ทริคเก็บหอมแดง เอาไว้กินนานๆ ลดการฝ่อเร็ว ไม่เน่าเสียง่าย | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล นอกจากขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และกระเทียมแล้ว หอมแดงยังเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่เราคนไทยมักนำมาใช้ทำอาหาร ซึ่งหอมแดงทำให้อาหารหลายอย่างมีรสชาติดีขึ้นได้อย่างมาก ที่ในบางเมนูพอใส่หอมแดงไปแล้วก็มีสีสันขึ้นมาทันที และสำหรับบางคนหอมแดงถูกนำมาเป็นผักแกล้มกับเมนูที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า หอมแดงซื้อมาแล้วหากต้องการเก็บเอาไว้ทำอาหารให้นานขึ้นว่าปกตินั้น ไม่ใช่ว่าจะเก็บแบบไหนก็ได้หรือวางไว้แบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจริงๆ สิ่งที่เราจะเจอก็คือหอมแดงฝ่อเร็วและเน่าเสียง่าย แต่สถานการณ์นั้นจะหายไปจากชีวิตทันที หากคุณผู้อ่านได้สละเวลาเพียงเล็กน้อยและอ่านเนื้อหาในบทความนี้ให้จบ เพราะนี่คือเทคนิคเก็บหอมแดงให้คงคุณภาพได้ยาวนานขึ้น ไม่ขึ้นราง่ายและไม่ฝ่อเร็ว โดยเมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านจบแล้วจะพบว่า มีแนวทางง่ายๆ ที่เข้ากับตัวเองและนำไปเก็บหอมแดงให้ถูกวิธีค่ะ และต่อให้ไม่ได้เป็นคนเก็บหอมแดงด้วยตัวเองก็ตาม อ่านจบรู้เรื่องจนสามารถบอกและแนะนำคนอื่นให้ทำตามได้แบบง่ายๆ น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ งั้นอย่าช้าที่จะอ่านต่อค่ะ กับเนื้อหาที่เป็นข้อมูลดีๆ ดังต่อไปนี้ 1. เลือกหอมแดงที่สดใหม่และไม่มีรอยช้ำ หลายคนยังไม่รู้ว่า การที่เราจะเก็บหอมแดงไว้กินได้นานๆ โดยไม่ให้ฝ่อเร็วนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการเริ่มต้นด้วยการเลือกซื้อหอมแดงที่มีคุณภาพดีตั้งแต่แรกเลยค่ะ โดยหอมแดงที่สดใหม่จะมีผิวที่เต่งตึง ไม่เหี่ยวหรือมีรอยช้ำใดๆ ให้เห็น เพราะรอยช้ำจะเป็นจุดเริ่มต้นให้หอมแดงเน่าเสียได้ง่าย ดังนั้นก่อนที่เราจะนำหอมแดงไปเก็บรักษาด้วยวิธีต่างๆ การใส่ใจเลือกซื้อหอมแดงที่สดใหม่และสมบูรณ์ จึงเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมากที่จะช่วยให้เรามีหอมแดงไว้ใช้ปรุงอาหารได้นานตามต้องการค่ะ 2. ผึ่งลมให้แห้งสนิท หลังจากที่เราเลือกซื้อหอมแดงที่สดใหม่และไม่มีรอยช้ำมาแล้ว อีกขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาไม่ให้หอมแดงฝ่อเร็วนั่นก็คือ การนำหอมแดงมาผึ่งลมให้แห้งสนิทก่อนที่จะนำไปเก็บเข้าที่ค่ะ เหตุผลก็คือหอมแดงที่เพิ่งซื้อมาใหม่ๆ มักจะมีความชื้นติดอยู่ที่เปลือก หากเรานำไปเก็บทั้งๆ ที่ยังมีความชื้นอยู่ ซึ่งความชื้นนี้ก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและสิ่งปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หอมแดงเน่าเสียและฝ่อเร็ว การผึ่งลมจนผิวหอมแดงแห้งสนิทจะช่วยลดความชื้น ทำให้เปลือกแห้งและแข็งแรงขึ้น เป็นการสร้างเกราะป้องกันตามธรรมชาติให้กับหอมแดง ทำให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ 3. เก็บในที่แห้งและมีอากาศถ่ายเท เมื่อเราเลือกหอมแดงคุณภาพดีและผึ่งลมจนแห้งสนิทแล้ว ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันคือการจัดเก็บหอมแดงในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมค่ะ นั่นก็คือบริเวณที่แห้งและมีอากาศถ่ายเทสะดวก การเก็บรักษาหอมแดงในที่แห้งจะช่วยป้องกันไม่ให้หอมแดงดูดซับความชื้นจากภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเชื้อราและทำให้หอมแดงเน่าเสียเร็วขึ้น นอกจากนี้การมีอากาศถ่ายเทที่ดีจะช่วยระบายความชื้นที่อาจเกิดขึ้นจากตัวหอมแดงเอง ทำให้หอมแดงไม่อับชื้นและคงความสดใหม่ได้นานยิ่งขึ้น ลองนึกภาพว่าถ้าเราเก็บหอมแดงไว้ในที่อับ อากาศไม่ถ่ายเท ความชื้นก็จะกักเก็บอยู่ ทำให้หอมแดงเริ่มนิ่มและเน่าในที่สุด ดังนั้นการเลือกที่เก็บหอมแดงให้แห้งและมีลมพัดผ่าน จึงเป็นหัวใจสำคัญอีกอย่างในการยืดอายุของหอมแดงค่ะ 4. หลีกเลี่ยงการเก็บในถุงพลาสติกปิดสนิท การเก็บหอมแดงไว้ในถุงพลาสติกปิดสนิทเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง หากเราต้องการเก็บหอมแดงไว้กินได้นานๆ โดยไม่ให้ฝ่อเร็ว นั่นก็เพราะว่าถุงพลาสติกที่ปิดสนิทจะกักเก็บความชื้นที่ระเหยออกมาจากตัวหอมแดงเอง ทำให้ภายในถุงเกิดสภาพแวดล้อมที่อับชื้น ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา เมื่อเชื้อราเจริญเติบโตก็จะทำให้หอมแดงเริ่มเน่าเสีย นิ่มและฝ่อในที่สุด ซึ่งการเลือกใช้ภาชนะที่มีรูระบายอากาศ หรือถุงตาข่ายโปร่งๆ จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ลดการสะสมของความชื้น และช่วยรักษาความสดใหม่ของหอมแดงได้ดีกว่าการเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดสนิทมากเลยค่ะ 5. แขวนเก็บ วิธีนี้เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ให้แขวนได้นะคะ เช่น บริเวณชายคา หรือในครัวที่มีอากาศถ่ายเทดี ปกติการแขวนหอมแดงที่มัดรวมกันเป็นจุกๆ จะช่วยให้ทุกด้านของหอมแดงสัมผัสกับอากาศได้อย่างเต็มที่ ทำให้ความชื้นระเหยออกไปได้ง่าย ลดโอกาสการเกิดเชื้อราและความอับชื้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการทำให้หอมแดงเน่าเสีย นอกจากนี้การแขวนยังช่วยป้องกันไม่ให้หอมแดงถูกกดทับ ทำให้ไม่เกิดรอยช้ำซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมสภาพ เรียกได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากอากาศที่ถ่ายเทได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้หอมแดงคงความสดใหม่ได้นานเลยทีเดียวค่ะ 6. ใช้ถ่านช่วยดูดความชื้น คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า การใช้ถ่านเพื่อช่วยดูดความชื้นเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับที่น่าสนใจ สำหรับการเก็บรักษาหอมแดงให้ได้นานโดยไม่ฝ่อเร็วค่ะ เนื่องจากถ่านไม้มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นได้ดีเยี่ยม เมื่อเรานำถ่านไม้สัก 2-3 ก้อนใส่ไว้ในภาชนะที่เก็บหอมแดง ถ่านก็จะช่วยดึงความชื้นส่วนเกินที่อาจเกิดขึ้นภายในภาชนะออกไป ทำให้สภาพแวดล้อมในการเก็บหอมแดงแห้งขึ้น ลดโอกาสที่เชื้อราจะเจริญเติบโต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หอมแดงเน่าเสียและฝ่อเร็ว วิธีนี้เป็นเหมือนการเพิ่มตัวช่วยในการควบคุมความชื้นภายในที่เก็บรักษา ทำให้หอมแดงคงความสดใหม่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ซับซ้อนแต่ได้ผลดีค่ะ 7. ใช้ตะกร้าหรือกล่องที่มีรูระบายอากาศ สำหรับใครที่ไม่สะดวกแขวนหอมแดง การเลือกใช้ตะกร้าหรือกล่องที่มีรูระบายอากาศ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เก็บหอมแดงได้นานโดยไม่ฝ่อเร็วค่ะ โดยหลักการทำงานจะคล้ายกับการแขวน คือการเปิดโอกาสให้อากาศไหลเวียนรอบๆ หอมแดงได้อย่างทั่วถึง รูระบายอากาศบนตะกร้าหรือกล่องจะช่วยลดการกักเก็บความชื้นภายใน ทำให้หอมแดงไม่อับชื้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อรา นอกจากนี้การใช้ตะกร้าหรือกล่องยังช่วยให้เราจัดเก็บหอมแดงเป็นระเบียบเรียบร้อย และป้องกันไม่ให้หอมแดงถูกกดทับจนเกิดรอยช้ำ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หอมแดงเสื่อมสภาพเร็ว ดังนั้นการเลือกใช้ภาชนะที่มีรูระบายอากาศ จึงเป็นทางเลือกที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการรักษาความสดใหม่ของหอมแดงค่ะ 8. วางหอมแดงแบบไม่ให้ทับกัน ลองนึกภาพตามนะคะ เมื่อเราวางหอมแดงซ้อนทับกันมากๆ น้ำหนักของหอมแดงที่อยู่ด้านบนจะกดทับหอมแดงที่อยู่ด้านล่าง ทำให้เกิดรอยช้ำได้ง่าย ซึ่งรอยช้ำที่เกิดขึ้นนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้มีเชื้อราได้ง่ายขึ้น จึงส่งผลให้หอมแดงเน่าเสียและฝ่อเร็วในที่สุด แต่การวางหอมแดงให้กระจายตัว หรือวางเพียงชั้นเดียวในภาชนะ จะช่วยลดแรงกดทับและเปิดโอกาสให้อากาศไหลเวียนรอบๆ หอมแดงแต่ละหัวได้ดีขึ้น ทำให้ความชื้นระเหยได้สะดวก และช่วยรักษาความสดใหม่ของหอมแดงได้ยาวนานกว่าการวางกองทับกันอย่างแน่นอนค่ะ 9. เก็บให้ห่างจากความร้อนและความชื้น เนื่องจากความร้อนจะไปกระตุ้นให้หอมแดงคายน้ำเร็วขึ้น จึงทำให้เหี่ยวและสูญเสียความสดใหม่ ส่วนความชื้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเน่าเสียในหอมแดง ดังนั้นการหลีกเลี่ยงบริเวณที่ใกล้เตาไฟ ถูกแสงแดดโดยตรง หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ใกล้กับอ่างล้างจาน หรือบริเวณใกล้กับเตาแก๊ส จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง และการเลือกพื้นที่ที่แห้ง เย็น และมีอากาศถ่ายเทสะดวกภายในบ้าน จะช่วยรักษาสภาพของหอมแดงให้คงความสดใหม่ได้นานขึ้นมากเลยค่ะ 10. หมั่นตรวจสอบและคัดหอมแดงที่เริ่มเสียออก หลายคนยังมองภาพไม่ออกว่า การหมั่นตรวจสอบและคัดแยกหอมแดงที่เริ่มมีอาการเน่าเสียออกเป็นประจำ ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ไม่ควรมองข้ามในการเก็บรักษาหอมแดงให้ได้นานๆ ค่ะ เพราะหากมีหอมแดงหัวใดหัวหนึ่งเริ่มเน่า เชื้อราที่เกิดขึ้นก็จะสามารถแพร่กระจายไปยังหัวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้หอมแดงที่เหลือพลอยเน่าเสียตามไปด้วย การที่เราสละเวลาเล็กน้อยเพื่อตรวจดูหอมแดงอย่างสม่ำเสมอ และคัดหอมแดงที่เริ่มนิ่ม มีรอยช้ำมาก หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกไป จะช่วยป้องกันการลุกลามของความเสียหาย และรักษาหอมแดงส่วนที่ยังดีให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานยิ่งขึ้นนะคะ ก็จบแล้วค่ะ กับแนวทางเก็บรักษาหอมแดงเอาไว้ทำอาหารได้นานขึ้น จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายวิธีการ ที่ไม่ว่าเราจะเลือกวิธีการไหนก็ตามแต่นะคะ อย่าลืมเริ่มต้นด้วยข้อ 1 และตามไปด้วย 2 เพราะเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ของการที่เราจะเก็บหอมแดงไม่ให้ฝ่อเร็ว และอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงพอจะมองภาพออกแล้วนะคะว่า จากที่หลายคนคิดว่าหอมแดงเก็บยังไงก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นเราต้องปรับใช้เทคนิคต่างๆ ตามที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ต่างหาก ที่จะเป็นตัวช่วยทำให้เรามีหอมแดงในครัวได้นานขึ้นนะคะทุกคน โดยในชีวิตประจำวันของผู้เขียนเองที่นี่ ก็ได้นำเคล็ดลับการเก็บหอมแดงในบทความนี้มาใช้ด้วยเหมือนกันค่ะ โดยมักเก็บหอมแดงในตะกร้าที่มีรูระบายอากาศ และจากที่ผู้เขียนได้สังเกตมานั้น สำหรับแม่ของผู้เขียนและคนรุ่นเก่าหลายๆ คนแถวนี้ เขาพากันเก็บรักษาหอมแดงด้วยการแขวนเก็บค่ะ โดยมักแขวนไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งภาพนี้เป็นภาพที่สามารถพบเห็นได้ตามปกติในชนบทขงประเทศไทยในภาคอีสานค่ะ โดยถ้าคุณผู้อ่านได้มีโอกาสขับรถผ่านไปจังหวัดศรีสะเกษ แถวๆ อำเภอยางชุมน้อยและพื้นที่ใกล้เคียง เราก็จะได้เห็นภาพของการแขวนมัดหอมแดงไว้ใต้ถุนบ้านจำนวนมาก ซึ่งวิธีการนี้ก็ได้ผลและเป็นภูมิปัญญาของคนไทยในท้องถิ่น เพื่อเก็บรักษาความสดใหม่ของหอมแดงเอาไว้ใช้ในการประกอบอาหารค่ะ และวิธีการเดียวกันทั้งหมดในบทความนี้ คุณผู้อ่านเองก็สามารถถนำไปใช้ได้เช่นเดียวกันนะคะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากสนใจเนื้อหาเช่นนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือบุ๊กมาร์กโปรไฟล์ไว้ เพื่อรับข้อมูลใหม่ๆ ในบทความต่อไปค่ะ เครดิตรูปภาพประกอบบทความ รูปภาพทำหน้าปกและหน้าปกโดยผู้เขียน ออกแบบใน Canva รูปภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การบำบัดน้ำเสียและกำจัดสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน 7 วิธีเลือกไข่เป็ด ดูยังไงดี สดใหม่ มีคุณภาพ ทริคเลือกลูกเดือยแห้ง มาต้มเอง แบบไหนดี 10 วิธีเลือกหอมแดง สำหรับทำอาหาร แบบไหนดี เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !