10 ทริครักษาความสะอาดในครัว ลดการปนเปื้อนข้ามในอาหาร | บทความโดย Pchalisaการปนเปื้อนข้าม (Cross Contamination) ในด้านสุขาภิบาลอาหาร หมายถึง การปนเปื้อนของสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ที่อาจเป็นแบคทีเรีย สารเคมีหรือเศษดินทรายและความสกปรกอื่นๆ ก็ได้ โดยการปนเปื้อนข้ามนี้อาจเกิดจากอาหารชนิดหนึ่งไปยังอาหารอีกชนิดหนึ่ง จากมือของคนไปยังอาหาร จากภาชนะไปยังอาหารก็ได้นะคะ และมักเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการผลิต การเตรียมหรือการปรุงอาหาร ซึ่งการปนเปื้อนข้ามนี้มักทำให้อาหารไม่สะอาดและไม่ปบอดภัย และอาจยาวไปจนทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่มีอาหารเป็นสื่อตามมาค่ะตัวอย่างการปนเปื้อนข้าม เช่นน้ำไก่ดิบจากเขียงสับไก่ไปสัมผัสกับผักที่นำมาหั่นในเขียงเดียวกันมีดที่ใช้หั่นเนื้อดิบ นำมาหั่นผักโดยไม่ล้างก่อนมือที่สัมผัสเนื้อดิบ ไปหยิบจับอาหารปรุงสุกความสกปรกจากแก้วที่ล้างไม่สะอาดไปสัมผัสกับน้ำแข็ง มือที่ไม่สะอาดจากการไปเข้าห้องน้ำ ไปสัมผัสกับจานชามและภาชนะต่างๆมือที่ใส่ถุงมือไปสัมผัสกับเงิน แล้วมาจับกับอาหารในระหว่างปรุงอาหารพอจะมองเห็นภาพออกกันแล้วใช่ไหมค่ะ ดังนั้นการป้องกันการปนเปื้อนข้ามจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเราค่ะ เพราะเรายังเกี่ยวข้องกับอาหาร และถึงแม้ว่าบางคนจะไม่ได้ทำอาหารเองก็ตาม แต่การรู้เรื่องนี้เอาไว้จะทำให้เราสามารถเลือกอาหารที่ปลอดภัยได้ดีกว่าแน่นอน ดังนั้นอย่าช้าที่จะอ่านให้จบและนำไปใช้ในชีวิตจริงค่ะ และต่อไปนี้คือแนวทางเกี่ยวกับวิธีลดการปนเปื้อนข้ามในอาหาร1. แยกพื้นที่เตรียมอาหารการแบ่งพื้นที่เตรียมอาหารออกเป็น 2 โซน คือ โซนสำหรับอาหารดิบและโซนสำหรับอาหารปรุงสุก แบบนี้มันชัดเจนในการป้องกันการปนเปื้อนข้ามในอาหารได้ แต่ถ้าไม่ได้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรแยกการทำอาหารออกเป็นแต่ละอย่าง โดยให้ทำขั้นตอนต่างๆ ในอาหารดิบให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นก็เก็บกวาดทำสะอาดแล้วค่อยเริ่มทำในส่วนของอาหารที่สุกแล้วค่ะ โดยผู้เขียนจะประยุกต์แบบหลังเพราะมีพื้นที่จำกัด เช่น ถ้าได้ทำยำวุ้นเส้น มักทำในส่วนของเนื้อสัตว์ก่อน โดยจะหั่นและลวกจนสุกพร้อมทำยำ จากนั้นถึงจะมาเตรียมในส่วนของผักและส่วนประกอบอื่นๆ ค่ะ2. แยกอุปกรณ์ในตอนที่เราทำอาหารนั้นให้เราเตรียมอุปกรณ์มาตามปกติ แต่ให้แยกเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้เตรียมอาหารดิบและอุปกรณ์สำหรับอาหารปรุงสุกแล้ว แยกทุกอย่างเลยค่ะแบบไม่มีข้อยกเว้นเลย เช่น เขียง มีด ถ้วยชาม ผ้าเช็ดมือ โดยอาจใช้สีหรือสัญลักษณ์เป็นจุดสังเกตง่ายๆ เพื่อแยกประเภทให้เรารู้ได้ง่ายขึ้นก็ได้ สำหรับข้อนี้ที่นี่มีเขียง 2 แบบค่ะ เขียงต้นมะขามสำหรับอาหารดิบ และเขียงจากไม้แผ่นที่ดูสวยงามหน่อยจะนำมาใช้สำหรับอาหารที่สุกแล้ว สำหรับหั่นผักก็จะนำเขียงสำหรับอาหารสุกมาล้างทำความสะอาดก่อนค่ะ อย่างมีดหั่นเนื้อดิบจะใช้มีดขนาดใหญ่ หั่นผักจะเป็นอีกแบบ มีการแยกมีดและมีมีดหลายอันมากค่ะ3. เก็บกวาดเศษอาหารการเก็บกวาดเศษอาหารและทำความสะอาดพื้นที่เตรียมอาหารหลังใช้งานทุกครั้ง ทำไปก็เพื่อให้เกิดความสะอาดและลดการปนเปื้อนข้าม ซึ่งการเลือกใช้พื้นผิวในครัวของบ้านเราก็ต้องเลือกที่ทำความสะอาดได้ง่าย พื้นผิวเรียบ และสำหรับของผู้เขียนนั้นที่นี่ไม่ได้เตรียมอาหารกับพื้นผิวโต๊ะโดยตรงค่ะ แต่เรื่องทำความสะอาดจากที่มีเศษอาหารกระจัดกระจายจนเกิดความสกปรกนั้นทำประจำอยู่แล้ว4. ล้างมือคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า!? มือของเรานอกจากจะสะสมเชื้อโรคได้ง่ายและจำนวนมากแล้ว จากที่เราใช้มือบ่อยมากในหนึ่งวัน มือที่สกปรกนี้ยังเป็นต้นเหตุของการปนเปื้อนข้ามในอาหารได้ง่ายๆ ดังนั้นการหันมาล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ทุกครั้ง ก่อนและหลังการสัมผัสกับอาหาร โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสอาหารดิบ แบบนี้คือแนวทางป้องกันการปนเปื้อนข้ามจากมือของเราไปหาอาหารที่เรากำลังปรุงและกำลังจะทานค่ะ5. ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวที่สัมผัสอาหาร อุปกรณ์และภาชนะอย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมสามารถลดการปนเปื้อนข้ามในอาหารได้ค่ะ เพราะอาจมีเหมือนกันที่บางคนอาจจะไม่ได้ระวังและล้างภาชนะบางชิ้นด้วยน้ำเปล่าเท่านั้น แบบนี้ก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงด้านสุขภาพได้ค่ะ การใช้น้ำยาล้างจานจึงจำเป็นตลอดค่ะ แต่ให้ล้างน้ำสะอาดหลายน้ำจนแน่ใจว่าสะอาดดีแล้ว ที่สำคัญคือฟองน้ำล้างจานก็ต้องสะอาดด้วยนะคะ หากพบว่าสภาพไม่ดีแล้วก็ต้องเปลี่ยนใหม่6. ละลายอาหารแช่แข็งอย่างถูกวิธีหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า การละลายอาหารแช่แข็งจากตู้เย็นไม่ถูกวิธีก็เป็นต้นเหตุของการปนเปื้อนข้ามได้นะคะ ให้ลองละลายน้ำแข็งโดยใช้ไมโครเวฟหรือแช่ในน้ำค่ะ โดยไม่ควรละลายอาหารที่แช่แข็งโดยการวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง เพราะการทำแบบนี้มีส่วนทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้จากที่ต้องใช้เวลานานมากเกินไป7. ปรุงอาหารให้สุกการปรุงอาหารให้สุกก่อนนำมาทานเป็นแนวทางง่ายๆ ที่ทุกคนทำได้ค่ะ โดยการทำแบบนี้ถือเป็นการฆ่าแบคทีเรียในอาหาร ซึ่งอาหารทุกอย่างเราสามารถทำให้สุกได้จากหลากหลายวิธีนะคะ เช่น ถ้าผู้เขียนมีแหนมหนังหมูมักนำไปย่างทั้งใบตองก่อนนำมาทานค่ะ ถ้ามีลาบดิบก็แค่นำไปคั่วให้สุกก่อนก็เท่านั้นเองค่ะ ซึ่งอาหารปรุงสุกแล้วก็อร่อยได้เหมือนกันแถมยังปลอดภัยมากขึ้นด้วยนะคะ8. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหารด้วยมือเปล่าการหันมาใช้ที่คีบอาหารหรือทัพพีในการตักอาหาร หรือใส่ถุงมือจับอาหารแบบนี้ก็ช่วยลดการปนเปื้อนข้ามจากมือของเราไปหาอาหารได้ค่ะ และในกรณีของถุงมือนั้นต้องแน่ว่าไม่ได้ใช่ถุงมือคู่เดียวกับทุกอย่างที่ขวางหน้า เพราะถ้าทำแบบนั้นก็จะถือว่าเป็นการเพิ่มโอกาสปนเปื้อนข้ามในอาหารเหมือนเดิม และที่นี่ก็พยายามใช้ทัพพี ช้อน ที่คีบและถุงมือตลอดเวลาทำอาหารค่ะ9. ไม่นำสัตว์เลี้ยงไปในบริเวณที่ทำอาหารการไม่นำสัตว์เลี้ยงไปในบริเวณที่ทำอาหารหรือแม้แต่ในร้านอาหาร คือสิ่งที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนข้ามในอาหารได้ค่ะ ซึ่งสัตว์เลี้ยงสามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารได้บ่อยๆ จากที่สัตว์เลี้ยงมีขน บางทีตัวเราไปจับไปสัมผัสสัตว์แล้วเราลืมเราก็มาจับอาหารเข้าปากอีก ซึ่งสำหรับผู้เขียนนั้นไม่ได้เลี้ยงสัตว์ค่ะ 10. เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมการเก็บอาหารดิบและอาหารปรุงสุกในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือวิธีที่ทำให้อาหารปลอดภัยได้ค่ะ ซึ่งอาหารดิบควรเก็บในตู้เย็นช่องแช่แข็งที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสหรือน้อยกว่า ส่วนอาหารปรุงสุกแล้วก็แล้วแต่ชนิดค่ะ แต่โดยส่วนใหญ่ผู้เขียนจะเก็บไว้ใต้ช่องแช่แข็ง พอจะนำมาทานก็นำอาหารมาอุ่นก่อนเสมอจบแล้วค่ะ เป็นยังไงค่ะพอจะมองภาพออกไหม กับแนวทางปฏิบัติง่ายๆ ที่บ้านของเราค่ะหรือจะเป็นร้านอาหารก็สามารถนำข้อมูลในนี้ไปปรับใช้ได้นะคะ ซึ่งถ้าเป็นในส่วนของสถานที่ที่มีคนทำอาหารจำนวนมาก การจะทำให้อาหารปลอดภัยมากขึ้นก็มีความจำเป็นต้องฝึกอบรมพนักงานให้ดี ตรวจสอบระบบ HACCP ของสถานประกอบการอาหารเป็นประจำ เพราะสิ่งนี้เท่านั้นที่จะทำให้อาหารของเราสะอาดและปลอดภัยขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากความเจ็บป่วยที่มีอาหารเป็นสื่อนำโรคค่ะซึ่งปกติผู้เขียนจะระวังมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ก็จะป้องกันการปนเปื้อนข้ามในส่วนที่ตัวเองเกี่ยวข้องให้มากที่สุดค่ะ เพราะส่วนตัวแล้วเป็นคนทำอาหารที่บ้านประจำ และถ้าได้ไปซื้ออาหารนอกบ้านก็ยังไม่ลืมในประเด็นนี้นะคะ มันไม่ใช่เรื่องมากอนามัยจัด แต่การเจ็บป่วยพอเกิดขึ้นแล้วเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่เหมือนปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นเรื่องส่วนรวม ปัญหาสุขภาพเราเป็นเราก็ต้องคอยมาตามแก้อีกคนแรก จริงไหมคะ? ซึ่งการป้องกันไว้ก่อนแย่ดีที่สุดค่ะ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านนะคะ และถ้าชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😀เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปก โดย Norma Mortenson จาก Pexelsภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1,3 โดยผู้เขียน, ภาพที่ 2 โดย Polina Tankilevitch จาก Pexels และภาพที่ 4 โดย Deane Bayas จาก Pexelsออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaเกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูลศึกษาเกี่ยวกับ: พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://intrend.trueid.net/post/394592 https://intrend.trueid.net/post/367117 https://intrend.trueid.net/post/380684อยากผอมหุ่นดี อยากมีซิกแพค หาอินสปายลดน้ำหนัก เข้าร่วมด่วนที่ฟิตแอนด์เฟิร์มคอมมูนิตี้