ดอกหอม คืออะไร ทำเมนูไหนได้บ้าง รสชาติอร่อยไหม | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล หลายคนอาจมองภาพยังไม่ออกว่า โดยทั่วไปแล้วต้นหอมจะแทงช่อดอกออกมาเมื่อได้รับแสงแดดเพียงพอและมีอายุมากพอค่ะ ซึ่งมักจะตรงกับช่วงฤดูหนาวหรือปลายฤดูฝนในประเทศไทย เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศเย็นสบายและมีกลางวันสั้นกลางคืนยาวนานขึ้นกว่าฤดูกาลอื่น และลักษณะของดอกต้นหอมจะเป็นช่อเล็กๆ สีขาวอมออกมาจากกลางลำต้น โดยบริเวณดอกนั้นจะออกรวมกันเป็นกลุ่มคล้ายลูกบอลเล็กๆ ค่ะ ที่มีก้านของดอกสีเขียวและแข็งกว่าใบของหอม คือถ้าคุณผู้อ่านมีโอกาสได้เก็บดอกหอมจากต้นหอมจริงๆ นั้น เราจะเห็นร่องรอยของส่วนก้านของดอกหอมที่อยู่กับต้นหอมด้วย และเหตุผลที่ต้นหอมออกดอกในช่วงเวลาที่ได้พูดถึงแล้วนั้น เป็นเพราะว่า เป็นการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม: เมื่อต้นหอมได้รับแสงแดดและอุณหภูมิที่เหมาะสม ต้นจะเข้าสู่ช่วงการสืบพันธุ์ โดยการออกดอกและสร้างเมล็ดก็คือการทิ้งลูกหลานรุ่นต่อไปของต้นหอมค่ะ วัฏจักรชีวิต: เป็นกระบวนการทางธรรมชาติของพืชชนิดนี้ ที่ก็จะคล้ายกับพืชชนิดอื่นที่ออกดอก จากนั้นก็ออกผลและมีเมล็ด อย่างไรก็ตามหากพูดถึงเรื่องการดอกออของหอมในประเด็นที่เกี่ยวกับการเจริญเตอบโตของพืชแล้วนั้น มีสิ่งที่เป็นผลกระทบจากการออกดอกค่ะ ได้แก่ คุณภาพของใบ: เมื่อต้นหอมออกดอก ใบจะแข็งและเหนียว รสชาติจะเปลี่ยนไป ไม่เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหาร พูดง่ายๆ คือ ในสถานการณ์จริงนั้น คนที่ปลูกหอมก็จะไม่เก็บใบหอมในช่วงที่มีดอกมาทำอาหารค่ะ การเจริญเติบโตของหัว: การออกดอกจะทำให้การเจริญเติบโตของหัวชะงักลง และหากต้องการให้ต้นหอมมีใบอ่อนนุ่มและรสชาติอร่อย ควรเด็ดดอกทิ้งทันทีที่สังเกตเห็น ดังนั้นเราจึงพบว่ามีการเก็บดอกหอมออกมาวางขายกัน และสามารถนำมาเป็นอาหารได้ หรือจะพูดว่าการเด็ดดอกหอมออกจากต้นหอม เป็นการแกล้งต้นหอมไม่ให้แก่เร็วเกินไปนั่นเองค่ะ ที่ก็จะคล้ายกับเราเด็ดดอกของต้นแมงลัก ต้นโหระพา ที่พอเด็ดดอกทิ้งแล้ว พืชจะแตกใบและเขียวงามเหมือนเป็นช่วงหนุ่มสาวนะคะ โดยการเด็ดดอกของแมงลักหรือพืชบางอย่าง เราจะไม่นำมาทำอาหารนะคะ แต่ดอกหอมโชคดีที่สุด เพราะเรายังมองภาพออกว่าจะนำมาทำเป็นอาหารทานได้ประมาณไหน เลยไม่ได้เด็ดทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ค่ะ คุณผู้อ่านรู้ไหมค่ะว่า รสชาติของดอกหอมนั้นขึ้นอยู่กับวิธีการปรุงและชนิดของดอกหอมด้วยนะคะ แต่โดยทั่วไปแล้วดอกหอมสดจะมีรสชาติประมาณนี้ หวานกรอบ: โดยเฉพาะเมื่อนำไปผัดหรือปรุงสุกใหม่ๆ เนื้อสัมผัสจะกรอบ และมีรสชาติหวานเล็กน้อยค่ะ กลิ่นหอมฉุน: มีกลิ่นหอมคล้ายกระเทียม แต่จะอ่อนกว่าและไม่ฉุนเท่า รสชาติเฉพาะตัว: เมื่อนำไปประกอบอาหาร จะช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้อาหารได้เป็นอย่างดีค่ะ จากรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์จึงทำให้พบเห็นการนำดอกหอมสดไปประกอบอาหารค่ะ ที่หลายคนอาจยังมองภาพไม่ออกว่า ดอกหอมสดสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดกับเนื้อสัตว์ เช่น ผัดกับหมู ผัดกับไก่ หรือผัดกับตับ จะช่วยลดกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้อาหาร ใส่ในสลัด เพื่อเพิ่มความกรอบและกลิ่นหอมให้กับสลัด ทำเป็นยำ เช่น ยำดอกหอม จะได้รสชาติที่เปรี้ยวหวานเผ็ดกลมกล่อม นำไปชุบแป้งทอด ก็จะได้ความกรอบนอกนุ่มในค่ะ และคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำดอกหอมมาทำอาหาร คือ ให้เลือกดอกหอมที่มีสีเขียวสดใส ไม่มีรอยช้ำหรือใบเหลือง ล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร โดยให้สะอาดหลายๆ ครั้งค่ะ ปรุงสุกเสมอ เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรปรุงดอกหอมให้สุกก่อนรับประทานนะคะ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า แล้วช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บดอกหอม ซึ่งประเด็นนี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่ปลูกต้นหอมเอง แล้วอยากรู้ว่าควรเก็บช่วงไหน ซึ่งคำตอบของคำถามนี้มีดังนี้ค่ะ เก็บตอนเช้า: เพราะการเก็บดอกหอมตอนเช้าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาความสดใหม่และคุณค่าทางอาหารของดอกหอม หากต้องการนำดอกหอมไปปรุงอาหาร ช่วงเช้าเป็นช่วงที่ดอกหอมมีน้ำค้างเกาะอยู่ ทำให้ดอกหอมสดและมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ช่วงเช้าอากาศยังเย็น ทำให้อุณหภูมิของดอกหอมต่ำกว่าช่วงกลางวันหรือเย็น จึงส่งผลให้กระบวนการสลายตัวของเซลล์ช้าลง ทำให้ดอกหอมสดอยู่ได้นานขึ้น เนื่องจากในช่วงกลางคืน พืชจะสังเคราะห์แสงไม่ได้ ทำให้แป้งที่สะสมไว้ถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเพื่อนำไปใช้ในการดำรงชีวิต เมื่อถึงช่วงเช้า ระดับน้ำตาลในดอกหอมจึงสูงสุด ทำให้ดอกหอมมีรสชาติหวานอร่อยมากขึ้น อีกทั้งน้ำค้างที่เกาะอยู่บนดอกหอมตอนเช้า ทำให้ดอกหอมมีความชุ่มชื้นสูง ช่วยรักษาความสดของใบและลดการสูญเสียน้ำ ทำให้ดอกหอมไม่เหี่ยวเฉาเร็วค่ะ เก็บหลังจากรดน้ำแล้ว: ควรเก็บดอกหอมหลังจากรดน้ำแล้วประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ดินรอบๆ รากแห้งเล็กน้อย เพราะจะช่วยลดการเกิดเชื้อรา การรอให้ดินรอบๆ รากของต้นหอมแห้งเล็กน้อยก่อนเก็บเกี่ยว เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยรักษาคุณภาพของดอกหอมให้สดใหม่และอยู่ได้นานขึ้นค่ะ และเหตุผลที่ทำให้เราต้องรอ ก็เพราะว่าเมื่อรดน้ำให้ต้นหอม ดินรอบๆ รากจะอิ่มตัวไปด้วยน้ำ หากเก็บเกี่ยวทันที ดอกหอมจะเปียกชื้น ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย ทำให้ดอกหอมเน่าเสียได้เร็วขึ้น เชื้อราและแบคทีเรียที่เกิดจากความชื้นส่วนเกิน สามารถทำลายเนื้อเยื่อของดอกหอม ทำให้เกิดจุดด่างดำเน่าเสีย และส่งผลต่อรสชาติและคุณภาพของดอกหอม การลดความชื้นจะช่วยชะลอกระบวนการสลายตัวของเซลล์ ทำให้ดอกหอมสดใหม่และอยู่ได้นานขึ้น วิธีเก็บดอกหอมให้สดนาน การเก็บดอกหอมให้สดนานนั้นมีหลายวิธีค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าคุณผู้อ่านจะนำดอกหอมไปใช้ทำอะไร หากต้องการเก็บดอกหอมไว้ใช้ประกอบอาหารนานๆ ลองใช้วิธีเหล่านี้ดูนะคะ วิธีที่ 1 ห่อด้วยกระดาษ ล้างดอกหอมให้สะอาดและสะเด็ดน้ำ ห่อดอกหอมด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษทิชชู นำไปเก็บในช่องผักของตู้เย็น การห่อด้วยกระดาษจะช่วยดูดซับความชื้นส่วนเกิน ทำให้ดอกหอมคงความกรอบได้นานขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำดอกหอมไปใช้ในเมนูที่ต้องการความกรอบ เช่น ผัด หรือทำยำ และสำหรับผู้ที่ไม่มีตู้เย็น การห่อด้วยกระดาษแล้วเก็บไว้ในที่เย็นและแห้ง ก็สามารถช่วยยืดอายุของดอกหอมได้ในระดับหนึ่ง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก เพราะการห่อด้วยกระดาษเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก สามารถทำได้เองที่บ้านโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษอะไรค่ะ วิธีที่ 2 ใส่ภาชนะปิดสนิท ล้างดอกหอมให้สะอาดและสะเด็ดน้ำ ใส่ดอกหอมลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท นำเข้าตู้เย็น การใส่ดอกหอมลงในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทแล้วนำไปเก็บในช่องผักของตู้เย็นนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บดอกหอมไว้ใช้ในระยะเวลาปานกลาง และต้องการรักษาความสดของดอกหอมให้ได้นานที่สุดค่ะ จากที่ภาชนะปิดสนิทจะช่วยรักษาความชื้นภายใน ทำให้ดอกหอมไม่เหี่ยวเฉาเร็ว ช่วยป้องกันไม่ให้กลิ่นของดอกหอมเล็ดลอดออกมา ทำให้กลิ่นอาหารอื่นๆ ในตู้เย็นไม่เสียด้วย และยังช่วยป้องกันไม่ให้ดอกหอมสัมผัสกับอากาศภายนอก ซึ่งอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน ภาชนะปิดสนิทช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ แต่ว่าอย่าใส่ดอกหอมแน่นเกินไป เพราะการใส่ดอกหอมแน่นเกินไปจะทำให้ดอกหอมช้ำได้ง่าย แลละควรตรวจสอบสภาพของดอกหอมเป็นระยะๆ หากพบว่ามีส่วนใดเน่าเสีย ควรนำออกทิ้งทันที ที่โดยสรุปแล้วการใส่ดอกหอมลงในภาชนะปิดสนิทและเก็บในตู้เย็น เป็นวิธีการเก็บรักษาดอกหอมที่ง่าย สะดวก และได้ผลดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายในการจัดเก็บ และต้องการให้ดอกหอมสดใหม่นานขึ้นค่ะ วิธีที่ 3 แช่ในน้ำ หากต้องการให้ดอกหอมสดกรอบอยู่เสมอ สามารถตัดส่วนโคนของดอกหอมประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำไปแช่ในน้ำสะอาด การตัดปลายรากจะช่วยเปิดช่องทางให้ดอกหอมสามารถดูดซับน้ำได้ง่ายขึ้น ทำให้ดอกหอมคงความสดอยู่ได้นานขึ้น เมื่อดอกหอมได้ดูดซับน้ำอย่างเพียงพอ จะช่วยชะลอการคายน้ำออกจากตัวดอก ทำให้ดอกหอมไม่เหี่ยวเฉา การแช่ในน้ำสะอาดจะช่วยลดโอกาสที่เชื้อราหรือแบคทีเรียจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของดอกหอม ควรมีเปลี่ยนน้ำทุก 1-2 วัน เพื่อป้องกันการเกิดแบคทีเรีย ที่ควรใช้ภาชนะที่สะอาดในการแช่ดอกหอม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค วิธีนี้เหมาะสำหรับดอกหอมที่ต้องการความสดกรอบ และต้องการเก็บดอกหอมไว้ใช้ประกอบอาหารในระยะสั้นๆ ภายใน 2-3 วัน การแช่น้ำเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะถ้านานกว่านั้น หลังจากนั้นดอกหอมอาจจะเริ่มมีกลิ่นเหม็นหรือเน่าเสียได้ค่ะ หากต้องการเก็บรักษาไว้เป็นเวลานานกว่านี้ ก็ควรเลือกวิธีการอื่นจะเหมาะสมกว่า การแช่ในน้ำจะช่วยให้ดอกหอมดูดซับน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ดอกหอมสดและคงความกรอบได้นานขึ้น หากคุณต้องการนำดอกหอมไปใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการความสดใหม่ เช่น สลัด หรือการตกแต่งจานอาหาร วิธีนี้จะช่วยให้ดอกหอมของเราดูสดใสและน่ารับประทานมากยิ่งขึ้นค่ะ และเคล็ดลับเพิ่มเติมที่จะทำให้ดอกหอมของเราสดใหม่ได้อีก คือ ให้เลือกตัดดอกหอมที่มีสีเขียวสดใส ไม่มีรอยช้ำหรือการเน่าเสีย หรือก้านดอกสีเหลืองค่ะ อย่าเก็บดอกหอมไว้ใกล้ผลไม้บางชนิด เช่น แอปเปิล กล้วย เนื่องจากผลไม้เหล่านี้จะปล่อยก๊าซเอทิลีน ที่เป็นก๊าซเร่งกระบวนการสุก และจะทำให้ดอกหอมโดนกระตุ้นและเหี่ยวเฉาได้เร็วขึ้นค่ะ ก็ไม่รู้ว่าคุณผู้อ่านเคยรับประทานเมนูที่มีดอกหอมบ้างหรือเปล่า หากเป็นมือใหม่อยากลิ้มลองรสชาติ แนะนำให้ลองทำผัดดอกหอมใส่ไข่ค่ะ เพราะเมนูนี้ง่ายมากๆ หรือจะเจียวไข่ใส่ดอกหอมหั่นเป็นชิ้นขนาดเล็กก็ได้ค่ะ เมนูนี้ยิ่งง่ายเข้าไปอีก สำหรับผู้เขียนเคยทำอะไรๆ เกี่ยวกับดอกหอมมาหลายอย่างแล้วค่ะ ตั้งแต่เด็ดดอกหอมจากต้นหอมเป็นๆ เลย เลือกซื้อดอกหอม ล้างดอหอกหอม เก็บหอมในตู้เย็น ทำอาหารจากดอกหอม แต่ยังไม่เคยแช่ดอกหอมในน้ำเพื่อรักษาความสดค่ะ เนื่องจากส่วนมากจะซื้อดอกหอมมาพอดี กับเลือกเก็บในตู้เย็นมากกว่า เพราะง่ายดีค่ะ โดยคุณผู้อ่านอาจเริ่มจากไปเดินซื้อดอกหอมจากตลาดมาทำอาหารก่อนก็ได้นะคะ เพราะถ้าจะรอมาปลูกต้นหอมแล้วรอเก้บดอกหอมจากสวนของตัวเองนั้น อาจต้องใช้เวลาหน่อย แต่ก็ไม่ได้เกินความจริงค่ะ เพราะถ้าปลูกหอมแดงรับรองได้เก็บดอกหอมแน่นอน ในขณะที่ถ้ามีหอมชนิดอื่น ไม่ว่าหอมชนิดไหนก็ให้ดอกหอมค่ะ เพราะเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของต้นหอมในการเจริญเติบโต พอจะมองภาพออกไหมค่ะ ยังไงนั้นอย่าลืมนำวิธีเก็บดอกหอมให้สดนานไปประยุกต์ใช้กันนะคะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกโดยผู้เขียนใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน https://food.trueid.net/detail/3rVeBEVmO7KP https://food.trueid.net/detail/dwoeM3z8Dz9W https://food.trueid.net/detail/E38eEqg5nmd2 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !