เม็ดบัวสด กินยังไง แบบไหนน่าซื้อ ทานอร่อย | บทความโดย Pchalisa ของทานเล่นที่เป็นพืชอย่างเม็ดบัว เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในบ้านเรา โดยฝักบัวที่สมบูรณ์ดีสามารถให้เม็ดบัวอ่อนที่มีความอร่อยตามธรรมชาติได้ค่ะ โดยผู้เขียนได้มีประสบการณ์ทานสิ่งนี้มาตลอด ที่ปัจจุบันก็ยังเป็นคนที่หาโอกาสทานเม็ดบัวอยู่เรื่อยๆ ถ้าใครมาเที่ยวแถวอีสาน ต้องลองแวะไปแถวอำเภอคำตากล้าและบ้านม่วง จังหวัดสกลนครค่ะ เพราะที่นั่นเป็นแหล่งที่ทำนาบัวที่ให้ฝักบัวและเม็ดบัวเม็ดใหญ่มากและอร่อยค่ะ อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว บางคนอาจยังงงอยู่ว่า เม็ดบัวหรือที่เรียกอีกอย่างว่า เมล็ดบัว คืออะไร? เม็ดบัวเป็นส่วนหนึ่งของดอกบัวหลวงค่ะ ที่อยู่ภายในฝักบัว เมื่อดอกบัวบานและได้รับการผสมเกสรแล้ว รังไข่ของดอกบัวจะเจริญเติบโตกลายเป็นฝักบัว ซึ่งภายในฝักบัวนี้จะมีเม็ดบัวอยู่เป็นจำนวนมาก ตามภาพด้านล่างนี้เลยค่ะ ซึ่งวิธีการทานเม็ดบัวนั้น แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เม็ดบัวสด: สามารถนำมารับทานได้โดยตรง หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ในแกง หรือสลัด โดยต้องแกะเปลือกสีเขียวทิ้ง และทานด้านในนะคะ ซึ่งปกติมีสีขาว ซึ่งเม็ดบัวสดเราจะพบเห็นว่ามีวางขายบ่อยที่สุด เม็ดบัวแห้ง: สำหรับเม็ดบัวแบบนี้ ต้องนำไปต้มหรือนึ่งก่อนนำมาทาน หรือก่อนนำไปประกอบอาหารอย่างอื่น โดยเม็ดบัวแบบนี้มีขายค่ะ แต่พบได้น้อยกว่าแบบสด โดยรสชาติของเม็ดบัวสดอร่อยค่ะ แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความแก่ของเม็ดบัว: เม็ดบัวอ่อนจะมีรสหวานมัน กรอบ และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ส่วนเม็ดบัวแก่จะมีรสชาติขมเล็กน้อยจากดีบัวค่ะ ส่วนที่ทาน: ถ้าทานเฉพาะเม็ดบัวโดยไม่กินดีบัว รสชาติจะหวานมัน แต่ถ้าทานดีบัวด้วย จะมีรสขมเล็กน้อยค่ะ สายพันธุ์ของบัว: บัวแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีรสชาติแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่โดยทั่วไปแล้วรสชาติของเม็ดบัวสดจะออกหวานมัน มีความกรุบเล็กน้อย และมีรสขมนิดๆ จากดีบัว แต่บางคนก็อาจชอบรสชาติที่ขมนี้ค่ะ ซึ่งคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ดีบัว คือ ส่วนที่เป็นต้นอ่อนภายในเม็ดบัวหลวงค่ะ เป็นส่วนที่หลายคนมักแกะออก เพราะตามธรรมชาติดีบัวมีรสขมค่ะ โดยลักษณะของดีบัว มีรูปร่างเป็นเส้นเล็กๆ สีขาวหรือสีเขียวอ่อน อยู่ภายในเม็ดบัว วิธีการเตรียมเม็ดบัวสดสำหรับทาน เลือกซื้อฝักบัว: ให้เลือกฝักบัวที่สดใหม่ เปลือกเรียบ ไม่มีรอยช้ำหรือรอยด่าง แกะฝักบัว: ใช้มีดคมๆ แกะฝักบัวออก แล้วนำเม็ดบัวออกมาค่ะ ล้างเม็ดบัว: ล้างเม็ดบัวให้สะอาดด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง เพื่อขจัดสิ่งสกปรก แกะเปลือกเม็ดบัว: ใช้เล็บหรือมีดปลายแหลมแกะเปลือกเม็ดบัวออกเบาๆ วิธีการทานเม็ดบัวสด ทานสดๆ: วิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำเม็ดบัวที่แกะเปลือกแล้วมาเคี้ยวทานสดๆ โดยจะมีรสชาติจะหวานมัน กรอบ และมีรสขมเล็กน้อยจากดีบัวค่ะ ถ้าเป็นเม็ดบัวแบบต้มหรือนึ่ง ก็ให้แกะเปลือกออกและทานด้านในค่ะ ผสมในสลัด: นำเม็ดบัวไปผสมในสลัดผลไม้หรือสลัดผัก เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางอาหาร ทำเป็นของว่าง: นำเม็ดบัวไปคั่วหรืออบ เพื่อเพิ่มความกรอบและรสชาติ อย่างไรก็ตามหากมีเม็ดบัวเหลือ สามารถนำไปแช่ในตู้เย็นได้ แต่ควรนำออกมากินให้หมดภายใน 2-3 วันค่ะ วิธีเลือกฝักบัวสด สังเกตเปลือก: เลือกฝักบัวที่มีเปลือกเรียบเนียน ไม่มีรอยช้ำ รอยบุบหรือรอยด่าง สังเกตขนาด: เลือกฝักบัวที่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ สังเกตสี: เปลือกฝักบัวควรมีสีเขียวสดใส ไม่เหลืองหรือดำคล้ำ วิธีเลือกเม็ดบัวภายในฝัก สังเกตสี: เม็ดบัวที่สดใหม่จะมีสีเหลืองนวล หรือสีขาวนวล สังเกตเนื้อ: เม็ดบัวที่สดใหม่จะมีเนื้อแน่น ไม่นิ่มและไม่ยุบตัว สังเกตกลิ่น: เม็ดบัวสดใหม่จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่เหม็นหืน และเคล็ดลับเพิ่มเติม คือ ให้ลองบีบฝักบัวเบาๆ ถ้ารู้สึกว่าแข็งและแน่น แสดงว่าเม็ดบัวภายในสดใหม่ค่ะ ที่โดยสรุปแล้วเม็ดบัวสดสามารถทานสดได้ค่ะ ดังนั้นหากเห็นฝักบัวมีวางขาย ก็อย่าลืมซื้อมาลองทานกันนะคะ เม็ดบัวสดผู้เขียนทานบ่อยที่สุดและค่อนข้างชอบค่ะ เพราะแกะทานง่าย ส่วนเม็ดบัวแก่ที่ต้มหรือนึ่ง รสชาติอร่อยคล้ายเราทานถั่วต้ม แต่มือจะเปื้อนหน่อยตอนแกะทานค่ะ ซึ่งราคาขายของเม็ดบัวทั้งสองแบบถือว่าใกล้เคียงกันค่ะ โดยเมนูอื่นๆ จากเม็ดบัวผู้เขียนยังไม่เคยทำค่ะ แต่ข้าวสารที่มีเม็ดบัวแห้งผสมมาด้วยนั้น เคยซื้อมาหุง และเม็ดบัวที่อยู่ในนั้นคือเม็ดบัวแบบแห้งค่ะ ที่พอหุงข้าวสุกเราก็จะได้เม็ดบัวแบบสุก ที่มีความนุ่มตอนทานและอร่อยเหมือนเม็ดบัวต้มหรือนึ่งค่ะ ก็ขอจบเรื่องเม็ดบัวไว้เพียงเท่านี้ พอจะมองภาพออกแล้วใช่ไหมคะ? ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/GRkGPqJbDrBR https://food.trueid.net/detail/EnbJvyNdWaPn https://food.trueid.net/detail/2lx8Y15oGDDl เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !