10 ผักพื้นบ้าน จิ้มน้ำพริก ถูกปาก อร่อยทุกคำ | บทความโดย Pchalisa ผักพื้นบ้านหลายชนิดที่สามารถทานกับน้ำพริกได้ รู้ไหมคะว่า สามารถหาได้ง่ายๆ รอบตัวเรานี่แหละค่ะ แต่บางทีเราคิดไม่ออก และทานชนิดเดิมๆ ไปตลอดจนเบื่อ แต่ในบทความนี้เราจะมาเพิ่มรสชาติความอร่อยให้กับมื้ออาหารได้อย่างไม่น่าเชื่อ จากการนำผักพื้นบ้านมาทานกับน้ำพริกค่ะ โดยเฉพาะเมื่อนำมาจิ้มกับน้ำพริกสูตรเด็ด บอกเลยว่าอร่อยจนวางช้อนไม่ลงแน่ค่ะ ส่วน 10 ผักพื้นบ้านที่น่าสนใจจะมีอะไรบ้าง ต้องอ่านต่อให้จบค่ะ ดังนี้ 1. ยอดกระถิน ยอดกระถินเมื่อนำมาทานกับน้ำพริก จะให้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์และอร่อยลงตัวค่ะ โดยยอดกระถินจะมีรสชาติที่เนื้อสัมผัสของยอดกระถินจะให้ความรู้สึกมันเล็กน้อย ซึ่งเข้ากันได้ดีกับความเผ็ดของน้ำพริก และยอดกระถินจะมีรสฝาดเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยตัดเลี่ยนและเพิ่มความอร่อยให้กับน้ำพริกค่ะ อีกทั้งยอดกระถินมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับน้ำพริกมากยิ่งขึ้นนะคะ ดังนั้นเมื่อนำยอดกระถินมาทานคู่กับน้ำพริก รสชาติต่างๆ เหล่านี้จะผสมผสานกันอย่างลงตัว ทำให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อม หวาน มัน เค็ม เผ็ด ครบรส ซึ่งเป็นเสน่ห์ของการทานผักพื้นบ้านคู่กับน้ำพริกแบบไทยๆ ค่ะ 2. ผักอีแปะ ผักอีแปะเป็นผักพื้นบ้านที่มีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์ค่ะ เมื่อนำมาจิ้มกับน้ำพริกแล้วจะให้รสชาติที่อร่อยลงตัวเป็นอย่างมากค่ะ โดยเหตุผลที่ผักอีแปะเข้ากันได้ดีกับน้ำพริกนั้นมีดังนี้ค่ะ รสชาติที่กลมกล่อม: ผักอีแปะมีรสชาติที่หวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เมื่อนำมาลวกสุกแล้ว เนื้อสัมผัสจะนุ่ม และมีรสชาติที่หวานมันขึ้น ซึ่งเข้ากันได้ดีกับความเผ็ด เค็ม และเปรี้ยวของน้ำพริก ทำให้เกิดรสชาติที่กลมกล่อม เนื้อสัมผัสที่แตกต่าง: ผักอีแปะมีเนื้อสัมผัสที่กรอบนอกนุ่มใน เมื่อนำมาเคี้ยวจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากผักชนิดอื่น ทำให้มื้ออาหารน่าสนใจยิ่งขึ้นค่ะ กลิ่นหอมอ่อนๆ: ผักอีแปะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับน้ำพริกได้เป็นอย่างดีนะคะ 3. ฝักกระถิน ฝักกระถินทั้งแก่และอ่อนสามารถนำมาทานคู่กับน้ำพริกได้ค่ะ โดยฝักกระถินอ่อนมักจะให้รสฝาด ในขณะที่ฝักที่ไม่แก่หรืออ่อน แบบนี้เนื้อจะเหนียวเกินไปนะคะ กระถินแบบฝักที่ผู้เขียนทานมักนำมาทานกับน้ำพริก มักเป็นฝักที่ที่แก่ค่ะ เพราะแกะง่ายและไม่มีรสฝาด กระถินฝักแก่สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดนะคะ โดยมีทั้งแบบที่แกะแล้วและแบบติดอยู่ในฝักค่ะ 4. ยอดมะระขี้นก ยอดมะระขี้นกเป็นผักพื้นบ้านที่เมื่อนำมาทานคู่กับน้ำพริก จะได้รสชาติที่กลมกล่อมค่ะ และเหตุผลที่ยอดมะระขี้นกเข้ากันได้ดีกับน้ำพริกนั้นมีดังนี้ค่ะ ได้รสชาติที่ตัดกันอย่างลงตัว จากที่ยอดมะระขี้นกจะมีรสขมเล็กน้อย ซึ่งรสขมนี้จะช่วยตัดความเผ็ดของน้ำพริกได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมและน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และมีเนื้อสัมผัสที่กรอบนุ่ม เมื่อนำยอดมะระขี้นกไปลวกหรือทานสดๆ จะได้เนื้อสัมผัสที่กรอบนอกนุ่มใน ซึ่งจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการทานามากขึ้น และกลิ่นหอมอ่อนๆ ยอดมะระขี้นกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นเอกลักษณ์อีกนะคะ 5. มะเขือขื่น มะเขือแบบนี้เป็นมะเขือพื้นบ้านค่ะ ที่บางทีก็เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติด้วยซ้ำไป มะเขือขื่นส่วนมากมีรสขม ที่บางชนิดมีผิวกรอบแต่ส่วนใหญ่ผิวหยาบค่ะ และต้องใช้มีดมาหั่นให้เป็นชิ้นก่อนนำมาทานกับน้ำพริกค่ะ มะเขือขื่นเมื่อแก่มีสีเหลือง และคนรุ่นเก่าบางคนชอบมะเขือลักษณะอย่างนี้ค่ะ สำหรับผู้เขียนทานมะเขือแบบนี้บางค่ะ และส่วนมากมักทานแค่ผิวด้านนอก เพราะด้านในขมมาก จึงไม่ชอบค่ะ มะเขือขื่นแบบดองยังสามารถพบได้ในผักดองบางชนิดนะคะ 6. ดอกแค หลายคนคุ้นเคยกับดอกแคลวก ซึ่งผักชนิดนี้ผู้เขียนก็ได้ทานเหมือนกันค่ะ ชอบลวกดอกแคแบบไม่ต้องแกะเกสรออกค่ะ เพราะไม่ได้ขมมากค่ะ ดอกแคลวกผู้เขียนมักทานกับน้ำพริกน้ำปลาร้าและน้ำพริกปลาทูเป็นหลักค่ะ ซึ่งดอกแคสีขาวเป็นดอกแคที่ผู้เขียนได้ทานบ่อยมากที่สุดค่ะ 7. ใบชะพลู คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? นอกจากใบชะพลูจะทานกับลาบอร่อยแล้ว ใบชะพลูยังสามารถนำมาทานกับน้ำพริกได้ค่ะ โดยน้ำพริกที่แนะนำนั้นแนะนำเป็นน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกปลาทู น้ำพริกกุ้งเสียบก็ได้ค่ะ ยังไงลองนำไปทานค่ะ เพราะอร่อยได้เหมือนกันโดยเฉพาะใบชะพลูที่อ่อนสักหน่อยนะคะ จะห่อหรือแบบม้วนทานเป็นคำก็ได้ 8. ผักลืมผัว ชื่อนี้เป็นที่สงสัยของใครหลายคนค่ะ โดยคำว่า “ลืมผัว” เป็นคำที่มาบรรยายว่า ผักลืมผัวอร่อยมาก จนลืมที่จะเป็นให้คนใกล้ตัวทานด้วยค่ะ ผักลืมผัวไม่ขมค่ะ แต่กรอบ เคี้ยวเพลินและเข้ากันได้ดีกับน้ำพริกค่ะ โดยผักชนิดนี้เกิดเองตามธรรมชาติตามทุ่งนา และสามารถหาซื้อได้ตามร้านผักพื้นบ้านค่ะ ราคาขายกำละ 5 บาทเท่านั้นเองนะคะ ซึ่งผักชนิดนี้ผู้เขียนหาโอกาสทานทุกปีค่ะ 9. สะเดามาเลย์ ผักชื่อนี้ไม่ขมเหมือนสะเดาค่ะ แต่กลับมีความฝาด โดยเฉพาะยอดที่อ่อน สะเดามาเลย์ทานสดกับน้ำพริกอร่อยค่ะ แต่จะลวกแล้วนำมาทานก็ได้นะคะ และผักชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตลาดค่ะ พอนำมาทานกับน้ำพริกเราจะได้กลิ่นหอมอ่อนๆ ค่ะ 10. ผักติ้ว สำหรับผักติ้วนั้นเวลานำมาทานกับน้ำพริกแนะนำแบบสดค่ะ เพราะรสชาติตอนลวกความเปรี้ยวจะลดลง แบบสดทานกับน้ำพริกอร่อย จากที่ความเปรี้ยวตามธรรมชาติของผักชนิดนี้ มาตัดกันพอดีๆ กับความเผ็ดและความกลมกล่อมของน้ำพริกค่ะ และผักติ้วกับน้ำพริกผู้เขียนทานบ่อยๆ นะคะ เพราะที่นี่มีต้นผักติ้วเองค่ะ เลยง่ายหน่อยตอนอยากได้ผักติ้วมาจิ้มกับน้ำพริกค่ะ ก็จบแล้วค่ะกับผักพื้นบ้านทานอร่อยทุกคำกับน้ำพริก พอจะรู้จักกันบ้างไหมคะ? ซึ่งผักพื้นบ้านทุกชนิดในนี้ผู้เขียนทานมาครบหมดแล้วค่ะ เพราะที่นี่ไม่ยากสำหรับหาผักพื้นบ้าน ประกอบกับโดยส่วนตัวผู้เขียนชอบผักปลอดสารพิษแบบบ้าน เลยง่ายเข้าไปอีกถ้าจะพูดถึงการแนะนำผักบ้านที่ทานกับน้ำพริกแซ่บๆ ค่ะ ก็ลงไปหามาทานกันค่ะ ตามตลาดหลายชนิดมีขายนะคะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/GXZnEQ21q8dX https://news.trueid.net/detail/O0VM3KgWd5yN https://food.trueid.net/detail/oV6QzyzeJwM0 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !