ถั่วลิสงแปรรูปเป็นขนมถั่วตัด เกิดจากการครูพักลักจำนำมาลอง หนึ่งกระทะสองกระทะเริ่มเข้าที่ ชิมและดูให้เข้าที่อร่อยสม และสุดท้ายกลายเป็นของขายในตลาดชุมชน ส่งความอร่อยให้คนที่ชอบทาน ถั่วลิสงเป็นสินค้าที่มีการปลูกมาตั้งแต่เด็ก ตอนวันหยุดเราจะไปนาเพื่อที่จะถอนและปิดถั่วลิสงเพื่อนำไปขายสร้างรายได้ อะไรที่มีเยอะบ้านนั้นก็ปลูกบ้านนี้ก็ขายจึงทำให้ถั่วลิสงล้นตลาด สิ่งที่จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นั้นคือการแปรรูปอาหารให้น่ารับประทานมากขึ้นเก็บได้นาน และรสชาติอร่อย และสามารถที่จะเก็บไว้ทานได้นาน สรรพคุณหลายอย่างของถั่วลิสงช่วยให้แร่ธาตุอาหารกับร่างกาย ทำให้หัวใจแข็งแรง ขนมถั่วตัดนี้ ถามว่าได้สูตรมาจากไหน คำตอบคือได้จากการดูในงานแสดงสินค้า แล้วมีการทำขายด้วยความที่เป็นลูกค้าและมีความสนใจ จึงไปไปดูวิธีทำ และจำกลับมาทำที่บ้าน ด้วยการลองผิดลองถูก จนสำเร็จออกมาแบบนี้ การทำให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียวไม่ได้แล้วถอย แต่มันคือการทำแล้วหาข้อบกพร่องว่าที่ไม่ได้เพราะอะไร ทำจนกว่าจะได้นี่คือการเรียนรู้และสำเร็จผล ขั้นตอนในการทำขนมนั้นไม่ง่ายเลย และในการทำนั้นบางครั้งต้องเสี่ยงว่า ขนมนั้นจะเป็นเกาะติดกันเป็นขนมถั่วตัดหรือไม่ บางครั้งวัตถุดิบไม่เพียงพอ ผิดขั้นตอนอาจทำให้ขนมไม่เกาะกันเป็นแผ่น แบะแซและขนมแยกจากกัน ก็ต้องเริ่มทำใหม่อีกหม้อ หม้อที่เสียไปนั้นผู้ทำก็ตอบไม่ได้เหมือนกันว่าเพราะสาเหตุอะไร ซึ่งมีการทำเหมือนกันทุกขั้นตอน ทำไมไม่เป็น ปริมาณวัตถุดิบนั้นอยู่ที่การคำนวณด้วยสายตา เพราะการทำนั้นไม่ได้หวังผลกำไร ทำกิน ทำให้กับพี่น้องที่ต้องการนำไปทำบุญบ้าง นำไปกินบ้าง ขอเพียงแต่ซื้อวัตถุดิบมายายจะเป็นคนทำให้ บางครั้งทำเพื่อไปช่วยงานบุญ แต่คนทำนั้นทานไม่ได้เพราะว่ากลัวว่าเบาหวานจะขึ้นเพราะว่าขนมนี้มีน้ำตาลและแบะแช การเตรียมวัตถุดิบแรกคือการกระเทาะเปลือกของถั่วลิสงออก แยกเปลือกกับเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งหลังจากที่คัดเลือกเสร็จแล้วก็ต้องนำถั่วลิสงไปคั่วในกระทะด้วยไฟอ่อนให้สุกพอประมาณ หลังจากเมล็ดถั่วลิสงสุข จะนำมากระเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดออก และนำพัดลมมาเป่า หรือใช้อุปกรณ์ช่วย ทำให้แตกหรือแบ่งครึ่ง ต้องใช้เวลาสามสิบนาทีหรือมากกว่านั้น บางทีกระเทาะเปลือกหนึ่งวัน อีกหนึ่งวันค่อยได้กวนขนม ใส่กระทะเพื่อคั่ว โดยใช้ไฟอ่อนๆ ในการคั่วนั้นจะต้องให้ถั่วลิสงสุก ถ้าหากไม่สุกจะไม่มีความกรอบ ในการเลือกถั่วลิสงก็มีความสำคัญ ถ้าหากว่าเลือกถั่วลิสงที่มันไม่ค่อยจะเต็มเม็ดหรือถั่วลิสงเก่า อาจจะทำให้ขนมมีกลิ่นไม่อร่อย หรือบางทีทานไปแล้วเค็ม ขม เสียรสชาติของความอร่อยไป หลังจากที่คั่วเสร็จ จะนำมานวดเพื่อให้เปลือกหุ้มหลุดออก นั่งทำทีละเม็ด จนกว่าจะแตกทั้งหมด นวดหลุดออกแล้วต้องนำไปฝัดออก ทำเหมือนการฝัดข้าว ให้กากของเมล็ดถั่วลิสงหลุดออกไป จนหมด แล้วคัดเลือกเก็บไว้ในภาชนะที่พร้อมทำขนมต่อไป ขนมถั่วตัดทั่วไปนั้น เพื่อให้ได้กำไรในการขาย จะมีการใส่ข้าวเหนียวแทน เพื่อให้มีจำนวนให้มากขึ้น จึงทำให้เวลาที่ทานนั้นจะไม่ค่อยมีกลิ่นหอมของแบะแช และงา ถั่วลิสงก็จะลดจำนวนลง ทำให้ถั่วไม่ค่อยกรอบสด แต่สำหรับยายทำนั้นไม่มีส่วนผสมของข้าว มีแบะแช น้ำตาลและเกลือเท่านั้นจึงอร่อยกว่าที่ขายในตลาด เมื่อกวนด้วยความร้อนที่สม่ำเสมอ จนเหนียวข้น จากนั้นนำมาเทในงาที่เตรียมไว้ ความร้อนตอนนี้คือทั้งร้อนทั้งเหนียว เมื่อเทเสร็จจะนำขวดแก้วที่เตรียมไว้มานวด ให้แบบเป็นแผ่นเตรียมสำหรับที่จะตัด ถ้าเรามองไปที่ขนมในตอนที่ยกลงจากไฟในครั้งแรก จะเห็นความเดือดของขนมที่น้ำตาลผสมกับแบะแช และเหนียว เทลงไปในงาที่คั่วสุกแล้ว ในการนวดนั้นจะต้องเป็นคนที่เคยทำ เพราะถ้าไม่เคยทำนั้นอาจจะทำให้ ขนมไม่เสมอ และแผ่นหนาไม่เท่ากัน ต้องทันเวลาจึงจะอร่อย ขอบของงาที่เหลือจากการทำสามารถที่จะนำมาทำได้อีกรอบ แต่ในส่วนของแบะแชนั้น ถ้าหากว่าเปิดถุงแล้วจะต้องทำให้หมด เพราะถ้าหากว่าทิ้งไว้และนำกลับมาทำใหม่ อาจทำให้ขนมทำไม่สำเร็จ ในส่วนผสมน้ำตาลกับแบะแชต้องเท่าๆ กัน คั่วงา ก่อนที่จะนำงามารองไว้สำหรับเทขนม งาจะต้องคั่วด้วยไฟอ่อนๆ เพื่อเพิ่มความหอม ถ้าหากเราไม่คั่วก็จะไม่หอม และเวลาที่ทานขนมจะขาดในความอร่อยของงาไปด้วย งาที่ทำนั้นจะต้องเป็นงาที่คัดพิเศษ ถ้าหากว่านำงาที่เราปลูกมาทำ บางครั้งงาไม่สะอาดพอทำให้มีหินหรือดินผสมอยู่ด้วย จึงต้องใช้งาที่ขายจากร้านจึงอร่อยและหอม ซึ่งงานั้นจะติดกับขนมในตอนที่ยังร้อน ซึ่งหลังจากนั้นงาจะหลุดออกไปบ้าง แต่ก็ยังคงให้ความหอมในขณะที่ทาน แน่นอนว่าเวลาที่ทำขนมนั้นจะมีส่วนที่สำเร็จ ส่วนที่ไม่สวยเสมอ ในการทำขนมถั่วตัดก็เหมือนกัน บางชิ้นหัก บางชิ้นแตก ก็จะต้องแยกไว้อีกส่วนเพื่อความสวยงาม แต่ความอร่อยก็ยังคงเหมือนเดิม เมื่อได้เมล็ดของถั่วที่พร้อมจะทำขนมแล้ว ก็จะนำส่วนผสมมา ซึ่งมีส่วนผสมที่ให้ความหวาน มีวัตถุดิบไม่มาก แต่ระยะเวลาในการทำนั้นต้องใช้เวลานาน ไฟจะต้องสม่ำเสมอ และการกวนนั้นจะต้องกวนตลอดไม่ปล่อยให้นิ่งเพราะอาจจะทำให้ไหม้ได้ ส่วนผสมของขนมถั่วตัด ถั่วลิสงกระเทาะเปลือก 1 กิโลกรัม แบะแซ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม เกลือ 1 ช้อนชา งาขาว 1 กิโลกรัม ส่วนผสมนี้สามารถทำได้ประมาณสองหรือสามกระทะ ในการทำจะไม่ทำทีละมากๆ เพราะถ้าเยอะจนเกินไปการกวนจะไม่สม่ำเสมอ บางครั้งอาจจะทำให้ขนมไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เมื่อทำขนมเสร็จ ตัดเรียบร้อยแล้วจะต้องแพ็คใส่ถุงหรือใส่ในภาชนะที่ ไม่ให้อากาศเข้าได้ เพื่อความอร่อย ถ้าหากว่าอากาศเข้าไปจะทำให้ขนมเสียไม่กรอบ ถ้าจะให้อร่อยกรอบดีต้องใส่แช่ไว้ในตู้เย็น การวางไว้ด้านนอก ด้วยความหวานอาจจะทำให้มดหรือแมลงเจาะถุงเข้าไปได้ การทำขนมถั่วตัดนั้นมีความหอมนำ เวลาที่กวนไปกลิ่นหอมเริ่มได้แสดงว่าใกล้จะเป็นแล้ว กวนให้เป็นฟองเดือดจากที่กวนง่ายๆ เวลาที่จะเป็นจะกวนลำบากและต้องใช้แรงในการกวน เมื่อกวนได้ที่เรียบร้อยก็จะยกกระทะลงจากไฟ นำไปเทใส่งาขาวที่กองไว้ เตรียมสำหรับตัด หลังจากที่เทแล้วจะนำขวดหรือไม้สำหรับการกลิ้งเพื่อให้ขนมนั้นมีความเรียบเป็นแผ่น แต่จะต้องรีบทำอย่างรวดเร็วเพราะว่าถ้าช้า แบะแซจะแข็งตัวทำให้ไม่สามารถที่จะทำให้เป็นแผ่นได้ ส่วนงาที่เราเตรียมไว้นั้นจะเป็นแผ่นรอง ทำให้ขนมที่มีความเหนียวนั้นไม่ติดภาชนะ เมื่อกลิ้งจนเป็นแผ่นตรง แล้วก็จะต้องตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมขนาดตามที่เรานั้นต้องการ อยากได้แผ่นใหญ่ก็ตัดใหญ่ ขั้นตอนในการนวด การตัดเป็นแผ่นนั้นจะต้องรีบทำ ก่อนที่ขนมจะเย็นและแข็งตัว เพราะว่าถ้าหากว่าเย็นแล้วจะไม่สามารถทำได้เลย เพราะว่าจะทำให้ขนมนั้นแตกกระจายไม่น่ารับประทาน ในการทำขนมนี้ สิ่งที่ผู้ทำต้องมีคือความตั้งใจ และอดทน ความเชี่ยวชาญในการทำด้วย และที่สำคัญกว่านั้นคือความรวดเร็วทันเวลา ภาพถ่ายทั้งหมดเป็นของผู้เขียนเอง (อุ้งเท้าแมว) เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !