หมาล่า เครื่องเทศที่ใช้ในการปรุงรสชาติ ของอาหารไม่ว่าปิ้งย่าง ต้มกินเป็นสุกี้หม้อไฟ ความเผ็ดร้อน ซ่าชาลิ้นและมีกลิ่นหอมที่เฉพาะตัวจึงทำให้หมาล่า เป็นที่นิยมรับประทานกันอย่างมาก แล้วคุณผู้ชมรู้หรือไม่ครับว่า ใครกันที่นำเจ้าหมาล่ามาปรุงอาหารกินกันเป็นคนกลุ่มแรก ๆ สวัสดีครับมีเรื่องไรเล่า ตอนนี้จะพาคุณผู้ชมไปรู้จักกับหมาล่า เครื่องเทศที่สุดร้อนแรงแห่งยุค ว่าต้นกำเนิดวัฒนธรรมการกิน หมาล่านั้นมาจากที่ใด และใครกันที่นำเครื่องเทศชนิดนี้มากินกันก่อนเป็นกลุ่มแรก ๆ ในตอนที่มีชื่อว่า ต้นกำเนิดคนกินหมา ล่า เผ็ดซ่าชาลิ้น ก่อนที่เราจะได้รู้ที่มาที่ไปว่าใครกันนะครับ คือพวกคนกลุ่มแรก ๆ ที่เอาเครื่องเทศหมาล่ามาใช้ปรุงอาหารนั้นผมอยากขออธิบายความหมายของคำว่า หมาล่า เสียก่อน คำว่า หมาล่า นั้นนะครับ เป็นภาษาจีน ที่อธิบายถึงความรู้สึกของรสชาติอาหารโดย คำว่า “หมา”แปลว่า ชา คำว่า “ล่า”แปลว่า เผ็ด เมื่อสองคำรวมกันจึงได้เป็นชาเผ็ด หรือเผ็ดชา เมื่อใดก็ตามที่ชาวจีนได้กินอาหารชนิดใด ๆ แล้วรู้สึกเผ็ดและชาลิ้น นั้นจึงเป็นรสสัมผัสที่เรียกว่ารส หมาล่า ทีนี้พอจะนึกออกแล้วใช้ไหมล่ะครับว่า หมาล่า นั้นไม่ได้หมายถึงตัวชนิดของเครื่องเทศ แต่เป็นคำอธิบายความรู้สึกในรสชาติเท่านั้น ส่วนในองค์ประกอบของเครื่องเทศของหมาล่า ก็จะมีพริกที่มีความเผ็ดร้อน และความชา ที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นจะได้มาจาก ฮวาเจียว หรือที่รู้จักกันในชื่อพริกไทยเสฉวน มันมีลักษณะเป็นเมล็ด กลมเล็ก ๆ คล้าย ๆ พริกไทย แต่เจ้าฮวาเจียวมันความพิเศษมาก ๆ นอกจากมันจะมีรสเผ็ดนิด ๆ แล้วถ้าเรากัดเมล็ดมันแตกข้างในปาก มันจะหลังสาร ไฮดรอกซี อัลฟา ซันโชวร์ ที่ทำให้ปุ่มรับรสสัมผัสลิ้นเราสั่นสะเทือนเหมือนกับโดนไฟฟ้าชอร์ตเบา ๆ จึงทำให้เรารู้สึกชาที่ลิ้นนั้นเอง ในประเทศจีนก็มีการเพราะปลูกต้นฮวาเจียวกันในหลายภูมิภาค แต่ฮาวเจียวที่มี คุณภาพดีสุดในประเทศจีนนั้น จะต้องเป็นฮวาเจียว ที่มาจากเมืองฉงชิ่งเท่านั้น ที่คนจีนให้การยอมรับ และเมืองฉงชิ่งนี้แหละครับก็คือต้นกำเนิดในการกินอาหารรสหมาล่า แต่ว่า ใครกันละคือคนต้นคิดปรุงรสหมาล่านี้ เกิดขึ้นมาได้ยังไง?????? ผมก็ต้องขออธิบาย ที่มาและที่ไปลักษณะของเมืองฉงชิ่งให้เข้าใจกันก่อนนะครับ เมืองฉงชิ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ฉงชิ่งนั้นเคยเป็นเมืองที่อยู่ในเขตการปกครองของมณฑลเสฉวน ในมณฑลเสฉวน ก็จะมีหลาย ๆ เมืองประกอบกันอยู่รวม ๆ กันจึงเกิดเป็นมณฑล โดยที่ เมืองเอกของมณฑล เสฉวนนั้น ก็คือเมืองเฉิงตู ถ้าใครเคยอ่านสามก๊ก เฉิงตูก็เป็นเมืองที่เล่าปี่อยู่นั้นเอง นะครับ แต่ตั้งแต่ปี 1997 มาเมืองฉงชิ่งก็เจริญรุดหน้า กว่าทุก ๆ เมืองในมณฑลเสฉวน ประชากรในเมืองฉงชิ่งเรียกได้ว่าอยู่ดีกินดี และส่วนใหญ่ก็จะมีฐานะดีกันมากๆ ถึงขนาดที่ว่า GDPของเมืองฉงชิ่งเมืองเดียว สูงมากกว่าทุก ๆ เมืองในมณฑลเสฉวนเอามารวมกัน เสียอีกที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าเมือง ฉงชิ่งนั้นเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อทั้งระบบเศรษฐกิจภายในประเทศจีน อดีตย่อมส่งผลมาถึงปัจจุบัน ในความเป็นจริงแล้วเมืองฉงชิ่งไม่ใช่ว่าจะเพิ่งมาเจริญเติบโตก้าวหน้าแต่อย่างใด ความเจริญก้าวหน้าและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของเมืองฉงชิ่งนั้น มีมายาวนานกว่านับพันปีมาแล้วครับ และในอดีตที่เมืองฉงชิ่ง นั้นก็มีอาชีพ อยู่อาชีพหนึ่งที่มีความพิเศษ ที่จะหาที่ไหนไม่ได้ในประเทศจีน และอาชีพที่พิเศษที่ผมว่านี่แหละครับจะเป็นต้นกำเนิดในการกินอาหารรสหมาล่า เอาละครับ ผมขอพาคุณผู้ชมย้อนกลับไปในอดีตของเมืองฉงชิ่งกว่า หลายร้อย ร้อย ๆ ปีก่อนนะครับ ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาชีพพิเศษที่มีแต่เฉพาะเมืองฉงชิ่งในสมัยโบราณนั้น ผมก็ต้องขออธิบายถึง ภูมิประเทศของเมืองฉงชิ่งนี้เสียก่อน เพื่อที่คุณผู้ชมจะได้ทราบได้ว่าทำไมอาชีพนี้มีความสำคัญและมีที่มาที่ไปอย่างไร อีกทั้งทำไมเมืองฉงชิ่งจึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ของประเทศจีนในสมัยโบราณ จวบจนมาถึงปัจจุบัน อย่างที่บอกไปแล้วว่าเมืองฉงชิ่งนั้น อยู่ในเขตมณฑลเสฉวน โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่ของ มณฑลเสฉวนจะเป็นภูเขาสูงมีพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล อีกทั้งยังมีเมฆหมอกปกคลุมหนาทึบ ทำให้ไม่ค่อยได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ จึงทำให้จะมีอากาศที่หนาวเย็น แต่ที่ทำให้เมืองฉงชิ่งนั้นได้กลายเป็นเมืองท่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญในอดีต นั้นก็เป็นเพราะว่า มันมีแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลผ่านเมือง แม่น้ำสายนี้ประดุจดังเส้นเลือดใหญ่ของคนจีนมาอย่างยาวนาน มหานทีแห่งนี้คือแม่น้ำแยงซีเกียงหรือที่คนจีนเรียกว่า แม่น้ำฉางเจียง แม่น้ำแยงซีเกียงนั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากเทือกเขาทางทิเบตและไหลทอดตัวยาวผ่านใจกลางกลางของประเทศจีน ออกไปยังเซี่ยงไฮ้เมืองชายฝั่งทางทะเล รวมระยะทางกว่า 6,300 กิโลเมตร และตลอดเส้นทางของแม่น้ำแยงซีเกียงที่ไหลผ่านไปนั้นก็จะแตกออกไปเป็นแม่น้ำน้อยใหญ่อีกว่า 700 สายไหลรวมกันตลอดทั้งเส้นทางทั่วทั้งประเทศจีน จึงทำให้แม่น้ำแยงซีเกียงแห่งนี้ใช้ หล่อเลี้ยงผู้คนทั้งประเทศจีน ไม่เพียงแค่สายน้ำแห่งนี้จะใช้ในการหล่อเลี้ยงผู้คนจากทำเกษตรกรรมแล้วนะครับ เส้นทางลำน้ำแยงซีเกียง ก็ยังถูกใช้ในการคมนาคมทางเรือ ในการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ต้องบอกแบบนี้ก่อนนะครับว่าในสมัยอดีต ถนนหนทางในการเดินทางมันไม่ได้สะดวกเหมือนในปัจจุบัน การที่จะขนส่งสินค้าถ้าใช้เป็นกองคาราวานเดินทาง ทางบกนั้นจะล่าช้ากว่าการที่เดินทางด้วยทางน้ำโดยการขนของใส่เรือสำเภาล่องไปตามแม่น้ำ อีกทั้งในแม่น้ำแยงซีเกียงก็มีแม่น้ำลำคลองน้อยใหญ่ที่แตกแยกกันออกไปยังเส้นทางต่าง ๆ ได้อีกหลายสาย จึงสะดวกและรวดเร็วกว่าการขนส่งกันทางบกจึงมีคำกล่าวหนึ่งของคนจีนสมัยโบราณว่า เมืองไหนที่มีแม่น้ำฉางเจียงไหลผ่านเมืองนั้นก็จะเจริญ และด้วยแม่น้ำแยงซีเกียงนั้น ก็ได้ไหลผ่านที่เมืองฉงชิ่ง จึงทำให้เมืองฉงชิ่งเป็นเมืองท่าจุดพักสินค้าที่สำคัญเป็นอย่างมากที่ในการที่ขนถ่ายสินค้า ในอดีตและอีกหนึ่งปัจจัยหนึ่งสำคัญที่สุด ที่ทำให้เมืองฉงชิ่งนั้นเป็นจุดศูนย์กลางของเท่าเรือในการค้าในสมัยนั้นก็คือ ปราการทางธรรมชาติ การที่จะล่องเรือผ่านจากเมืองฉงชิ่งลงไปมณฑลหูเป่ย ลงต่อไปยังเมืองอู่ฮั่น นั้นมันจะต้องผ่านโค้งน้ำที่อันตรายเป็นอย่างมากที่เรียกกันว่า ซานเสียต้า โดยจะมีทั้งหมดด้วยกันอยู่ด้วยกันสามช่วงที่อันตราย ในบางช่วงของเส้นทางนี้ จะมีทั้งระดับน้ำ ตื้นเขินเกินกว่าที่เรือสำเภาที่บรรทุกสินค้ามามาก ๆ ก็จะไม่สามารถผ่านไปได้ อีกทั้งก็ยังมีเกาะแก่ง หินมากมายที่ขวางทางในการล่องลำน้ำ และบางช่วงก็ยังมีกระแสน้ำที่มีความเชี่ยวกราดเป็นอย่างมาก มันจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ที่จะล่องเรือผ่านกระแสน้ำในช่วงนี้ไปได้ จนถึงกลับมีคำกล่าวในสมัยนั้นกันว่าการเดินทางทวนกระแสน้ำแยงซีเกียงสู่เมืองเสฉวนนั้น