9 วิธีเลือกแก้วมังกรอร่อย สด มีรสชาติดี / บทความโดย Pchalisaแก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีลักษณะโดดเด่นค่ะ เป็นพืชในตระกูลกระบองเพชร มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและแพร่หลายไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย โดยผลมีลักษณะเป็นทรงกลมรี เปลือกหนา มีสันเหลี่ยมทู่ๆ เรียงรายทั่วผิว เปลือกมีสีสันหลากหลาย เช่น สีแดง สีชมพู สีเหลือง ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีเนื้อมีสีขาวหรือสีแดง มีเมล็ดเล็กๆ สีดำกระจายอยู่ทั่วไป ให้รสชาติหวานและอมเปรี้ยวค่ะและคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? การเลือกแก้วมังกรสดใหม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะส่งผลต่อรสชาติที่เราจะได้รับ เมื่อเราเลือกแก้วมังกรที่สดใหม่มาได้ จะได้แก้วมังกรที่มีรสชาติหวาน หอมและฉ่ำน้ำ ทำให้ทานได้อร่อยมากขึ้นค่ะ เพราะแก้วมังกรแบบนี้มักเนื้อแน่น ไม่เละ ตลอดจนแก้วมังกรแบบนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานกว่า เมื่อเทียบกับว่าเลือกแก้วมังกรที่สุกเกินไปหรือใกล้จะเสียนะคะ และต่อไปนี้คือเทคนิคเลือกแก้วมังกรสดใหม่และอร่อยค่ะทุกคน1. ดูสีเปลือกแก้วมังกรสดใหม่และอร่อยนั้นเป็นแบบนี้ค่ะ คือ เปลือกแก้วมังกรที่สุกดีจะออกสีแดงเข้มทั่วผล โดยเฉพาะบริเวณปลายผล ถ้ามีสีเขียวปนอยู่มาก แบบนี้แสดงว่ายังไม่สุกดี และรสชาติอาจจะเปรี้ยวมากกว่าที่ควรจะเป็นด้วย ดังนั้นให้มองหาแก้วมังกรที่เปลือกด้านนอกแดงให้มากที่สุดค่ะ สำหรับแนวทางนี้ผู้เขียนก็ใช้ค่ะ แต่มักหวานอมเปรี้ยว เลยเลือกแก้วมังกรแบบมีเปลือกสีแดงเป็นส่วนมาก แต่ยังมีสีเขียวบางเล็กน้อยค่ะ2. สังเกตกลีบคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? แก้วมังกรอร่อยๆ เราสามารถสังเกตที่กลีบได้ โดยแก้วมังกรที่สุกสวยพอดีทานนั้น กลีบจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงเรื่อๆ หรือแดงเข้มจนถึงปลายกลีบค่ะ3. สัมผัสผิวเวลาเราเลือกแก้วมังกรนะคะ ให้เลือกแก้วมังกรที่มีผิวสัมผัสแบบเนียนเรียบ ผิวนิ่ม ผิวไม่ยุบ และผิวไม่มีรอยช้ำค่ะ เพราะแก้วมังกรแบบนี้เท่านั้นที่จะให้รสชาติอร่อย เนื่องจากสดและใหม่ จึงดีต่อการนำมาทานและคุ้มค่าต่อการซื้อมาค่ะ4. ดูน้ำหนักหากต้องไปซื้อแก้วมังกรหรือเก็บแก้วมังกรนะคะ ให้ยกผลของแก้วมังกรเพื่อประเมินน้ำหนักดู โดยแก้วมังกรที่สุกและอร่อยๆ นั้น ผลของแก้วมังกรมักจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก และเมื่อเคาะเบาๆ จะได้ยินเสียงทุ้มๆ ค่ะ5. เลือกขนาดที่เหมาะสมอะไรที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป ก็ไม่ดีค่ะ ที่พอดีๆ คือต้องพอดี และแก้วมังกรขนาดกลางมักจะมีรสชาติหวานกลมกล่อม ซึ่งถ้าเผลอไปเลือกผลใหญ่เกินไป แบบนี้อาจจะหวานจัดเฉพาะตรงกลาง ส่วนรอบๆ อาจจะจืดหรือเปรี้ยวได้นะคะ พอจะมองภาพออกไหม?6. ดูเกล็ดโดยคำว่า “เกล็ด” นี้ เป็นคำที่นำมาใช้เพื่อทำให้มองเห็นภาพมากขึ้นเท่านั้นนะคะ ซึ่งเราหมายถึงลักษณะของเปลือกของผลแก้วมังกรด้านนอก ที่มีลักษณะหยิกเป็นลอน หรือมีปุ่มปมเล็กๆ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพันธุ์นั้นๆ ที่บางสายพันธุ์อาจมีลักษณะเป็นเส้นๆ เนื่องจากมีเมล็ดที่กระจายตัวไม่เท่ากัน จึงทำให้มองดูเหมือนมีเกล็ดค่ะ และแก้วมังกรเนื้อแดง เกล็ดด้านนอกจะหยิก ส่วนแก้วมังกรเนื้อขาว เกล็ดจะเรียบค่ะ7. ดมกลิ่นความสุกตามธรรมชาติของผลไม้ก็มักมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ค่ะ และแก้วมังกรสุกก็จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เหมือนกัน ดังนั้นให้ใช้การดมกลิ่นมาเป็นตัวช่วยในการเลือกแก้วมังกรที่อร่อยๆ ค่ะ8. สังเกตก้านในบางครั้งพอเราต้องไปเลือกแก้วมังกรที่ตลาด เราอาจเห็นก้านแก้วมังกรติดมาด้วยนะคะ และแก้วมังกรแบบอร่อยดีและสดใหม่ ก้านที่ว่านี้จะต้องดูอวบน้ำและไม่เหี่ยวเฉาค่ะ9. เลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือเทคนิคนี้ผู้เขียนใช้บ่อยค่ะ และใกล้เคียงกับการเลือกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ก็คือ การซื้อแก้วมังกรจากคนในชุมชนหรือจากสวนโดยตรงค่ะ เพราะการเลือกซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐาน หรือตลาดสดที่มีการคัดสรรผลไม้เป็นอย่างดี แบบนี้เราก็จะได้แก้วมังกรที่สดใหม่และอร่อยมาง่ายๆ เหมือนกันค่ะ ปกติผู้เขียนมักซื้อจากคนในพื้นที่ถ้ามีมาขาย ส่วนที่ตลาดมักเลือกแก้วมังกรจากที่มีชาวบ้านนำมาขายค่ะก็จบแล้วค่ะ สำหรับวิธีเลือกแก้วมังกรที่มีคุณภาพ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ? และวิธีการที่ผู้เขียนใช้บ่อย คือ มักดูผิวด้านนอกที่ต้องมีสีแดง เลือกลูกพอดีๆ มือ ที่ไม่ใหญ่เกินแกงค่ะ กับซื้อจากคนรู้จัก และอีกแนวทางที่เป็นไปได้สำหรับผู้เขียน ก็คือ ปลูกแก้วมังกรไว้ทานเองที่บ้านค่ะ ซึ่งวิธีการนี้ก็ทำให้ได้แก้วมังกรสด ใหม่และรสชาติอร่อยจริงๆยังไงนั้นคุณผู้อ่านลองนำแนวทางในบทความนี้ไปปรับใช้กันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😁เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaเกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูลจบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://intrend.trueid.net/post/428987 https://food.trueid.net/detail/7DBYW9rxAr4g https://intrend.trueid.net/post/462847เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !