บ๊ะจ่าง ขนมทรงสามเหลี่ยมมัดเชือกหน้าตาประหลาดนี้เอง เป็นขนมที่สำคัญที่ใช้ในเทศกาลหนึ่งของจีนเรียกว่า เทศกาลตวนอู่ จะตรงกับทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ตามปฏิทินจีนค่ะ ขนมนี้ไม่ใช่แค่ขนม แต่ขนมนี้มีเรื่องราวความเป็นมาและประวัติที่น่าสนใจอีกด้วยนะคะ เทศกาลตวนอู่ หรือ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง ในวันนี้ชาวจีนจะจัดให้มีการไหว้เจ้า ในช่วงเช้า,ไหว้บรรพบุรุษ,ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์,ไหว้ธาตุทั้ง 5 ด้วยเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ขนมบ๊ะจ่าง และ กำมะถัน นอกจากนี้ยังมีการแขวนภาพของ เทพจงขุย เทพเจ้าของจีนที่เชื่อว่าจะสามารถช่วยปัดเป่าสิ่งที่ดีและความชั่วร้ายได้ มีการปัก ต้นเหี่ย ต้นไอ้เฉา ที่กระถางธูปเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดีรวมทั้งมีการทำความสะอาดบ้าน วางถุงหอมจุดกำยานเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นวันที่ 5 เดือน 5 เหล่าปีศาจจะออกมาสำแดงฤทธิ์เดช จึงต้องมีการทำความสะอาดและปัดเป่า รวมถึงสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือมีประเพณีการแข่งเรือมังกรที่โด่งดังและยิ่งใหญ่ของประเทศจีน ในบริเวณแม่น้ำแยงซีเกียงใน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊า สิงคโปร์ อีกด้วยค่ะ ขนมบ๊ะจ่าง เครดิตภาพFacebook : Kha:w-nom.mp3 ความเป็นมาและข้อมูลเกี่ยวกับขนม ขนมบ๊ะจ่างยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อเลย เช่น ขนมจ้าง ขนมจีบ และ ขนมโจ้งจื่อ รูปร่างหน้าตาของขนมบ๊ะจ่างก็จะมีลักษณะเป็นขนมทรงสามเหลี่ยมที่ห่อด้วยใบไผ่แล้วก็มัดด้วยเชือก โดยภายในของมันก็จะทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่กับน้ำด่างและนำมาผัดเป็นขนมบ๊ะจ่างนะคะ ซึ่งการที่เอาข้าวเหนียวมาปั้นและห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบไผ่ ที่เรียกว่าโจ้งจื่อ หรือลักษณะการของแบบนี้มาตั้งนานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว เป็นวิธีการพกและห่อข้าวของคนสมัยโบราณด้วย ขนมบ๊ะจ่างจะมีทั้งหมด 2 ชนิดแบบแรกคือแบบที่ด้านในเป็นขนมที่นำเอาข้าวเหนียวผสมน้ำด่างด้วยใบไผ่เป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ นึ่งให้สุกโดยเนื้อจะมีสีอมเหลืองรสกร่อย ๆ เรียกว่า ขนมจ้าง หรือ กี่จ่าง รสชาติจะไม่ค่อยดีนักเวลาทานก็ต้องจิ้มกับน้ำตาลค่ะ ซึ่งขนมชนิดนี้กินเพื่อล้างท้องฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยนะคะ ส่วนแบบที่ 2 เป็นขนมแบบที่นิยมกันมากกว่าซึ่งด้านในก็จะเป็นข้าวเหนียวผัดกับไส้ต่าง ๆ โดยการประยุกต์กับตามสูตรของแต่ละพื้นที่ ข้าวเหนียวของตัวขนมบ๊ะจ่างจากแช่ด้วยน้ำด่างข้ามคืนแล้วก็นำมาผัดปรุงรสด้วยพะโล้พริกไทยเกลือซีอิ๊วใส่ไส้ต่าง ๆ อาจจะเป็นไส้พวกถั่วหรือธัญพืชถ้าเป็นช่วงเทศกาลเจ ถ้าเป็นช่วงปกติอาจจะใส่ไชโป๊หมูกุ้งแห้งกุนเชียงไข่เค็มเห็ดหอมแปะก๊วยและเม็ดบัวลงไปเพิ่มรสชาติด้วย พูดแค่นี้ก็หิวแล้วล่ะค่ะ เครดิตภาพ : Freepix ตำนาน- ประวัติขนมบ๊ะจ่าง เราก็ได้รู้จักขนมบ๊ะจ่างกันไปแล้วลองมาดูเรื่องราวความเป็นมาความสำคัญของขนมตัวนี้กันดีกว่าค่ะ อย่างที่บอกไปตอนต้นนะคะว่าขนมนี้ใช้ไหว้เทพเจ้า ในเทศกาลตวนอู่ ซึ่งเป็นประเพณีแห่งการเฉลิมฉลองการเข้าสู่ฤดูร้อนของชาวจีน นอกจากนี้ประเพณีนี้ก็ยังเป็นเทศกาลเพื่อรำลึกถึงชวีหยวนกวีคนสำคัญของจีนอีกด้วยค่ะ ตำนานของขนมบ๊ะจ่างและเทศกาลการไหว้ขนมบ๊ะจ่างนี้ มีที่มาจากหลายแหล่งหลายความเชื่อเลย ซึ่งประเพณีการไหว้ขนมบ๊ะจ่างนี้ก็ปฏิบัติกันมามากกว่า 2000 ปีแล้ว เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากและมีชนเผ่าที่หลากหลายจึงทำให้นิทานความเชื่อตำนานและประเพณีบริเวณต่าง ๆ มีความแตกต่างกันไปตามพื้นที่แล้วก็ตามความเชื่อของคนกลุ่มนั้น ๆ นะคะ ถ้าหากอ่านในบทความนี้แล้วรู้สึกว่าไม่ตรงกับทีทราบมาก็อยากให้คำนึงถึงจุดนี้นะคะ เรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเทศกาลตวนอู่ มีเรื่องเล่าหลัก ๆ 4 เรื่องที่มักจะได้ยินกันบ่อย คือเรื่อง การรำลึกถึงกวีซีหยวนนักกวีผู้ยิ่งใหญ่ของจีน การรำลึกถึงนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ การรำลึกถึงนางเฉาเอ๋อลูกสาวกตัญญูของพ่อและ ก็เป็นพวกระบบความเชื่อโทเทมเป็นสัตว์ประจำเผ่าของบ้านชนเผ่าของจีน ซึ่งในวันนี้เราจะมาเล่าถึงตำนานที่มีการพูดถึงมากที่สุดแล้วก็ถ้าพูดถึงการไหว้บ๊ะจ่าง ต้องนึกถึงเป็นตำนานแรก ๆ ซึ่งก็คือตำนานของชวีหยวนนั่นเองค่ะ เรื่องราวของวีรชนผู้รักชาติที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์โจวเขาเป็นคนเมืองฉู่ มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจ้านกว๋อ ซึ่งในรัชกาลที่ชวีหยวน อยู่เคยเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดใน 7 รัฐพยัคฆ์สงคราม ในสมัยนั้นเองเป็นสมัยของ ฮ่องเต้ฉู่หวายอ๋อง เป็นกษัตริย์ผู้ที่เชื่อคนง่ายแล้วก็มีความหูเบาทำให้ในช่วงนั้นการเมืองของประเทศอ่อนแอ และเป็นช่วงเดียวกับที่รัฐฉินกำลังเข้มแข็งขึ้นและมีนโยบายรุกรานชาติอื่น ๆ เครดิตภาพFacebook : Kha:w-nom.mp3 ชวีหยวนเขาเป็นขุนนางใหญ่คนหนึ่งในรัฐฉู่ ผู้ที่เกิดในตระกูลสูงศักดิ์ได้รับการศึกษาอย่างดีมีความรอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะและการเมืองก็เชี่ยวชาญทั้งสิ้น เขาได้เสนอนโยบายให้มีการปฏิรูปการปกครองไปในทางที่ดีแก้ปัญหาเรื่องทาสกับผู้กดขี่ทาส รวมถึงยกระดับชีวิตของคนจน ส่งเสริมให้คนดีมีโอกาสรับใช้บ้านเมือง และเขาก็ยังเสนอให้ดำเนินนโยบายรวมกับ 6 รัฐเพื่อความเข้มแข็ง แล้วก็ต่อต้านรัฐฉินอีกด้วย ซึ่งนโยบายเขาไปขัดกับผลประโยชน์ของขุนนางรัฐฉินที่มีชื่อว่า จางอี้ ค่ะ ผู้ฉลาดและทะเยอทะยาน ต้องการให้รัฐฉินมีความมั่งคั่ง เขาจึงซื้อเสียงตัวขุนนางต่าง ๆ ในรัฐฉู่ แล้วก็ให้ช่วยกันขัดขวางนโยบายของชวีหยวน จนในที่สุดเหล่าขุนนางก็ร่วมมือกันแล้วก็เป่าหูฮ่องเต้ เพิกเฉยนโยบายของชวีหยวนและปลดให้เป็นขุนนางชั้นผู้น้อยและเนรเทศไปชายแดนที่กันดาร แต่ว่าชีหยวนก็ยังไม่ละความพยายามค่ะ เขายังคงพยายามทำหนังสือเพื่อตักเตือนฮ่องเต้ อีกหลายครั้งแต่ว่าการเตือนของเขาก็ไม่เป็นผลและยังทำให้เหล่าขุนนางช่วยกันใส่ร้ายเขาอีกว่า เขาเป็นคนที่หลงตัวเองแล้วก็ดูถูกฮ่องเต้ ในที่สุดเขาก็โดนเนรเทศไปอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำแยงซี ซึ่งเป็นที่ที่ทุรกันดารมากกว่าที่แห่งแรกที่ถูกเนรเทศใน ขณะที่เขาโดนเนรเทศไปอยู่ในที่ทุรกันดารเขาก็ได้พบปะแล้วก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชาวบ้านอย่างใกล้ชิด จึงทำให้เห็นความทุกข์ยากของมวลชนเนื่องจากความโง่เขลาเบาปัญญาของผู้นำกษัตริย์ผู้ปกครองก็รู้สึกเศร้าหมองใจ ชวีหยวนเป็นผู้มีความสามารถในด้านการเขียนและงานกาพย์กลอนอีกด้วย เขาจึงได้เขียนบทกวีขึ้นมามากมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความทุกข์ยากของประชาชน เป็นบทกวีกว่า 20 เรื่องด้วยกันค่ะ ซึ่งในส่วนนี้เองต่อมามีคุณูปการในการศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติจีนบ้านเมืองในยุคนั้นเป็นอย่างมาก ช่วงแรกที่เขาถูกเนรเทศมาอยู่บริเวณตอนเหนือของแม่น้ำเขาก็ได้ใช้ชีวิตอยู่กับชาวบ้านอย่างกลมกลืนทำให้ได้ใช้เวลาศึกษาเพลงพื้นบ้านของชาวบ้านอีกในช่วงนี้เขาก็ยังมีแรงบันดาลใจที่สุดเขียนกวี เขาก็เขียนกวีที่ชื่อว่า"กวีหลีเซา" สามารถคลิกอ่านและฟังได้ ซึ่งในบทนี้ได้บรรยายถึงความรู้สึกทุกข์ระทมที่เขาต้องถูกเนรเทศไปอยู่ในแดนไกลแล้วก็ความทุกข์ยากของประชาชนอีกด้วย รวมถึงเขียนถึงความเคียดแค้นต่อพวกขุนนางที่มีความประจบสอพลอและก็หวังแต่ผลประโยชน์ของตัวเองนะคะเขาก็ได้เขียนบทประพันธ์กวีเอาไว้กว่า 373 บท มีแต่ 3 ถึง 2,500 ตัว ซึ่งถือเป็นบทร้อยกรองขนาดยาวชิ้นแรกในประวัติศาสตร์ของจีน เขาคิดว่าสักวันหนึ่งราชสำนักอาจจะเกิดความเชื่อถือและเรียกใช้ตนกลับมาอีกครั้งแต่ว่าก็ไม่มีข่าวคราวจากราชสำนักกลับมาเลย ชีวิตที่ระหกระเหินของเขาหลายปีทำให้เขามีสุขภาพที่ทรุดโทรมผมเผ้าขาวหงอกสภาพร่างกายไม่ดี วันหนึ่งขณะชวีหยวนกำลังเดินอยู่ริมน้ำก็พบกับชาวเรือที่เข้ามาถามไถ่ว่า "นี่ใช่คุณนางชวีหยวนหรือเปล่าทำไมถึงอยู่ในสภาพแบบนี้" ด้วยความที่เศร้าใจและก็ตรอมใจ เขาก็ตอบว่า "โลกนี้มีแต่ความโสมมมีเพียงเราเท่านั้นที่ยังสดใส ขุนนางในราชสำนักล้วนงมงายมีแต่เราที่จงรักภักดีบริสุทธิ์ใจและเราถูกเนรเทศมาให้ตกระกำลำบากอย่างนี้" ชาวเรือเขาจึงถามอีกว่า "ในเมื่อถ้าผู้คนมีแต่คนที่งมงายทำไมท่านถึงไม่ร่วมไม่เป็นไปอย่างเขาล่ะเพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต้องมาตกระกำลำบากไม่ต้องเป็นคนดีแบบนี้แล้วก็ต้องมาเจอกับความยากลำบากแบบนี้" ชวีหยวนตอบกลับว่า "เรายอมจมลงสู่ก้นแม่น้ำเป็นอาหารของปูปลาดีกว่าแต่จะไม่ยอมให้จิตใจที่บริสุทธิ์ต้องแปดเปื้อนไปกับพวกคนชั่ว" เวลาต่อมาในช่วง 278 ปีก่อนคริสตกาลกองทัพฉินก็ได้มารุกรานรัฐฉู่จนรัฐนี้ได้ล่มสลายไป เขาจบบทกวีสุดท้ายของเขาชื่อว่า หวายฮา ด้วยความทุกข์ใจและเศร้าเสียใจที่บ้านเมืองต้องพังพินาศโดยเขาไม่สามารถทำอะไรได้เลยเขาจึงใช้ก้อนหินถ่วงตัวเองหรือจมลงสู่ก้นแม่น้ำแยงซีเกียงในวันที่ 5 เดือน 5 ร่างของเขาจมลงไปใต้ก้นแม่น้ำ ชาวบ้านแถวนั้นก็พยายามหาตัวเขาอยู่พักใหญ่พยายามค้นหาศพของชวีหยวน เป็นเวลานานหลายวันบางคนก็พาไปจนสุดทะเลสาบแล้วก็ไม่พบร่างของเขาเลย เครดิตภาพ : Freepix ชาวบ้านแล้วชาวเรือก็กลัวว่าจะมีปูปลาจะมีพวกสัตว์น้ำมากินจะกินร่างของเขาก็จึงนำข้าวอาหารของเขาโยนลงไปในน้ำเพื่อให้ปลากินเป็นอาหารให้อิ่มจะได้ไม่กินศพของชวีหยวน ผู้เฒ่าบางคนก็นำเหล้ากำมะถันเทลงไปในน้ำเพื่อมึนเมาสัตว์น้ำ ไม่ให้ไปกินร่างของชวีหยวน ทำเช่นนี้อยู่เป็นเวลานาน จนกระทึ่งเวลาผ่านไป 2 ปีก็มีชาวบ้านคนหนึ่งได้ฝันว่าชวีหยวนเข้ามาเข้าฝันเขามาหาเขาในเครื่องแบบการแต่งกายที่งดงามแล้วมาขอบคุณที่ชาวบ้านโปรยอาหารลงไปเพื่อไม่ให้ร่างของตนโดนกัดกินแล้วก็อาหารเหล่านั้นก็เป็นการเซ่นไหว้ชวีหยวนด้วย เครดิตภาพ : Freepix แต่ชวีหยวนบอกว่าอาหารพวกนี้ก็ไปไม่ถึงเขาค่ะ เป็นอาหารของปลาไปหมดเลยเขาจึงแนะนำว่าให้ห่อด้วยใบไผ่ก่อนโยนลงน้ำจะได้จมลงไปถึงเขา ในปีถัดมาชาวบ้านก็ทำตามคำแนะนำของชวีหยวนค่ะ แต่ว่าเขาก็ยังกลับมาเข้าฝันอีกค่ะแล้วก็บอกว่าครั้งนี้เขาก็ได้รับเครื่องเซ่นไหว้มากกว่าเดิมแล้ว แต่ยังถูกสัตว์น้ำแย่งกินไปบางส่วนอยู่ดี ชาวบ้านก็อยากให้เขาได้กินอย่างอิ่มหนำสำราญก็ต้องขอคำแนะนำว่าจะทำยังไงดี ที่จะให้ได้กินอย่างเต็มที่ เขาจึงแนะนำว่า งั้นให้เอาเครื่องเซ่นไหว้ลงเรือที่แกะสลักเป็นรูปพญามังกร สัตว์น้ำจะได้ไม่กล้ากินเพราะว่าเห็นว่าเป็นเครื่องเซ่นไหว้ของพญามังกร หลังจากนั้นก็จึงเกิดเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปี ชาวบ้านบริเวณนั้นก็จะทำการรำลึกถึงชีวิตด้วยการพายเรือไปบนแม่น้ำแยงซีเกียงด้วยเรือมังกรและก็โยนข้าวเหนียวปั้นหรือว่าเทเหล้ากำมะถันไปตรวจเป็นประเพณีสืบต่อมามีกัด การทำเรือมังกรจะมีการแข่งเรือมังกรด้วยค่ะแล้วก็ยังมีการเซ่นไหว้เจ้าด้วยเครื่องต่างๆอย่างขนมบ๊ะจ่างและเหล้ากำมะถันสืบต่อมานะคะนี่ก็เป็นเรื่องราวของตำนานขนมบ๊ะจ่างนะคะว่าเป็นมายังไงนอกจากนี้ยังมีอยู่อันขนมบ๊ะจ่างและการแข่งเรือมังกรก็ยังกลายมาเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่เกิดการจัดเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของการทำเรือมังกรและแข่งเรือมังกรจนกระทั่งได้ไปโอลิมปิกก็เลยทีเดียวล่ะค่ะ ปัจจุบันเทศกาลตวนอู่ก็ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางถึงนานาประเทศ บ๊ะจ่างได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้ค่ะ จบกันไปแล้วสำหรับเรื่องราวตำนานของชีหยวน และ ที่มาของเทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง อันที่จริงแล้วเราก็ยังมีเรื่องราวจะเสริมอีกนะคะ มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทศกาลของจีนได้บอกเอาไว้ว่าจริง ๆ แล้วการไหว้ขนมบ๊ะจ่างอาจจะไม่ได้เกิดจากเรื่องราวของชวีหยวนเดียวนะ อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่าเป็นการห่อข้าวแบบชาวโบราณที่สะดวกพกพาง่ายแล้วก็ไม่เสียอีกด้วย ซึ่งเทศกาลตวนอู่จัดในช่วงเวลาของฤดูร้อนพอดีอาจจะกี่ยวโยงกันกับวิถีชีวิตการถนอนอาหารที่กินได้นาน นอกจากนี้ด้านความเชื่อช่วงเวลาขึ้น 5 ค่ำเดือน เหรียญ 5 คนจีนมีความเชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่ปีศาจมีพลังอำนาจมากจึงต้องไหว้แล้วก็บูชาเทพเจ้าและกำมะถันให้มาปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไป ก็อาจเป็นประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกันว่าขนม บ๊ะจ่างจริงๆแล้วมีที่มาจาก ตำนานที่อาจเป็นเรื่องจริง หรือเพราะ วิถีชีวิตความเชื่อของคนกันแน่? แต่ว่ายังไงก็ตามค่ะเรื่องราวของชวีหยวนก็ยังเป็นตำนานที่ชวนให้ระลึกถึงบุรุษมหากวีผู้มีจิตใจรักชาติเป็นคนดีคนหนึ่งในประวัติศาสตร์และก็สร้างคุณูปการเอาไว้ให้กับลูกหลานในเวลาต่อมา เรายังได้นึกถึงเขามาจนถึงทุกวันนี้และหากพูดถึงขนมจากชื่อของเขาก็คงจะเป็นชื่อแรก ๆ ที่ชาวจีนนึกถึงความดีของเขาอยู่ดีค่ะ เครดิตภาพโดยผู้เขียน : Thitha บทความนี้เป็นบทความที่เขียนขึ้นมาจากเนื้อหาพอดแคสต์ที่นักเขียนเคยทำเอาไว้ ชื่อช่องว่า ข้าวหนม.mp3 เป็นช่องยูทูปที่จะมาเล่าถึงเรื่องราว ตำนานหรือเกร็ดที่น่าสนใจของขนมมาเล่าต่อให้สนุกขึ้นสามารถไปติดตามกันได้นะคะ Youtube : ข้าวหนม .mp3 Facebook : Kha:w-nom.mp3 Instagram : khawnom.mp3 เครดิตภาพจากผลงานเพจของผู้เขียน thitha. Kha:w-nom.mp3