ข้าวเม่าทรงเครื่อง คือข้าวอะไร ทำมาจาก รสชาติแบบไหน | บทความโดย Pchalisa ของทานเล่นที่หาได้เฉพาะตามฤดูกาลเท่านั้นมีหลายอย่างที่น่าสนใจ และข้าวเม่าทรงเครื่องเป็นเมนูหนึ่งที่ผู้เขียนชอบค่ะ ด้วยราคาที่เริ่มต้นถูกมาก เพียงถุงละ 20 บาท ประกอบกบความหอมอร่อยที่หาได้ยากจากของทานเล่นชนิดอื่น ซึ่งข้าวเม่าทรงเครื่องหลายคนอาจเคยยเห็นผ่านตามาบ้าง ที่บางคนก็กล้าทดลองซื้อมาทาน แต่ในขณะที่อีกหลายๆ คนก็ได้แค่คิดและมองผ่านตาเท่านั้น แต่ผู้เขียนไม่ใช่คนแบบนั้นค่ะ เพราะการทานข้าวเม่าทรงเครื่องเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วในชีวิต ที่เห็นตอนไหนเป็นต้องซื้อมาทานค่ะ เพราะผู้เขียนรู้มาว่าข้าวเม่าทรงเครื่องเป็นของทำยาก และถ้าจะพูดว่าหายากด้วยก็ไม่น่าจะผิด ส่วนยากตรงไหน ยากแบบไหน มีที่มาอะไรยังไง ซึ่งเรื่องนี้แม่ของผู้เขียนบอกเล่าต่อให้ฟังมาหมดแล้วค่ะ เลยมองภาพออก ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่า รสชาติของข้าวเม่าเป็นยังไง ทำมาจากข้าวอะไร และที่เรียกว่าข้าวเม่าคือข้าวอะไรกันแน่ งั้นเรามาอ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ ดังนี้ ข้าวเม่าเป็นอาหารว่างหรือขนมหวานที่ทำจากข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดค่ะ ที่ต้องนำมาคั่วแล้วตำให้เปลือกแตกหลุดออกไป มีลักษณะแบน นุ่มและมีสีออกเขียวค่ะ ที่อะไรก็มาลอกเลียนแบบไม่ได้ค่ะ ข้าวเม่าทำมาจากข้าวเหนียวค่ะ แต่ไม่ใช่ข้าวเหนียวที่สุกแก่รวงสีเหลืองทองอร่ามนะคะ แต่จะเป็นข้าวเหนียวที่ยังอ่อนอยู่หรือที่เรียกว่าข้าวห่าม หรือที่คนรุ่นเก่ารู้กันดีว่าเป็นข้าวฮ่างค่ะ และเหตุผลที่ว่าทำไมต้องใช้ข้าวห่าม มีดังนี้ ความนุ่ม: ข้าวห่ามจะมีเนื้อที่นุ่มกว่าข้าวเหนียวสุกแก่ ทำให้เมื่อนำไปคั่วหรือตำแล้ว จะได้ข้าวเม่าที่มีเนื้อสัมผัสที่นุ่มและอร่อย รสชาติหวานมัน: ข้าวห่ามจะมีรสชาติที่หวานมันมากกว่าข้าวเหนียวสุก ทำให้ข้าวเม่ามีรสชาติที่อร่อยเป็นเอกลักษณ์ โดยคนที่เขาทำข้าวเม่าเป็น เขาจะมีทักษะและความรู้ในการเลือกข้าวที่มีอายุที่เหมาะสม เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมากในการทำข้าวเม่าค่ะ จะที่บอกว่าการทำข้าวเม่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่แค่เพียงบางคนมีทักษะและความสามารถนี้ก็ได้ค่ะ ซึ่งถ้าเราสามารถเลือกข้าวที่มาทำได้ดีแล้วนั้น สิ่งนี้จะส่งผลต่อรสชาติและคุณภาพของข้าวเม่าที่ได้เป็นอย่างมากค่ะ ที่ข้าวเม่ามักจะใช้ข้าวที่มีลักษณะต่อไปนี้ ข้าวเหนียวที่อยู่ในระยะแป้งอ่อน: ที่โดยทั่วไปแล้วจะเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวมีอายุประมาณ 50-60% ของอายุการเก็บเกี่ยวทั้งหมด หรือหลังจากดอกข้าวบานไปแล้วประมาณ 15-20 วัน ซึ่งข้าวในช่วงนี้จะมีเนื้อในนุ่ม มีแป้งอ่อน ทำให้เมื่อนำมาคั่วแล้วจะได้ข้าวเม่าที่มีรสชาติหอมหวาน และมีความเหนียวหนึบค่ะ หลีกเลี่ยงข้าวอ่อนเกินไปหรือแก่เกินไป: ข้าวอ่อนเกินไป: จะทำให้เมล็ดข้าวแตกง่ายขณะคั่ว และข้าวเม่าที่ได้จะมีรสชาติจืดชืด ข้าวแก่เกินไป: เมล็ดข้าวจะแข็ง เนื้อในแข็ง ทำให้ข้าวเม่าที่ได้มีความแข็ง ไม่นุ่ม และรสชาติไม่อร่อยนะคะ และวิธีสังเกตข้าวที่อยู่ในระยะแป้งอ่อน สังเกตสีของเปลือกข้าว: เปลือกข้าวจะมีสีเขียวอ่อน และยังไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล สังเกตเนื้อในของข้าว: เมื่อนำเมล็ดข้าวมาตัดดู