วัตถุดิบในการทำ ผักกวางตุ้ง ไข่ไก่ 2 ฟอง หอม กระเทียม น้ำมันดอกทานตะวัน ซีอิ้วเห็ดหอมตราเด็กสมบูรณ์ น้ำตาลทราย ขั้นตอนการทำ จัดเตรียมวัตถุดิบต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ล้างทำความสะอาดผักกวางตุ้ง หั่นผักโดยแยกส่วนก้านและใบ เนื่องจากส่วนก้านค่อนข้างแข็ง ควรทุบกับมีดเล็กน้อย เพื่อให้ตอนผัดผักก้านจะได้อ่อนนิ่มเคี้ยวง่าย เมื่อเตรียมผักเรียบร้อยแล้ว ให้ปอกหัวหอมและกระเทียม ล้างทำความสะอาด ทุบแล้วหั่นทิ้งไว้ 5-10 นาที ให้สารอัลลิซินในกระเทียม ที่เกิดจากสารอัลลิอินและเอนไซม์อัลลิเนส รวมตัวกันก็ต่อเมื่อมีการทุบ หั่น ตัด บด หรือ เคี้ยว เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำตาลกลูโคสจากตับ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง ดังนั้นจึงควรทุบ หั่น กระเทียมทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาทีก่อนทำอาหาร ซึ่งสารอัลลิซินมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี จึงไม่สูญสลายไป และทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุดในระหว่างนี้ก็ให้ตอกไข่ ตีไข่ ไว้ให้พร้อม เมื่อเตรียมไข่เรียบร้อยแล้ว ตั้งกระทะหรือหม้อ ใส่น้ำมัน รอน้ำมันร้อน จากนั้นก็ใส่กระเทียมและหอมลงไปได้เลย ผัด ๆ ประมาณ 5 นาที ใส่ไข่ลงไปแล้วคน ๆ ให้ไข่สุก เมื่อไข่สุกแล้ว ให้ใส่ก้านกวางตุ้งลงไปก่อน ใส่น้ำเล็กน้อย ปรุงรสเพิ่มเติมด้วยน้ำตาลและน้ำปลา เมื่อเริ่มเดือดให้ใส่ส่วนใบลงไป คน ๆ ให้ทั่วหม้อ เมื่อเดือดอีกครั้งก็ยกกระทะ หรือหม้อออกมาได้เลย เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานก็จะสูญเสียวิตามิน A จากผัก ตักใส่จานพร้อมรับประทานได้เลย อร่อยมากค่ะ เสริมความรู้ให้เล็กน้อยจากเมนูนี้ "ผัดผักกวางตุ้งกับไข่" ส่วนประกอบหลัก ๆ ของเมนูนี้จะเป็นผักกวางตุ้ง ซึ่งเป็นผักตระกูลกะหล่ำ มีสารที่มีสมบัติต้านมะเร็ง ชื่อว่า “Glucosinolate” เมื่อ เคี้ยว/หั่น จะถูกเปลี่ยนโดย myrosinase ในเซลล์พืชเป็น “Isothiocyanate” คำแนะนำในการบริโภค มีงานวิจัยพบว่า การทานผักตระกูลกะหล่ำ 5 ส่วน (5 ทัพพี) ต่อสัปดาห์ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ ซึ่งวิธีการประกอบอาหารที่คงสาร “Isothiocyanate” ไว้ได้คือ การนึ่ง ผัด หรือใช้ไมโครเวฟ (รายละเอียดดังภาพเลยค่ะ) Credit: ข้อมูลจากเพจ facebook: Toxicology and Nutrition for Food Safety (สาขาพิษวิทยาและโภชนาการเพื่ออาหารปลอดภัย สถาบันโภชนาการ มหาลัยมหิดล) ภาพเปิดประชาสัมพันธ์สาธารณะให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล “ภาพประกอบทั้งหมดโดยนักเขียน”