ตั้งแต่เด็กเราถูกปลูกฝังมาว่าอยากตัวสูงต้องดื่มนม เพราะมันมีแคลเซียมสูง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า โลกนี้ยังมีอาหารที่มีแคลเซียมสูงนอกจากนมอยู่อีกมากมายหลายชนิด และวันนี้ผมจะมาแนะนำสุดยอดอาหารแคลเซียมสูง 3 อย่างที่คุณสามารถทานได้ตามชอบ ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นต้องติดตามกันต่อไปครับ รับรองว่าถูกใจคนแพ้นมแน่นอน 1. งาดำ รับประทานขำ ๆ แต่ดันได้แคลเซียมมากกว่านมหลายเท่าตัว ใช่แล้วหละครับคุณอ่านไม่ผิด เจ้างาดำที่เราเห็นโรยอยู่บนขนมปัง หรือของหวานตรุษจีนนั่นแหละ คือแหล่งอุดมไปด้วยแคลเซียมอย่างดี ที่ร่างกายต้องการ นับเป็นแคลเซียมจากพืชที่เหมาะสำหรับคนแพ้นม ใครแพ้นมแต่อยากได้แคลเซียม งาดำช่วยคุณได้ครับ และนอกจากงาดำแล้วยังมีธัญพืชอีกหลายชนิดที่มีแคลเซียมในปริมาณสูง ตัวอย่างเช่น เมล็ดเจีย, เมล็ดเฟล็กซ์ หรือแม้กระทั่งงาขาวเพื่อนบ้านก็มีปริมาณแคลเซียมสูงเช่นเดียวกัน ว่าไงหละมื้อหน้านี้มีเมนูงาดำในใจแล้วหรือยัง ถ้ายัง ก็เริ่มหาได้แล้วนะ ที่มาภาพ: https://pixabay.com/photos/spices-background-sesame-3331974 2. ผักใบเขียว เคี้ยว ๆ กลืน ๆ ได้แคลเซียมตรึมนะจะบอกให้ ทลายความคิดเดิม ๆ ที่คิดว่าแคลเซียมมีมากในนม เพราะผักใบเขียวอย่าง ผักคะน้า, บรอกโคลี, ตำลึง, ใบยอ, ผักกระเฉด, ใบชะพลู, ผักสะเดา ฯลฯ เป็นผักที่มีปริมาณแคลเซียมสูงมาก ๆ เพื่อน ๆ คนไหนที่ชอบทานผักสามารถนำผักเหล่านี้ไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูตามความชอบ เช่น ผัดตำลึงหมูกรอบ, ผัดผักกระเฉดไฟแดง, ผัดคะน้าน้ำมันหอย, สะเดาน้ำปลาหวาน เป็นต้น ตอนนี้เราไม่ต้องดื่มนมก็ได้แคลเซียมแล้วเห็นไหมหละ ที่มาภาพ: https://pixabay.com/photos/kale-kohl-vegetables-food-healthy-4642858 3. เนื้อปลาว่าดีมีแคลเซียม แถมเนื้อนุ่มเนียนอร่อยลิ้น สำหรับปลาที่ขึ้นชื่อว่ามีแคลเซียมในปริมาณสูง ได้แก่ ปลาข้าวสาร, ปลาซาร์ดีน, ปลากะตัก รวมทั้งปลาตัวเล็ก ๆ ที่เราสามารถรับประทานได้ทั้งตัวแบบไม่ต้องคายก้าง ปลาเหล่านี้หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า และตลาดบางแห่ง เมนูปลาที่แนะนำเช่น ยำปลาข้าวสารสามรส, ปลาข้าวสารผัดน้ำพริกเผา, ปลากะตักทอดกรอบ, ยำปลากระป๋อง (ปลาซาร์ดีน) เป็นต้น คนชอบทานปลายิ้มเลยหละสิ ที่มาภาพ: https://pixabay.com/photos/food-salmon-teriyaki-fish-eat-712665 อาหารทั้ง 3 อย่างนี้ สามารถทำทานที่บ้านได้ทุกวัน แต่แนะนำว่าอย่าให้เค็มจัด หรือเผ็ดจัดจนเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อระบบการทำงานของไตแทนที่จะได้แคลเซียม กลับได้ผลข้างเคียงจากอาหารเหล่านี้แทน แหล่งข้อมูล: https://health.kapook.com/view99508.html +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ * หมายเหตุ แหล่งที่มาบทความในบางครั้งมาจาก - ประสบการณ์ตรง - การอ่านในหนังสือในอดีต ซึ่งจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าหนังสือชื่ออะไร - การไปยืนอ่านหนังสือในร้าน Se-ed แล้วจำมา - การดูโทรทัศน์แล้วจำมา - การฟังรายการวิทยุแล้วจำมา - อ่านจากอินเตอร์เน็ต - Youtube ฯลฯ