พริกกะเหรี่ยง หรือมูงิส่า (ภาษากะเหรี่ยง) ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปนิยมปลูกกันตามไร่หมุนเวียน เก็บกินได้ตามฤดูกาล พี่น้องชาวกะหรี่ยงมักจะเริ่มหว่านเมล็ดพริกพร้อมข้าวไร่ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ของทุก ๆ ปี จะได้เก็บเกี่ยวผล ในเดือน พฤศจิกายน - มกราคม ของปีถัดไป พริกกะเหรี่ยง มีดีอย่างไร 1. ความเผ็ดที่ร้อนแรง กลิ่นหอมฉุนที่ไม่เหมือนพริกทั่วไปจึงเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของพริกกะเหรี่ยง 2. มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมไม่ว่าแดดจะแรงแค่ไหน ต้นพริกก็ไม่ตาย 3. พี่น้องชาวกะเหรี่ยงนิยมทำเป็นพริกตากแห้งเพราะจากคุณภาพผลสด 3 กิโลกรัม หากนำไปตากแห้งจะได้ประมาณ 1 –1.5 กิโลกรัม 4. ลำต้นใหญ่ แตกแขนงดี สามารถทำให้เก็บผลพริกกินได้เป็นระยะเวลานาน 5. การดูแลรักษาไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยเพราะปลูกตามไร่สภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทำให้ผลพริกดก และไม่เน่าเสียง่าย 6. เป็นแหล่งวิตามินซี มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างสุขภาพ บรรเทาอาการหวัด ลดการอุดตันของเส้นเลือด และหลอดลมอักเสบ การเก็บเกี่ยวพริก พี่น้องชาวกะเหรี่ยงจะแบ่งเก็บพริกกัน 2 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 พริกดิบ(สีเขียว) ผลพริกที่แก่แล้วแต่ยังไม่สุกกลายเป็นสีแดง ชาวบ้านจะเอาไปเก็บรับประทานกินกัน หรือเอาไปขายก็ได้ ช่วงที่ 2 พริกสุก (สีแดง) ผลพริกที่สุกแล้วมีลัษณะเป็นสีแดงเลือดหมูหรือสีแดงสด ชาวบ้านมักจะเด็ดเฉพาะเม็ดที่สุกเพื่อนำเอาไปตากกลางแดดทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ให้พริกแห้ง จนกรอบ แล้วค่อยเอามาเก็บใส่กระสอบเพื่อ เก็บไว้กิน ขาย หรือนำเมล็ดมาเพาะเพื่อนำไปปลูกในปีถัดไป พริกกะเหรี่ยงนำไปสู่การแปรรูป ได้แก่พริกป่น พริกคั่ว ซอสพริก พริกดอง น้ำพริก หรือน้ำจิ้ม น้ำพริกแกง หรืออาหารสำเร็จรูป พริกกะเหรี่ยงกินกับอะไรได้บ้าง ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อนกินกับอะไรก็อร่อย ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงนึกถึงเป็นอันดับแรกเช่น พันท้ายนรสิงห์น้ำจิ้มสุกี้กวางตุ้งสูตรพริกกะเหรี่ยง ที่นำเอามากินเป็นน้ำจิ้ม สุกกี้ หมูกระทะถ้าใครชอบเผ็ด แซบ ๆ อย่างเช่น ส้มตำ ยำต่าง ๆ หรือนำมาคั่วสารพัดน้ำพริก “ลองกินดูหรือยังว่าแซบแค่ไหน ถ้ายัง…ลองดูนะ” แนะนำ พริกขี้หนูจะเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล ตามการปลูกข้าวไร่ของพี่น้องชาวกะเหรี่ยง ถ้าหากซื้อมาอยากเก็บไว้กินนาน ๆ คือ นำพริกขี้หนูแห้ง ใส่ถุงแล้วนำไปใส่ในตู้เย็นชั้นล่างสุดของตู้เก็บผัก จะทำให้เม็ดพริกกรอบตลอดทั้งปี (การเก็บรักษาพริกให้ได้กินนาน ๆ ขึ้นอยู่กับอุณภูมิในการเก็บ) ทุกภาพถ่ายโดย ผู้เขียน