ยากยิ่งกว่าไปสวรรค์และด้วยเหตุนี้เองมันจึงทำให้ในช่วงเวลานั้นได้เกิดมีอาชีพอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเดินทางคมนาคมค้าขาย ล่องเรือ ผ่านจุดอันตรายทั้งสามจุดนี้ไปให้ได้ นั้นก็คือ อาชีพคนลากเรือโดยที่หน้าที่ของพวกเขาเหล่านั้นจะต้องคอยลากทั้งเรือสินค้าน้อยใหญ่ ให้ผ่านในจุดอันตรายทั้งสามไปให้ได้ พวกเขาเหล่านั้นจะใช้เชือกผูกมัดร่างกายรวม ๆต่อกันไปตามแต่ขนาดของเรือ ถ้าหากเรือลำใหญ่ก็จะต้องใช้คนจำนวนมาก ผูกยาวต่อกันไป ทั้งคนเเละเรือซึ่งคนเหล่านี้จะต้องออกแรงลากเรือกันไป ตามสองข้างทางของแม่น้ำแยงซีเกียง ในบางช่วงก็เป็นทั้งพื้นที่ที่เป็นแก่งหิน หน้าผาก็มีคนลากเรือเหล่านี้จะต้องมีความสามัคคีกันเป็นอย่างมากในการออกแรงลากจูง เพื่อให้เรือบรรทุกสินค้า ผ่านไปให้ได้ โดยที่ในขณะที่พวกเขาลากเรือก็จะมีหัวหน้าเป็นคนคอยคุมและอาศัยการร้องเพลงเพื่อควบคุมจังหวะในการออกแรงลากเรือไปอย่างพร้อมเรียงกัน เพราะถ้าหากในการลากเรือขาดความพร้อมเพรียงสามัคคีกันแล้ว มันก็จะมีโอกาสที่จะพลาดผลัดตกลงไปในแม่น้ำแล้วอาจจะถูกกระแสน้ำของแยงซีเกียงดูดกลืนกินชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นไปได้อย่างง่ายได้ อาชีพคนลากเรือนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในสมัยนั้น ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศจีน แต่ถ้าว่าในความเป็นจริงแล้วในยุคนั้น อาชีพคนลากเรือกลับเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยที่สุดเป็นเพียงแค่กุลีที่ใช้แต่แรงกายแรกแลกกับค่าแรงอันน้อยนิด อีกทั้งการยอมรับทางสังคมของพวกเขาเหล่านั้น ก็กลับถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยและน่ารังเกียจ ถึงขนาดที่ว่าถ้าหากบ้านไหนที่มีลูกสาว ที่มีบ้านอยู่บริเวณสองข้างฝังของแม่น้ำแยงซีเกียง ถ้าหากว่าพวกเขาได้ยินเสียงเพลงของคนลากเรือ กำลังจะผ่านมาที่หน้าบ้านของ พวกเขาก็จะพากันรีบไปปิดประตูหน้าต่าง เพื่อไม่อยากให้ลูกสาวของพวกเขานั้นได้ไปมองเห็นพวกกลุ่มคนลากเรือ ที่กลุ่มคนลากเรือเป็นที่น่ารังเกียจขนาดนั้นก็เป็นเพราะว่า อาชีพคนลากเรือทั้งหมดนั้นจะมีแต่พวกผู้ชาย ซึงพวกเขาเหล่านั้นจะเปลือยกายล่อนจ้อนนุ่งลมห่มฟ้า จะมีก็แค่เพียงเศษผ้าเอาไว้พาดบ่าป้องกันเชือกจะถูกับผิวผนังเท่านั้น พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถสวมใส่ เสื้อผ้าอาภรณ์อะไรได้เลย นั้นเป็นเพราะว่า ถ้าหากใส่เสื้อผ้า ในขณะที่ลากเรือ ในบางช่วงต้องลงไปลากในแม่น้ำบ้าง เสื้อผ้าก็อาจจะเปียกน้ำ จะยิ่งทำให้มีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น และเสื้อผ้าก็อาจจะทำให้ถูกกระแสน้ำไหลพาพัดไปได้อีกด้วย อีกทั้งถ้าต้องใส่เสื้อผ้าที่เปียกน้ำและอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ ก็จะทำให้พวกเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเอาง่าย ๆ อีกด้วย ดูเอาสิครับ งานที่ทำออกแรงทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเสี่ยงชีวิตอีกต่างหาก ค่าแรงก็น้อย แถมยังต้องเปลือยกายล่อนจ้อนไม่ได้ใส่เสื้อผ้าทำงานซ้ำยังถูกมองเป็นกลุ่มอาชีพที่น่ารังเกียจอีกต่างหาก แหมมันก็ช่างน่าน้อยใจจริง ๆ เลยนะครับ สำหรับอาชีพคนลากเรือ ในสมัยนั้น และด้วยเหตุที่คนลากเรือเป็นกลุ่มคนที่น่ารังเกียจแบบนี้เมื่อถึงเวลาพักรับประทานอาหารพวกเขาเหล่านั้นจึงนั่งจับกลุ่มกันกินอาหารร่วม ๆ กันอยู่เป็นประจำ โดยที่อาหารการกินของพวกเขาก็ง่ายแสนง่าย พวกเขาจะเขาก้อนหินที่อยู่ตามแม่น้ำมาตั้งเป็นฐานแล้วก่อไฟแล้วเอาหม้อ หรือกระทะใบใหญ่ ใส่น้ำจากแม่น้ำ ต้มให้เดือด แล้วก็หาเอา ผักหรือเครื่องเทศต่าง ๆ ที่ขึ้นตามริมฝั่งของแม่น้ำใส่ลงไปในกระทะนั้นและต้มกินรวม ๆ กัน และด้วยความยากจน พวกเขาเหล่านั้นจึงไม่ไม่มีโอกาสที่จะได้หา กินเนื้อสัตว์ได้แต่อย่างใด ถ้าจะมีโอกาสได้กินอย่างดีก็แค่ เครื่องในสัตว์ หรือ หัวหมูเพียงเท่านั้นหรือถ้าโชคดีหน่อยก็จับเอากบภูเขาลงไปต้มกิน คือว่าในสมัยนั้นนะครับ คนที่มีเงินเขาจะนิยมกินแต่เนื้อสัตว์ไม่กินเครื่องในกันเพราะมันเหม็นคาว เครื่องในสัตว์จึงมีราคาถูก พวกกลุ่มคนที่ลากเรือจึงนิยมใช้ พวกเครื่องเทศ ที่หาเก็บเอาได้ง่ายๆ ที่ขึ้นตามริมฝั่งของแม่น้ำแยงซีเกียง อย่างฮวาเจียวนี่แหละครับ เอามาใส่ใน อาหาร เพื่อดับกลิ่นคาว อีกทั้งพวกคนลากเรือนั้นจะชอบกินอาหารรสจัด เผ็ด ๆ พวกเขาก็มักที่จะเตรียมพวกพริกแห้งต่าง ๆ ใส่ผสมกันลงไปในหม้อต้มทั้งผักและเครื่องในสัตว์ รับประทานกันอย่างเอร็ดอร่อยกันตามอัตภาพที่พวกเขาพอจะหากินกันได้ ลองนึกภาพตามกันแบบนี้ละกันนะครับ กลุ่มชายฉกรรจ์เปลือยกายล่อนจ้อน นั่งล้อมวงกันกินสุกี้ หม้อไฟหมาล่าแบบเผ็ด ๆ ร้อน ๆ ในอากาศที่หนาว ๆ อือฮือ น่าอร่อยกันใช่ไหมล่ะครับ และด้วยเหตุนี้แหละครับ อาหารและเครื่องเทศที่มีพริก ฮวาเจียว เป็นส่วนผสมนี้เองมันจึงได้ทำให้เกิดมาเป็นรสของหมาล่าอย่างที่เราได้กินกันอยู่ในปัจจุบันกันนี่แหละครับ แต่ในส่วนที่ว่า ทำไม อาหารของกุลีจน ๆ ที่ดูจะแสนเรียบง่ายนี้กลับเป็นที่นิยมในเมืองฉงชิ่ง จนขยายกลายเป็นวัฒนธรรมในการกินเป็นอาหารยอดนิยมไปทั้งมณฑลเสฉวนนั้นก็เป็นเพราะว่า พวกชาวบ้านเขาไปเห็นว่า ทำไมพวกคนลากเรือนี้ ร่างกายเขาถึงได้แข็งแรงกันนัก ทั้งที่ทำงานหนักก็กลับไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย อะไรเลย แถมพวกคนลากเรือนี้ ทำงานอยู่กับน้ำ ตัวเปียกชื้นทุกวัน สภาพอากาศบริเวณนั้นก็มีอากาศที่หนาวเย็นชื้นแซะ ๆ อีกด้วยแต่กลับไม่สามารถทำอะไรกับร่างกายของพวกคนลากเรือได้เลย แต่กลับเป็นพวกชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นต่างหากที่มักจะมีอาการป่วยกระเสาะกระแสะ ก็เลยอดสงสัยไม่ได้ว่า พวกคนลากเรือเหล่านี้เขาทำยังไงกันถึงทำให้ร่างกายแข็งแรงได้แบบนี้ พอจะเดากันออกไหมครับว่าเพราะอะไร ที่มันเป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า พวกเหล่าเครื่องเทศรสหมาล่า ที่พวกเขากินกันนั้นเองครับมันเป็นภูมิปัญญาหรือจะด้วยความบังเอิญผมก็ไม่อาจทราบได้อยู่เหมือนกันนะครับ ด้วยคุณสมบัติของเครื่องเทศรสหมาล่าที่มันเผ็ดร้อนและชาลิ้น เมื่อกินเข้าไปแล้วมันไปขับเหงื่อให้ไหลออกมา จึงเป็นการปรับสมดุลเลือดลมของร่างกายให้กับพวกคนลากเรือ ไปเองตามธรรมชาติ มันจึงทำให้พวกเขามีร่างกายที่แข็งแรงและสามารถทนต่อสภาพอากาศ ที่หนาวเย็นได้เป็นอย่างดี พวกชาวบ้านที่อยู่บนฝั่งไม่ค่อยมีเหงื่อร่างกายก็จึงไม่ค่อยสมดุล จึงเจ็บไข้ได้ป่วยกันง่าย ๆ เมื่อเห็นเป็นเช่นนี้แล้ว พวกชาวบ้าน จึงนิยมมากินอาหารรสจัดและจะนิยม ทำเครื่องเทศรสหมาล่า นำมาปรุงใส่อาหารกันแทบจะในทุกเมนูไม่ว่าจะต้มนึ่งย่างทอด ผัด และก็ค่อย ๆ ได้รับความนิยม ส่งต่อ ๆ กันออกไปกระจายไปทั้งในมณฑลเสฉวน และกระจายต่อกันไปทั่ว ทั้งประเทศจีน ในเวลาต่อมา ทีนี้เราก็ได้ทราบกันไปแล้วใช่ไหมล่ะครับว่า ใครกันที่เป็นจุดเริ่มต้นในการปรุงรสหมาล่านี้ขึ้นมาแต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีอีกแล้วนะครับ สำหรับอาชีพคนลากเรือ นั้นก็เป็นเพราะว่าการมาของเขื่อนทางรัฐบาลจีนได้มีนโยบายที่จะสร้างเขื่อนซานเสียต้าป้า หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเขื่อนสามผา ที่ยังบริเวณเมืองฉงชิ่งจึงทำให้ต้องอพยพผู้คนในบริเวณนั้นออกไปหลายล้านคน จนสร้างเขื่อนแล้วเสร็จ ปี 2013 มันจึงทำให้ระดับน้ำที่บริเวณจุดที่อันตรายที่สุดอย่าง ซานเสียต้า นั้นมีระดับน้ำที่สูงขึ้นกว่าเดิม 80-170 เมตร จึงทำให้ช่วงโค้งน้ำนั้นมันไม่ได้ อันตรายอีกต่อไปและยังสามารถทำให้เรือบรรทุกสินค้า ขนาดใหญ่สามารถแล่นผ่านไปได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นไปอีก คนลากเรือในปัจจุบันนั้นจึงเหลือเป็นเพียงแค่การแสดงโชว์ ให้นักท่องเที่ยวได้ดูไปเสียมากกว่า และหลังจากในปี 1997 นั้น เมืองฉงชิ่งก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างก้าวกระโดดทำให้ชาวเมืองนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิมเป็นอย่างมาก ในปัจจุบัน ทางรัฐบาลท้องถิ่นของเมืองฉงชิ่งได้ขอขึ้นทะเบียนอาชีพคนลากเรือให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมกับองค์การยูเนสโกเพื่อให้เป็นเกียรติกับอาชีพคนลากเรือ ในอดีตเพราะชาวเมืองฉงชิ่ง ในยุคปัจจุบันนั้นเขาได้ตระหนักและมองเห็นคุณค่ากันแล้วว่า ที่เมืองฉงชิ่งเจริญก้าวหน้ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในภูมิภาคและในระดับประเทศได้นั้นก็เป็นมาตั้งแต่ในรุ่นของบรรพบุรุษของพวกเขา รากเหง้าที่แท้จริงที่ทำให้เมืองฉงชิ่งมีความเจริญก้าวหน้านั้น คือกลุ่มคนลากเรือเหล่านั้น เพราะถ้าหากไม่มีพวกเขาเหล่านั้นการติดต่อทำมาค้าขายตั้งแต่ใน อดีตจะไม่สามารถทำได้เลย ถึงแม้อาชีพคนลากเรือในอดีตอาจจะถูกมองว่าต่ำต้อยแต่เมื่อกาลเวลาได้ผ่านไปคุณค่าจากแรงกายที่พวกเขาได้ออกแรงลากเรือกันไปนั้น ก็เปรียบได้ดังพวกเขาได้ลากเอาความเจริญก้าวหน้าเป็นแรงที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของทั้งชาวเมืองฉงชิ่ง และคนจีนทั้งประเทศไปอีกด้วย สุดท้ายนี้ ผมอยากฝากข้อคิดดีๆ จากอาชีพคนลากเรือที่ได้เล่าไปให้ฟังกันสักหน่อยนะครับว่าไม่ว่า คุณผู้ชมกำลังประกอบอาชีพอะไรอยู่ก็ตามอย่าได้ดูถูกในสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ เพราะสิ่งที่ทุกๆ อาชีพทำงาน ออกมาแล้วนั้นล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนทางสังคมเท่าเทียมด้วยกันทั้งนั้น คุณค่าในสิ่งที่เราทำอาจจะไม่ได้ยิ่งใหญ่สำหรับใครบางคน แต่คุณค่าที่เราทำนั้นมันจะยิ่งใหญ่ด้วยตัวของมันเอง ถ้าเราตั้งใจทำมันออกมาให้สุดความสามารถที่เรามี นี่ก็เป็นตำนานหรือเรื่องเล่าในรูปแบบหนึ่งของอาหารเสฉวน ที่ผมได้ยินได้ฟังมานะครับ ถ้าใครมีข้อมูลที่แตกต่างหรือได้รับฟังเป็น