ผักพายน้อย คืออะไร มีลักษณะแบบไหน กินยังไงดี | บทความโดย Pchalisa หลังจากที่ผู้เขียนได้เปลี่ยนแนวมาสนใจผักบ้านๆ มากขึ้น ทำให้มาหลงรักผักพื้นบ้านที่ชื่อว่า “ผักพายน้อย” ค่ะ จะว่าไปผักชนิดนี้สมัยผู้เขียนเป็นเด็กกะโปโล เคยมีโอกาสไปในทุ่งนาที่มีการเกิดของผักชนิดนี้ตามธรรมชาติค่ะ แต่พอโตมากับตอนนี้สิ่งที่ทำได้จริงมีเพียงการซื้อผักพายน้อยจากตลาดเท่านั้นค่ะ ผักพายน้อยเป็นผักทานได้ ที่อาจจะไม่ง่ายสำหรับบางคนเพราะรสชาติ แต่ผักชนิดนี้หาซื้อง่าย ราคาถูกและทานได้กับหลากหลายเมนูค่ะ และผักชนิดนี้กลายมาเป็นที่รู้จักและน่าสนใจในตอนหลังมานี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการปลูกเพื่อขาย อ่านมาถึงตรงนี้แล้วผักชนิดนี้น่าสนใจมากขึ้นแล้ว ใช่ไหมคะ? งั้นอย่าช้าที่จะอ่านให้จบค่ะ เพราะมีเนื้อหาอีกหลายอย่างที่น่าเรียนรู้มาก ดังนี้ค่ะ ผักพายน้อย เป็นพืชน้ำล้มลุกขนาดเล็ก ที่มักพบว่าขึ้นเองตามทุ่งนานั่นคือจากประสบการณ์ตรงค่ะ แต่พื้นที่ชุ่มน้ำในบางแห่งจะยังมีผักพายน้อยเกิดได้เอง และพื้นที่เพาะปลูก เพราะมีการปลูกผักพายน้อยเพื่อการค้าในหลายพื้นที่ โดยพื้นที่ดังกล่าวนี้ก็จะเลียนแบบธรรมชาติ ทำให้เป็นบริเวณที่มีน้ำขังอยู่เสมอค่ะ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน โดยพืชชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่น่าสนใจมาก คือ ลำต้น: มีลักษณะกลมเรียว ยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร ใบ: ใบเดี่ยว รูปไข่หรือรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ดอก: ออกเป็นช่อ ดอกย่อยเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน รสชาติ: มีรสขมเล็กน้อย ที่ขมน้อยกว่าสะเดาและน้อยกว่ามะระมากค่ะ ผักพายน้อย มีเมล็ดมีขนาดเล็ก ทำให้กระจายไปได้ง่ายโดยลม น้ำ หรือติดไปกับสัตว์ จึงสามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และสามารถกระจายพันธุ์ได้ด้วยการแตกหน่อและไหลด้วยค่ะ ทำให้ผักพายน้อยสามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หลายคนรู้แล้วว่า ผักพายน้อยตอนทานเราจะเด็ดส่วนรากทิ้งค่ะ และทานเฉพาะส่วนของลำต้นและใบ ถ้าต้นนั้นมีดอก ก้านดอกจะแข็ง ที่ปกติผู้เขียนก็จะเด็ดส่วนนี้ทิ้งไปพร้อมรากค่ะ ผักพายน้อยมีรสขมเล็กน้อยเป็นธรรมชาติค่ะ ซึ่งรสขมนี้มีสาเหตุหลักมาจากสารประกอบบางชนิดที่อยู่ในตัวผักเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของใบและลำต้น โดยสารที่ให้ความขมนี้เป็นสารที่พืชสร้างขึ้น เพื่อป้องกันตัวเองจากแมลงและศัตรูพืชค่ะ และเมื่อเราทานเข้าไปเราก็จะรู้สึกถึงรสขมนี้ด้วย แต่ผักพายน้อยอาจมีความขมแตกต่างกันไปด้วยนะคะ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความขมของผักพายน้อย ได้แก่ พันธุ์: พันธุ์ของผักพายน้อยแต่ละชนิดจะมีปริมาณสารที่ทำให้เกิดรสขมแตกต่างกันไปค่ะ สภาพแวดล้อม: สภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโต เช่น แสงแดด อุณหภูมิ น้ำ และดิน ก็มีผลต่อปริมาณสารที่ทำให้เกิดรสขมได้เช่นกันนะคะ ส่วนที่นำมาประกอบอาหาร: ส่วนต่างๆ ของผักพายน้อยจะมีความขมแตกต่างกันไปค่ะ ที่โดยทั่วไปแล้วใบและลำต้นจะมีรสขมมากกว่าส่วนอื่นๆ นะคะ วิธีเลือกผักพายน้อยคุณภาพดี สังเกตใบ: ใบของผักพายน้อยควรมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้มสดใส ใบมีลักษณะมันวาว ใบไม่เหี่ยวเฉา และไม่มีรอยด่างหรือจุดสีเหลืองค่ะ ดูที่ลำต้น: ลำต้นควรแข็งแรง ไม่เหี่ยวเฉาและไม่มีรอยช้ำ ตรวจสอบราก: รากควรสดใหม่และไม่เน่าเสีย ดมกลิ่น: ผักพายน้อยสดใหม่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ของผักสด ขนาด: เลือกผักที่มีขนาดพอเหมาะ ที่ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ปัจจุบันผักพายน้อยเป็นพืชที่ได้รับความนิยมในการปลูกเพื่อขาย เนื่องจากมีหลายข้อมูลเหล่านี้มาสนับสนุนค่ะ 1. ความต้องการของตลาด อาหารพื้นบ้าน: ผักพายน้อยเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารพื้นบ้านหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารอีสานและเหนือ ทำให้มีคนกลุ่มใหญ่ที่ต้องการวัตถุดิบชนิดนี้ค่ะ สุขภาพ: จากที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ผักพายน้อยจึงเป็นที่ต้องการเนื่องจากในตอนหลังมาได้มีการส่งเสริมให้หันมาทานผักพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมสุขภาพค่ะ ความแปลกใหม่: ผักพายน้อยเป็นผักที่มีรสชาติเฉพาะตัว ทำให้คนบางกลุ่มมองหาความแปลกใหม่ในเมนูอาหาร 2. การปลูกที่ง่าย ไม่ต้องการพื้นที่มาก: คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ผักพายน้อยสามารถปลูกได้ในพื้นที่เล็กๆ หรือริมน้ำค่ะ ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมาก: เพราะผักชนิดนี้ชอบดินธรรมชาติ จึงปลูกง่าย และไม่ต้องดูแลมากค่ะ ให้ผลผลิตเร็ว:ผักพายน้อยเริ่มตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวใช้เวลาไม่นานนะคะ 3. ราคาขายดี จากที่มีความต้องการสูง: เนื่องจากความนิยมในการทานผักพื้นบ้านมากขึ้น ปริมาณจำกัด: มีคนปลูกผักพายชนิดนี้น้อย จึงทำให้ราคาขายค่อนข้างสูง กำละ 5 บาท ขนาดกำเท่าวงแขนเด็กน้อยเองค่ะ ปัจจุบันผู้เขียนหันมาทานผักพายน้อยมากขึ้นค่ะ โดยมักซื้อ 1-2 กำ เพราะจะซื้อรวมกับผักอื่น โดยเฉพาะร้านที่ขายผักแบบเหมา 5 กำ 20 บาทค่ะ ที่ผักผายน้อยมาทานเป็นผักสดกับเมนูต่างๆ ที่ทานบ่อยทานประจำก็คือ ผักพายน้อยทานกับน้ำพริก และผักพายน้อยกับส้มตำค่ะ แต่ถ้าคุณผู้อ่านจะนำผักชื่อนี้ไปทานกับลาบก็ยังทำได้นะคะ โดยผักพักพายสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายผักไทบ้านค่ะ ยังไงนั้นลองแวะไปตลาดและเลือกผักพายน้อยสวยๆ มาทานเป็นผักกันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/gWGy6j6jla64 https://food.trueid.net/detail/xdgVNW9AXKN1 https://food.trueid.net/detail/RXO3BwqObbVX เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !