เมนูเส้น เมนูยอดฮิตของคนไทย พูดถึงอาหารประเภทเส้น เช่น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ขาว บะหมี่เหลือง เส้นใหญ่ เส้นข้าวซอย ขนมจีน ฯลฯ เส้นต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นเมนูที่มีทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นศูนย์อาหารใหญ่ หรือ ร้านอาหารข้างทาง เพราะเป็นเมนูที่หาทานง่าย สามารถหาทานได้ทุกที่ แต่ละร้าน แต่ละที่ ก็จะมีความแตกต่างกันด้วยสูตรของการปรุง วัตถุดิบ และเมนูประจำท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น ข้าวซอย เมนูที่ทุกคนรู้จักในอาหารประจำถิ่นภาคเหนือ เป็นต้น ข้าวซอยไก่ หรือ เนื้อ เป็นเส้นหมี่ขนาดกลาง ลักษณะเส้นแบน สีเหลือง ลวก ใส่ในน้ำข้าวซอย เครื่องแกงกะหรี่ใส่กะทิ เพิ่ม เนื้อหมู เนื้อควาย หรือ น่องไก่ ตามชอบ รับประทานกับพริกป่นคั่วน้ำมัน ผักกาดดองเค็ม หอมแดงซอย และ หมี่กรอบ รสชาติหอม มัน อร่อยแบบล้านนา ก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำข้น เส้นเล็กและผักบุ้งน้ำ กับน้ำซุปก๋วยเตี๋ยวที่มีความเข้มข้นของเลือดหมูสด และ เครื่องเทศสูตรพิเศษ ที่ตุ๋นกระดูกเป็นเวลานาน ความหอมอร่อยที่ลงตัว ก๋วยเตี๋ยวเรือมักจะพบเห็น แถวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ราดหน้าหมี่ยอดผัก เส้นหมี่ หรือเส้นใหญ่ ผัดกับซีอิ๊วหวาน ให้มีน้ำตาล และความหอมของกระทะ ใส่ยอดผักคะน้า ราดด้วยน้ำราดหน้าหมูหมัก ที่เคี่ยวน้ำให้ได้ความเข้มข้นน่ารับประทาน เมนูนี้ สามารถหาทานได้ตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไป บางร้านนิยมนำผักกาดกวางตุ้ง กระหล่ำดอก แครอท ใส่ลงไปด้วย เมนูนี้ถ้าผัดเส้นใหญ่กับยอดคะน้า ผัดกับซีอิ้วหวาน ปรุงรส ให้มีความหอมของกระทะไหม้ ก็จะกลายเป็น เส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว แสนอร่อยอีกเมนูนึงก็ว่าได้ สุกี้แห้งรสเด็ด เมนูนี้ก็นับว่า หาทานที่ร้านอาหารตามสั่งทั่วไป การนำเอาวุ้นเส้น ที่แช่น้ำ มาผัดกับผักสด เช่น ผักกาดขาว ผักบุ้งจีน กระหล่ำดอก ปรุงรสให้เข้ากัน ราดด้วยน้ำจิ้มสุกี้สูตรเด็ด ใส่เต้าหู้ยี้ หรือ น้ำจิ้มสุกี้ที่วางขายตามร้านทั่วไป สำหรับเมนูนี้เหมาะแก่คนที่กำลังควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี ขนมจีน เมนูเส้นอีกเมนูนึงที่นิยมมากในท้องถิ่นของภาคอีสานและภาคเหนือ นิยมทานกับน้ำเงี้ยว ( ภาคเหนือ ) น้ำยาป่า ( ภาคกลาง ) หรือ น้ำยาปลาร้า ( ภาคอีสาน ) และยังมีการดัดแปลงเป็นน้ำชนิดต่าง ๆ สำหรับทานกับขนมจีนอีกด้วย เมนูนี้รับประทานกับผักสดต่าง ๆ อร่อยและได้ประโยขน์มากมาย สำหรับเมนูเส้น ยังมีอีกหลายเมนูให้ท่านได้ลิ้มลอง นี่เป็นเมนูเส้นหลัก ๆ ที่พบเห็นในร้านอาหารทั่วไป การถนอมอาหารโดยวิธีต่าง ๆ การดัดแปลงจากข้าว หรือ แป้ง ให้เป็นเส้น เพื่อรับประทาน นับว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน หมายเหตุ ผู้เขียนเป็นผู้ถ่ายรูปเองทั้งหมด