้าหู้ ที่เราคุ้นเคยกันดี นอกเหนือจากนี้ ถั่วเหลือง ยังถูกแปรรูปในแบบต่าง ๆ อีกมากมายเพื่อการบริโภค อย่างเช่น เทมเป้ (Tempeh) อาหารพื้นเมืองของชาวอินโดนีเซียโดยกรรมวิธีแปรรูปถั่วเหลืองนั้น ต่างไปจากการทำเต้าหู้ ด้วยการใช้ถั่วเหลืองในแบบเต็มเมล็ดมาหมักบ่มกับเชื้อราชนิดดีอย่าง Rhizopus Oligosporusที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมาประกอบด้วยซึ่งระหว่างการบ่มเชื้อนั้นจะเกิดกระบวนการสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยโมเลกุลของโปรตีนและไขมันในถั่ว และยังมี Probiotic (โพรไบโอติก) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ด้วยคุณสมบัตินี้เองผู้ที่รับประทาน เทมเป้ เป็นโปรตีนทางเลือกจะสามารถดูดซึมได้ดีกว่าและไม่เกิดอาการท้องอืด ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประโยชน์จาก ถั่วเหลือง มีมากมาย ทั้งกรดอะมิโนที่จำเป็นเส้นใยอาหาร ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ ที่สำคัญ จัดเป็นหนึ่งใน Super food เพราะเหตุผลแบบนี้นี่แหละ เทมเป้จึงจัดเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวถึงแม้ว่าในปัจจุบัน จะมีการผลิตและจัดจำหน่ายอย่างแพร่หลายกว่าในอดีตก็ตามแม้จะสะดวก แต่ข้อแตกต่างของเทมเป้ที่แช่แข็งกับแบบสดใหม่ย่อมมีความต่างกันดังนั้นเราจึงสนใจที่จะลงมือทำเองบ้าง โดยได้ทำการสั่งเชื้อกล้าสำหรับเทมเป้จากช่องทางออนไลน์ที่ค้นหาได้อย่างไม่ยาก วัตถุดิบที่สำคัญก็มีแค่ 3 อย่าง ดังนี้ :ถั่วเหลืองซีก 500 กรัมผงเชื้อ Rhizopus Oligosporus สำหรับหมักเทมเป้ถุงบรรจุที่เป็นซิปล็อค หรือใบตองขั้นตอนแรก เริ่มจากการนำถั่วเหลืองซีกมาล้างให้สะอาด คัดเมล็ดที่เสียและมีตำหนิออกไป จากนั้นจึงนำมาแช่น้ำไว้ข้ามคืน หรือใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง จนเกิดฟองและมีกลิ่นเปรี้ยวเบา ๆนำถั่วเหลืองที่แช่น้ำครบตามกำหนดมาล้างให้สะอาด ล้างจนหมดเมือกเหนียว ๆต้มน้ำ และเทถั่วเหลืองลงไปตอนน้ำเดือด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เป็นอย่างน้อยแต่ไม่ต้องให้ถึงขนาดสุกจนนุ่มเละนำถั่วเหลืองขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ ขั้นตอนนี้สิ่งที่สำคัญคือต้องแห้งสนิท อาจใช้ตัวช่วยอย่างพัดลม หรือไดร์มาช่วยเป่าไล่ความชื้นหลังถั่วเหลืองไล่ความชื้นจนหมดและพักให้เย็นผสมกล้าเชื้อเทมเป้ตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ สำหรับเชื้อที่ได้รับมาถูกระบุให้ใส่ปริมาณ 2 ช้อนชา ต่อน้ำหนักถั่วดิบ 500 กรัม โรยให้ทั่วแล้วใช้มือคลุกเคล้าจนทั่วแบ่งบรรจุลงถุงซิปล็อคที่เจาะรูเล็ก ๆ ให้ทั่วเพื่อระบายอากาศ หรือหากใช้วิธีห่อใบตองก็ไม่จำเป็นต้องเจาะรูเพื่อระบายเหมือนกับการใช้พลาสติกจัดวางลงบนตะกร้าหรือตะแกรง วางในพื้นที่ไม่ทำให้อับลม และไม้ทับซ้อนกันอีกทั้งไม่ควรโดนแสงโดยตรง ในช่วงแรกถั่วเหลืองที่คลุกหัวเชื้อจะยังไม่มีปฏิกิริยาใด ๆให้รอดูความเปลี่ยนแปลงจนกระทั่งเกิดความร้อนและไอน้ำเกาะขึ้นในถุง หลังจากผ่านไป24 ชั่วโมง เชื้อกล้าจะเริ่มขยายเส้นใยสีขาวขึ้นมาปกคลุมและยึดเมล็ดถั่วเหลืองเข้าด้วยกัน หลังจาก 48 ชั่วโมง เส้นใยสีขาวของเชื้อราเริ่มหนาทึบขึ้นกว่าเดิม ถุงบรรจุเริ่มไม่มีความร้อนการบ่มเทมเป้เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการ และสามารถนำมากินได้เลย ถั่วเหลืองที่นำมาแปรรูปในรูปแบบของ เทมเป้ จะยังคงรูปเมล็ดถั่วเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือเนื้อสัมผัสที่มาจากเส้นใยของเชื้อรา ชิ้นเนื้อจะมีหนาแน่นกว่าเต้าหู้และอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่เยอะกว่าเทมเป้ ที่เพิ่งบ่มเสร็จแบบสดใหม่ จะมีกลิ่นคล้ายเห็ดและมีรสที่ดีกว่าการแช่เย็นเอาไว้นาน ๆ การนำไปบริโภค สามารถทำได้หลากเมนูคล้ายเต้าหู้ แต่ที่เข้าท่าสุดน่าจะเป็นการนำไปทอดหรือไม่ก็แกงเผ็ดแบบไทย ๆ เพื่อกลบรสให้กลายเป็นเมนูอาหารที่ละมุนขึ้น ถึงแม้ว่าเทมเป้จะไม่ใช่ตัวเลือกที่อร่อยที่สุด แต่สำหรับผู้ชื่นชอบอาหารแนว Plant base มังสวิรัติ วีแกน หรือว่า เจ จะมีอะไรดีไปกว่าการได้ดัดแปลงผลิตผลจากธรรมชาติอย่างพืชผัก ให้กลายเป็นเมนูที่หลากหลายขึ้นกว่าเดิมใช่มั้ยล่ะ เครดิต บทความและภาพประกอบ โดย : วิลโลว์ ณ หลังเขาเมนูอาหารที่น่าสนใจมาชวนทำ " จาปาตี " โรตีอินเดีย ที่หลายๆคนติดใจVeg Pakora ทอดมันผักรวม สไตล์อินเดีย แบบไม่มีแป้งถั่วลูกไก่ห้องส่องร้านดังมาแรง รวมของกินอร่อยต้องโดน บอกสูตรเมนูลับที่ไม่ลับอีกต่อไป