เนื้อในจะยังคงมีความอ่อนนุ่ม และมีสีขาวขุ่น สำหรับคนที่ยังไม่เคยทานข้าวเม่าทรงเครื่องนั้น ต้องบอกว่าของจริงอร่อยค่ะ เพราะรสชาติของข้าวเม่านั้นขึ้นอยู่กับวิธีการทำและส่วนผสมที่ใส่ลงไปนะคะ ที่ข้าวเม่าทรงเครื่องแบบใส่น้ำตาลและมะพร้าวขูดคือเมนูที่ผู้เขียนชอบมากที่สุดค่ะ ที่โดยทั่วไปแล้วข้าวเม่าจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนี้ หอมมัน: มาจากกลิ่นของข้าวเหนียวที่คั่วใหม่ๆ และความหอมมันของมะพร้าวขูด หวานเค็ม: จากการปรุงรสด้วยน้ำตาลและเกลือ เหนียวหนึบ: จากเนื้อสัมผัสของข้าวเหนียวที่คั่วจนกรอบและนำมาปรุงรส ทำให้มีความเหนียวหนึบตอนเคี้ยว นอกจากนี้รสชาติของข้าวเม่า ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบส่วนบุคคล เช่น หวานมาก หวานน้อย: ปรับปริมาณน้ำตาลได้ตามชอบ เค็มมาก เค็มน้อย: ปรับปริมาณเกลือได้ตามชอบ เพิ่มรสชาติอื่นๆ: เช่น ใส่กุ้งแห้งเพื่อเพิ่มรสชาติเค็มๆ หวานๆ หรือใส่ถั่วลิสงเพื่อเพิ่มความกรุบกรอบค่ะ และปัจจัยที่ส่งผลต่อรสชาติของข้าวเม่ายังมีอย่างอื่นอีก ได้แก่ ชนิดของข้าว: ข้าวเหนียวที่ใช้ทำข้าวเม่ามีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป วิธีการคั่ว: การคั่วข้าวเหนียวให้พอดีจะทำให้ได้ข้าวเม่าที่มีรสชาติหอมอร่อย วิธีการปรุงรส: การปรุงรสด้วยน้ำตาลและเกลือจะช่วยให้ข้าวเม่ามีรสชาติที่กลมกล่อม ในบางครั้งเราอาจเห็นข้าวเม่าที่ยังไม่ได้ปรุงถูกนำมาวางขายด้วย ที่จะเหมาะสำหรับคนที่อยากนำไปปรุงรสเองหรือนำไปทำเมนูอื่นๆ ตามที่ตัวเองสนใจ ซึ่งลักษณะของข้าวเม่าที่ยังไม่ปรุงเราจะมองเห็นเมล็ดข้าวแบน มีสีอ่อนและดูแห้งค่ะ ที่แบบนี้ก็เรียกสั้นว่าข้าวเม่า แต่ข้าวเม่าแบบนี้เป็นข้าวที่เกิดจากการโขลกให้เปลือกหลุดออก และภาษาของคนทำข้าวเม่าจะเรียกขั้นตอนนั้นว่า “การตำข้าวเม่า” โดยข้าวเม่าแบบโขลกที่ได้มานั้น เป็นวิธีการทำข้าวเม่าแบบดั้งเดิมค่ะ ที่ให้รสชาติและเนื้อสัมผัสที่แตกต่าง ที่จะได้ข้าวเม่าที่มีความนุ่มและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวค่ะ ข้อดีของข้าวเม่าแบบยังไม่ปรุง รสชาติหอมมัน: มีกลิ่นหอมของข้าวเหนียวจากที่โขลกมาใหม่ๆ เนื้อสัมผัสแตกต่าง: มีความนุ่มและไม่แข็ง นำไปทำได้หลายเมนู เช่น ข้าวเม่าคลุก: สามารถนำมาคลุกข้าวเม่ากับมะพร้าวคั่ว น้ำตาล และเกลือ ข้าวเม่าทอด: นำข้าวเม่าไปชุบแป้งทอด ข้าวเม่าบด: นำข้าวเม่ามูนที่นำไปผสมกับกะทิ น้ำตาลและเกลือ ซึ่งเมนูที่หลายคนอาจเคยทานมาบ้างจากข้าวเม่าแบบยังไม่ปรุง น่าจะเป็นข้าวเม่าทอดที่มีกล้วยอยู่ด้านในค่ะ ที่ผู้เขียนก็ได้มีประสบการณ์ทานมาด้วยเหมือนกัน แต่ก็อย่างที่บอกค่ะว่า โดยส่วนตัวแล้วชอบข้าวเม่าทรงเครื่องมากที่สุด เพราะได้เคี้ยวเพลินดีและชอบความหอมมันที่อร่อยแบบลงตัวค่ะ หากคุณผู้อ่านสนใจทานข้าวเม่าทรงเครื่องก็สามารถหาซื้อทานได้ เช่น ที่ตลาด ที่งานวัด งานไหม งานเกษตร งานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เพราะนอกจากจะได้ทานเมนูที่ทำเองได้ยากแล้ว ยังถือว่าเป็นการสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยค่ะ ที่ผู้เขียนเองก็หาโอกาสทานข้าวเม่าทรงเครื่องทุกปีเหมือนกัน และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/EnbJvyNdWaPn https://food.trueid.net/detail/qEDdADaJZx6E https://food.trueid.net/detail/kBxr2vkooAjV หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !