น้ำย่านาง คืออะไร ขมไหม ใช้ทำอะไรได้บ้าง | บทความโดย Pchalisa หลายคนก็รู้มาว่า ย่านางเป็นพืชสมุนไพรไทยที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี โดยเฉพาะใบย่านางที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในการปรุงอาหาร ที่บางคนก็เป็นคนนำน้ำย่านางมาขาย แต่กับอีกคนก็อาจเคยเห็นและหรือซื้อน้ำใบย่านางด้วย น้ำย่านาง ต้นย่านาง การเก็บใบย่านาง การคั้นหรือการปั้นใบย่านาง ซื้อใบย่านาง และการปลูกใบย่านาง เชื่อไหมคะว่า? ทั้งหมดนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์มาหมดแล้ว ดังนั้นพอพูดเรื่องนี้เลยไม่ได้ยากอะไรสำหรับผู้เขียนค่ะ ที่บางคนก็อาจจะยังไม่ได้มีประสบการณ์ในบางประเด็นมาเหมือนกับผู้เขียน แต่อยากเรียนรู้มากขึ้น ก็ถือว่ามาถูกทางค่ะ เพราะในบทความนี้มีคำตอบมาให้แบบเน้นๆ เลย ที่เป็นความโชคดีมากของคุณผู้อ่าน เพราะผู้เขียนเองก็อยากบอกต่อเกี่ยวกับต้นย่านางพอดี เลยเขียนบทความนี้เผยแพร่ออนไลน์ งั้นมาอ่านต่อเพื่อทำความรู้จักกับใบย่านางมากขึ้นกันเลยดีกว่า ดังข้อมูลต่อไปนี้ ย่านางจัดอยู่ในวงศ์แตงกวา (Cucurbitaceae) ค่ะ ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพืชผักหลายชนิดที่เราคุ้นเคย เช่น แตงกวา ฟักทอง บวบ เป็นต้น โดยพืชในวงศ์นี้มักมีลักษณะเป็นเถาเลื้อย มีใบขนาดใหญ่ และผลมีลักษณะหลากหลาย ต้นย่านางมักพบขึ้นเองตามธรรมชาติในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในป่าดิบชื้น หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง เช่น ริมลำธาร ป่าละเมาะหรือตามแนวชายป่า เป็นต้น และลักษณะเด่นของต้นย่านางนั้นคือ มีระบบรากที่แข็งแรง ช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดิน และดูดซับน้ำและธาตุอาหารได้ดี สามารถเลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่ เพื่อหาแสงแดดได้ ใบมีขนาดใหญ่ ที่ช่วยสนับสนุนในการสังเคราะห์แสงและคายน้ำ ซึ่งและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของต้นย่านาง มีดังนี้ค่ะ แสงแดด ต้นย่านางชอบแสงแดดรำไร หรือแสงแดดส่องถึงบ้างเล็กน้อยนะคะ ความชื้น ในขณะที่ต้นย่านางต้องการความชื้นในอากาศสูง ดังนั้นจึงมักพบตามบริเวณที่มีน้ำขังหรือใกล้แหล่งน้ำค่ะ ดิน พืชชนิดนี้ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุสูงและระบายน้ำได้ดีค่ะ จากที่ผู้เขียนได้พบเห็นต้นย่านางมาตลอดชีวิตจนถึงตอนนี้นั้น ต้นย่านางมักเกิดได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์ค่ะ เพราะสมัยเด็กเคยเห็นต้นย่านางในป่า ตอนหลังมาที่ได้มีโอกาสไปตามพื้นที่การเกษตร ก็พบว่า มีต้นหญ้าย่านางตามไร่ยูคาลิปตัสด้วย จะว่าที่ไหนมีเห็ดเกิดตามธรรมชาติ ในบริเวณเดียวกันนั้นมักมีต้นย่านางค่ะ เพราะจากที่ผู้เขียนเห็นมานั้น คนที่ไปเก็บเห็ดเขามักจะเก็บย่านางมาด้วย เพื่อมาทำแกงเห็ดใส่น้ำย่านางค่ะ และล่าสุดนั้นผู้เขียนเจอต้นย่านางในสวนยางพาราของตัวเอง เกิดเองและเลื้อยไปตามพื้นดิน แต่ไม่ค่อยงามมาก เพราะจุดนี้แทบจะไม่มีแดดส่องถึง จากที่ต้นยางพาราถี่และมีใบปกคลุมหนาแน่นค่ะ การนำย่านางมาปลูก ในชีวิตประจำวันของผู้เขียนโดยทั่วไป มีโอกาสเห็นใบย่านางทุกวันค่ะ เพราะที่นี่มีปลูกไว้ และบ้านแถวนี้หลายหลังก็พากันปลูกค่ะ และดูเหมือนว่ามีการนำย่านางมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจในหลายพื้นที่ด้วย ร้านขายต้นไม้ก็มีต้นย่านางขายค่ะ ถุงละ 20 บาท ซึ่งการปลูกย่านางสามารถทำได้ทั้งในกระถาง และในพื้นที่เพาะปลูกนะคะ โดยให้จำลองสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติให้มากที่สุด การนำใบย่านางไปใช้ประโยชน์นั้น กลายเป็นเรื่องธรรมดาปกติในตอนนี้ค่ะ เพราะใบย่านางสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายวิธี ได้แก่ ปรุงอาหาร การนำใบย่านางมาต้มใส่แกงหน่อไม้ แกงอ่อม เพราะช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติให้อาหารได้ค่ะ น้ำย่านางสามารถทำเป็นเครื่องดื่มได้ โดยเราสามารถนำใบย่านางมาต้มดื่ม หรือคั้นสดดื่มก็ได้นะคะ เพราะผู้เขียนเคยได้ลองดื่มมาแล้วเหมือนกัน แต่ตอนนั้นคนอื่นทำและแจกมาให้ดื่มค่ะ ที่เป็นน้ำใบย่านางคั้นสดแบบเจือจางความเข้มข้นลงแล้ว ก็ดื่มได้ง่ายๆ นะคะ ไม่ได้มีกลิ่นเหม็นเขียวอะไรเลย โดยน้ำย่านางที่คั้นสดใหม่ในสถานการณ์จริงนั้น จะมีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ค่ะ คือ จะมีกลิ่นคล้ายหญ้าสด หรือบางคนอาจรู้สึกว่ามีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย แต่ก็เป็นกลิ่นที่บ่งบอกถึงความสดใหม่ของใบย่านางเขาเลย รสชาติของน้ำย่านางค่อนข้างขมเล็กน้อยค่ะ แต่ก็มีความหวานอ่อนๆ ซ่อนอยู่ ซึ่งรสชาติที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสดใหม่ของใบย่านาง และปริมาณของน้ำที่ใช้คั้นด้วย หากใช้ปริมาณน้ำมาก จะได้น้ำย่านางที่มีรสชาติอ่อนลง ใบย่านางที่สดใหม่จะให้กลิ่นและรสชาติที่หอมหวานกว่าใบย่านางที่เก็บไว้นาน ตลอดจนการคั้นใบย่านางด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ก็จะส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติของน้ำย่านางได้เช่นกัน สำหรับบางคนที่ไม่ชอบกลิ่นเหม็นเขียวของน้ำย่านาง สามารถลดกลิ่นได้หลายวิธีค่ะ เช่น การเติมน้ำผึ้งลงไปในน้ำย่านาง แบบนี้ก็จะช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวและเพิ่มความหวานให้กับน้ำย่านางได้ การนำน้ำย่านางไปผสมกับน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว จะช่วยกลบกลิ่นเหม็นเขียว และทำให้ได้เครื่องดื่มที่มีรสชาติอร่อยมากขึ้นค่ะ และให้ลองนำน้ำย่านางไปต้มค่ะ เพราะการทำแบบนี้ก็จะช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวได้ แต่รสชาติของน้ำย่านางก็จะเปลี่ยนไปเล็กน้อยนะคะ โดยในกรณีของผู้เขียนนั้น โดยส่วนมากมักนำน้ำใบย่านางมาทำอาหารค่ะ เช่น แกงหน่อไม้ แกงขี้เหล็ก แกงเห็ด พอเป็นแบบนี้เลยช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวไปในตัวแบบง่ายๆ ซึ่งผู้เขียนมองว่าการนำน้ำย่านางมาทำอาหาร เป็นตัวเลือกที่คนในปัจจุบันยังนิยมมากที่สุด นี่คือจากที่สังเกตมาจากสถานการณ์จริงเลยนะคะ เนื่องจากว่าน้ำของพืชชนิดนี้มีส่วนช่วยลดความขมของอาหารอย่างอื่นได้ ดังนั้นน้ำย่านางจึงมักถูกนำมาใช้ปรุงอาหารที่มีรสชาติขมค่ะ เช่น แกงหน่อไม้ แกงขี้เหล็ก เพื่อช่วยลดความขมและเพิ่มรสชาติให้อาหารอร่อยยิ่งขึ้นนั่นเอง และเหตุผลที่น้ำย่านางช่วยลดความขมในอาหารได้ ปกติถ้าผู้เขียนต้องใช้น้ำใบย่านางมักคั้นเองด้วยมือ และนำมากรองด้วยกระชอนอีกที ก่อนนำไปเทใส่ลงในหม้อและทำเมนูต่างๆ ค่ะ ซึ่งในตอนหลังมาจะคั้นแค่พอดีๆ ที่ต้องใช้จริง แต่ก่อนหน้านี้ที่กะยังไม่เป็น ก็จะคั้นมากจนต้องมีภาระในการเก็บรักษาเอาไว้ใช้หลังจากนั้นค่ะ ซึ่งเราสามารถเก็บรักษาน้ำใบย่านางได้นะคะ โดยน้ำย่านางเก็บในตู้เย็นได้นานประมาณ 3-5 วันค่ะ แต่ทั้งนี้ระยะเวลาที่เก็บได้นี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความสะอาดของภาชนะ หากภาชนะที่เก็บไม่สะอาด อาจทำให้น้ำย่านางเสียเร็วขึ้นได้ อีกทั้งอุณหภูมิของตู้เย็นก็มีส่วน ที่ควรเก็บในช่องเย็นที่อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส รวมไปถึงวิธีการปิดภาชนะ ที่ควรปิดภาชนะให้สนิท เพื่อป้องกันกลิ่นอื่นๆ เข้าไปปนเปื้อนค่ะ ที่ผู้เขียนทำบ่อยคือ จะใส่ถุงพลาสติกและมัดปากด้วยยางค่ะ จากนั้นนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง ซึ่งการนำน้ำย่านางไปแช่แข็งนี้ โดยทั่วไปแล้วสามารถเก็บได้นานประมาณ 6-12 เดือน แต่คุณภาพและรสชาติอาจจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาที่เก็บ จึงควรตรวจสอบก่อนนำมาก่อนนำน้ำย่านางแช่แข็งมาใช้ทุกครั้งจะดีที่สุด ซึ่งน้ำย่านางที่บูดแล้ว มักมีกลิ่นเปลี่ยนไปค่ะ ที่น้ำย่านางบูดจะมีกลิ่นเปรี้ยวหรือมีกลิ่นเหม็น และรสชาติจะเปลี่ยนไปจากเดิมด้วย ที่อาจเปรี้ยว หรือมีรสชาติอื่นๆ ที่ผิดปกติ และมีตะกอนเกิดขึ้น ซึ่งตั้งแต่ที่ผู้เขียนรู้จักใช้น้ำย่านางมานั้น โดยส่วนตัวยังไม่เคยเจอน้ำย่านางบูดค่ะ แต่ถ้าต้องซื้อน้ำย่านางจริงจากที่อื่นจริงๆ ก็มักเลือกจากร้านที่ไว้ใจได้ มีความสะอาดและน่าซื้อ ตลอดจนยังถามด้วยว่าเขาได้คั้นน้ำย่านางในวันนั้นไหม? เพื่อประเมินความปลอดภัยในการนำมาใช้ทำอาหารค่ะ โดยในตอนหลังมาซึ่งก็นานมากแล้วนั้น จากที่ผู้เขียนได้มีต้นใบย่านางเอง ก็ง่ายมากที่จะได้น้ำใบย่านางแบบสดและสะอาดมาใช้ตามความต้องการค่ะ เพราะตัวเองเก็บใหม่ทุกครั้งและควบคุมการคั้นเอง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าคุณผู้อ่านสนใจจะประยุกต์ใช้ต้นย่านางไปในทิศทางไหนกันบ้าง และจริงๆ นั้น หากไม่ได้นำมาทำอาหารบ่อย การปลูกใบย่านางขายก็เป็นอีกช่องทางในการทำรายได้ที่น่าสนใจค่ะ เพราะปลูกง่าย ปลูกครั้งเดียวเก็บขายเป็นพันครั้งได้ง่ายๆ ก็ลองคิดและพิจารณาดูค่ะ แต่ผู้เขียนก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😁 เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://intrend.trueid.net/post/404179 https://food.trueid.net/detail/5apnYn8DxMgd https://food.trueid.net/detail/eGZvrv8Re6DG หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !