...เมื่อเราพูดถึงทุเรียนไทย สายพันธุ์ที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก คือ ทุเรียนพันธุ์ "หมอนทอง" ซึ่งเป็นพันธุ์ทุเรียนของไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน เหตุที่ทุเรียนหมอนทองของไทย ได้รับความนิยมอย่างมาก ก็เนื่องจากหลายเหตุผล เช่น ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดลีบ จึงทำให้เป็นจุดเด่นที่มัดใจผู้บริโภคได้มาก จากความต้องการที่มากขึ้น ปัจจุบันการปลูกทุเรียนจึงมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งในไทย และต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม โดยเฉพาะพันธุ์ที่ได้ความนิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์หมอนทอง เพื่อมุ่งหวังว่าจะส่งออกไปยังตลาดจีนในโควต้าของแต่ละประเทศที่ปัจจุบันหลายประเทศได้รับอนุมัติให้นำเข้าทุเรียนแบบผลสดไปยังจีนได้แล้ว จากอดีตที่มีเพียงไทยประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตแต่อย่างไรก็ตาม ทุเรียน เมื่อปลูกในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการดูแลรักษาของแต่ละสวนที่แตกต่างกัน ทำให้คุณภาพที่ได้ มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เราจึงได้เห็นว่า ทุเรียน โดยเฉพาะพันธุ์หมอนทอง จากแหล่งต่างๆ ก็ไม่ได้มีรสชาติเหมือนกัน จึงได้ยินว่า ทุเรียนของแต่ละพื้นที่ กลายเป็นเอกลักษณ์ เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geograpgical IDentification; GI) เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ของทุกปี ทุเรียนตะวันออก (จันทบุรี ระยอง ตราด) ของไทย จะหมดพอดีและเริ่มเข้าสู่ฤดูใต้ ขณะเดียวกัน จะมีทุเรียน GI อีกหนึ่งแหล่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ออกมาพร้อมให้ทุกคนได้ลิ้นลองกันในช่วงหมดฤดูกาลของทุเรียนตะวันออกนั่นคือ ทุเรียนปราจีนบุรี โดยเฉพาะที่ "สวนเกษตรไฮเปอร์" ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมิง จังหวัดปราจีนบุรีทุเรียนหมอนทองพรีเมียม สวนเกษตรไฮเปอร์ ปราจีนบุรี... อร่อยกว่าที่อื่นอย่างไร? แล้วทำไมถึงเป็นทุเรียนพรีเมียม?ปัจจุบันมีการนำคำว่า "พรีเมียม" ไปใช้กับทุเรียนกันเยอะมาก ในแง่ของการส่งเสริมการขาย จูงใจให้ลูกค้าเข้าใจว่าเป็นทุเรียนคุณภาพดี แต่คำว่า "พรีเมียม" สำหรับทุเรียนหมอนทองแล้ว ควรจะต้องมีอะไรบ้าง 1. ทุเรียนหมอนทอง ตามมาตรฐานส่งออกนั้น จะต้องมีร้อยละของน้ำหนักแห้ง หรือ ที่นิยมเรียกกัน %แป้ง ซึ่งตามมาตรฐานสินค้าเกษตร ทุเรียน (มกษ.3-2556) ทุเรียนหมอนทองต้องมีแป้งขั้นต่ำที่ 32% ปริมาณของแป้งนี้ จะทำเปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลและกลิ่นหอมได้เมื่อทุเรียนสุก ดังนั้น ทุเรียนพรีเมียมต้องมีแป้งเกินเกณฑ์ขั้นต่ำไปหลายเท่าตัว เมื่อผู้เขียนได้ทดลองทดสอบแป้งทุเรียนหมอนทองจากสวนเกษตรไฮเปอร์ ปราจีนบุรี นั้น %แป้ง เมื่อวันหลังดอกบานที่ 115 วัน ก็ปาไป 37-39% กันแล้ว2. ปริมาณซัลเฟอร์สะสมในเนื้อทุเรียน ปกติแล้วทุเรียนหมอนทองที่มีซัลเฟอร์สะสมเยอะๆ จะทำให้ทุเรียนมีกลิ่นฉุนมากเวลาสุก จากการชิม ของสวนเกษตรไฮเปอร์ฯ "ไม่มีกลิ่นนี้เลย" สอดคล้องกับรายงานข้อมูลการวิเคราะห์ปริมาณซัลเฟอร์ในเนื้อทุเรียนปริมาณซัลเฟอร์ที่สะสมในเนื้อทุเรียนของสวนนี้ต่ำมากๆ จากเราได้สอบถาม ถึงเทคนิคการทำทุเรียนหมอนทองให้มีรสชาติลึกล้ำ เส้นใยน้อย เนื้อเป็นครีมคุณสุชาติ วงษ์สุเทพ เจ้าของสวนเกษตรไฮเปอร์ ปราจีนบุรี ได้เล่าให้เราฟังว่า ได้นำเทคโนโลยีการผลิตที่สำคัญที่ได้รับการส่งเสริมด้านงานวิจัย จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ เทคโนโลยีการผลิตทุเรียนแบบลุ่มน้ำ (Basin Fertigation; BF) และ เทคโนโลยีการสร้างรากใหม่ให้กับต้นทุเรียน (Reborn Root Ecosystems; RRE)Basin Fertigation คือ การให้ปุ๋ยและน้ำ ตามแบบฉบับทุเรียนลุ่มน้ำ (น้ำขึ้น-น้ำลง) และ การให้น้ำแบบหลายรอบแบบสั้นๆ ในรอบวัน เพื่อไม่ให้ค่า VPD (vapor pressure deficit) หรือ ค่าแรงดึงระเหยน้ำของอากาศ เข้าสู่สภาวะวิกฤต ซึ่งจะทำให้ใบทุเรียนหยุดการสังเคราะห์แสง BF จึงทำให้ต้นทุเรียนมีอัตราการสังเคราะห์แสงที่ยาวนานกว่าปกติและอัตราการดูดซึมปุ๋ยไปที่ใบและส่งต่อไปยังผลทุเรียน ได้ประสิทธิภาพมาก BF จึงทำให้ทุเรียนที่ได้มีความสมบูรณ์ของเนื้อ มีเส้นใยน้อย มีความเป็นครีมสูง พิเศษกว่าทุเรียนหมอนทองโดยทั่วไปReborn Root Ecosystems ระบบสร้างอินทรียวัตถุและเติมอากาศเข้าสู่ระบบรากทุเรียน พร้อมกับการอยู่ร่วมกันของรากและไมคอร์ไรซา ซึ่ง เป็นจุลินทรีย์ในดิน ประเภทเชื้อรา อาศัยอยู่บริเวณรากพืช ช่วยให้รากมีพื้นที่ในการดูดซึมธาตุอาหารสูงขึ้น และ ทำให้ระบบรากสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นเชื้อราที่ระบบราก จาก Phytophthora palmivora และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เมื่อระบบรากมีอากาศแลกเปลี่ยนถ่ายเทดี ทำให้ทุเรียนไม่เกิดอาการ "ไส้ซึม" คือ อาการที่เนื้อทุเรียนฉ่ำไปด้วยน้ำ เนื่องจากช่วงที่เก็บเกี่ยวมีฝนตก ทำให้ทุเรียนไม่อร่อย เนื้อไม่แห้ง และฉ่ำน้ำจนขม ซึ่ง RRE ได้แก้ปัญหานี้ได้อย่างหมดจด ผู้เขียนเองได้มีโอกาสได้ชิมทุเรียนหมอนทองจากหลายๆ แหล่งมาทั่วไป เช่น นนทบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด ยะลา ปัตตานี ชุมพร กาญจนบุรี ตาก ศรีษะเกษ ซึ่งแต่ละแหล่งล้วนแล้วแต่มีรสชาติที่อร่อยแตกต่างกัน แต่ความเป็นพรีเมียมของทุเรียนหมอนทองนั้น จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องของเนื้อที่หนา เมล็ดที่ลีบ และหวานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับความละเอียดของเนื้อทุเรียน ความเป็นเส้นใยน้อย (ซึ่งปกติทุเรียนหมอนทองจะมีเส้นใยสูงมาก) เนื้อทุเรียนมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นฉุนจากซัลเฟอร์ ลักษณะหนามทุเรียนละเอียด ปลายหนามคม ลักษณะเหล่านี้ บ่งบอกถึงการพัฒนาของลูกทุเรียนและเนื้อทุเรียนที่สม่ำเสมอ การดูแลอย่างปราณีต เมื่อเราได้ชิมทุเรียนหมอนทอง จากสวนเกษตรไฮเปอร์ ปราจีนบุรี ในปีนี้ (2566) หลังจากที่คุณสุชาติ ได้นำระบบ BF and RRE มาใช้ในสวนทุเรียนแล้ว เราพบว่า หนามทุเรียนมีความละเอียด ปลายหนามคม ทุเรียนแก่เร็วกว่าปกติที่ควรจะเป็น เมื่อชิมเนื้อทุเรียน ก็จะพบว่า เนื้อมีความเป็นครีมสูงมาก แทบจะไม่สัมผัสถึงความเป็นเส้นใยของหมอนทองเลย เนื้อมีแต่ความหอมจากสารประกอบกลิ่นในกลุ่มของเอสเทอร์ และมีกลิ่นฉุนจากสารประกอบกลิ่นกลุ่มซัลเฟอร์น้อยมากๆ ซึ่งบ่งบอกว่า การสะสมของซัลเฟอร์ในเนื้อทุเรียนสวนนี้ต่ำจริงๆ ซึ่งผู้บริโภคโดยคนจีน นิยมทุเรียนที่หวาน ครีม เหนียว หนึบ เช่น ทุเรียนมูซังคิง (D197) และ ทุเรียนหนามดำ (D200) จากมาเลเซีย แต่คนจีนลึกๆ แล้วก็ยังชื่นชอบความหนา เมล็ดลีบของทุเรียนหมอนทองของเราอยู่ หากว่าเราผลิตทุเรียนหมอนทองที่มีความเป็นครีม เหนียว หนึบ ดังเช่น ทุเรียนดัง 2 พันธุ์ของมาเลเซียแล้ว เชื่อว่า คนจีนจะไม่ทานทุเรียนพันธุ์อื่นเลย นอกจาก "ทุเรียนหมอนทอง" ... ที่คุณภาพแบบนี้ จากประเทศไทยผู้เขียนจึงอยากแนะนำสวนเกษตรไฮเปอร์ ปราจีนบุรี ซึ่งฤดูกาล 2566 นี้ ทำหมอนทองคุณภาพระดับพรีเมียมมากๆ จัดว่าเป็น อีกหนึ่งสวนหนึ่ง ที่ต้องไม่พลาดไปลิ้มลองสนใจทดสอบความอร่อยของทุเรียนหมอนทองพรีเมียม ได้ที่ สวนเกษตรไฮเปอร์ ตำบลไม้เค็ด อำเภอเมิง จังหวัดปราจีนบุรี ภาพปก โดยเจ้าของบทความ Tasteresterภาพที่ 1-5 โดยเจ้าของบทความ Tasteresterหิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !