ไซยาไนด์ เป็นสารอันตรายที่อาจจะทำให้เสียชีวิตได้หากร่างกายเราได้รับในปริมาณที่มากเกินไป โดยไซยาไนด์มีทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีในผักและผลไม้ตามธรรมชาติที่เรารับประทานในชีวิตประจำวัน เช่น มันสำปะหลัง หน่อไม้ ซึ่งมีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ นอกจากนั้นยังมีผักและผลไม้ชนิดอื่นอีกที่มีสารบางชนิดที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ จนกลายเป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก เรามาดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้างมันสำปะหลัง ( Cassava) มีสารไซยาไนด์ ต้องระวัง!มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีสารบางชนิด ที่สามารถเปลี่ยนเป็นสารอันตราย "ไซยาไนด์" ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด โดยสารเหล่านี้มีอยู่ในส่วนหัว และใบของมันสำปะหลัง ปริมาณไซยาไนด์ขึ้นกับชนิดของมันสำปะหลัง เรามักจะนำหัวมันสำปะหลังมาเชื่อม หรือ ไม่ก็เอาไปผลิตเป็นแป้งมัน เพื่อใช้ในการทำขนม หรือ นำมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารต่าง ๆ การรับประทานมันสำปะหลัง หรือ แป้งมันสำปะหลังที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ที่มากเกินไปก็อาจจะทำให้ร่างกายได้รับสารไซยาไนด์จนเป็นอันตรายได้เช่นกัน อย่างที่เคยมีข่าวคนเสียชีวิตจากการรับประทานอาหารที่ผลิตจากมันสำปะหลังที่เรียกว่า ”Gari” ซึ่งเป็นอาหารของชาวแอฟริกัน โดยมีคนเสียชีวิตพร้อมกันถึง 3 คนจากพิษของไซยาไนด์ที่อยู่ในหัวของมันสำปะหลัง ดังนั้นหากต้องการเลี่ยงอันตรายจากการได้รับสารไซยาไนด์ที่มากเกินไป ก็รับประทานอาหารเหล่านี้ให้น้อยลงค่ะ หน่อไม้ ( Bamboo Shoot) มีไซยาไนด์ตามธรรมชาติ เสี่ยงอันตราย!หน่อไม้เป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบ และนิยมรับประทานเนื่องจากมีรสชาติอร่อย หน่อไม้เป็นพืชอีกชนิดหนึ่ง ที่มีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์เจือปนในปริมาณมาก โดยเฉพาะหน่อไม้สด สำหรับเราการจะรับประทานหน่อไม้ เราจะนำมาต้มให้สุกก่อนทุกครั้ง โดยถ้าเป็นหน่อไม้สด เราจะนำมาต้มน้ำทิ้งอย่างน้อย 2 ครั้งก่อนนำมาประกอบอาหาร หรือ แม้แต่หน่อไม้กระป๋อง หน่อไม้ที่บรรจุหีบห่อมาอย่างดี เราก็นำมาต้มก่อนประกอบอาหารทุกครั้งเช่นกัน เพราะเราไม่มั่นใจว่าหน่อไม้ที่ซื้อมาผ่านการต้มมาอย่างดี จนปริมาณสารไซยาไนด์ในหน่อไม้ลดลงไปแล้วหรือยัง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของเราเองค่ะ ถั่วลิมา ( Lima Beans) อันตรายไม่แพ้กัน!!เป็นถั่วที่มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ประเทศเปรู ถั่วลิมาอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารทั้งโปรตีน และเส้นใยที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ก็อุดมไปด้วยสารที่สามารถแตกตัวเป็นไซยาไนด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน ดังนั้นหากเราต้องการรับประทานถั่วลิมา ต้องทำการต้มน้ำทิ้งก่อนนำมารับประทานเท่านั้น เอามาฝากเผื่อใครไปเที่ยวต่างประเทศจะได้ระมัดระวังอันตรายจากสารไซยาไนด์ในถั่วลิมาค่ะ แอปเปิ้ล (Apple) ก็มีสารไซยาไนด์แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่คนนิยมรับประทานเพราะมีประโยชน์ต่อร่างกาย เนื่องจากมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยต้านความแก่ แต่เชื่อมั้ยค่ะว่า แอปเปิ้ลก็มีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน แต่มีแค่ในเมล็ดเท่านั้นนะคะ หากเผลอรับประทานเข้าไปหนึ่งเม็ด ก็ไม่ต้องตกใจเพราะสารไซยาไนด์ที่อยู่ในเมล็ดแอปเปิ้ลมีปริมาณเพียง 3 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักเมล็ดแอปเปิ้ล 1 กรัม (เมล็ดแอปเปิ้ลมีน้ำหนักปริมาณ 0.7 กรัมต่อหนึ่งเมล็ด โดยมีสารไซยาไนด์เจือปนประมาณ 2.1 มิลลิกรัม) ซึ่งสารไซยาไนด์ที่จะก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายคือ 0.5-3.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม แต่ถึงแม้เมล็ดแอปเปิ้ลจะมีสารไซยาไนด์เพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรรับประทานค่ะแอปริคอต (Apricot) ก็มีไซยาไนด์ ต้องระวัง!!สำหรับผลแอปริคอตมีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะผลแอปริคอตดิบในส่วนของเมล็ด อันนี้จากคนที่เคยกินเล่าให้ฟังว่า มันจะมีรสขมหน่อย ๆ แอปริคอตเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ในยุโรปมีการเตือนเรื่องเป็นผลไม้ที่มีสารไซยาไนด์ ที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ผลไม้ที่มีเมล็ดแข็งชนิดอื่น เจอสารไซยาไนด์ได้เช่นกันผลไม้ที่มีสารที่สามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์โดยส่วนใหญ่เป็นผลไม้ที่มีเมล็ดแข็ง เช่น แอปเปิ้ล แอปริคอต นอกจากนั้นยังมีเชอรี่แดง เชอรี่ดำ ลูกพีช ลูกพลัม สำหรับเชอรี่เคยมีคนกินน้ำเชอรี่สกัด ช็อคหมดสติ และตรวจพบว่ามีสารไซยาไนด์ในเลือดจำนวนมาก จนทำให้หมดสติได้ อันนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เราไปเก็บเชอรี่สด ๆ กินที่ต้น หลังจากนั้นก็รู้สึก ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้ ซึ่งก็คาดว่าร่างกายน่าจะได้รับสารไซยาไนด์เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จนทำให้เป็นพิษ ต่อไปเรามาดูกันค่ะว่า อาการเป็นพิษจากสารไซยาไนด์ มีอะไรบ้าง เป็นอย่างที่เราเล่าให้ฟังจริงมั้ยอาการเป็นพิษจากสารไซยาไนด์ หากร่างกายเราได้รับสารไซยาไนด์จะมีอาการมาก หรือน้อย ขึ้นกับปริมาณไซยาไนด์ที่ร่างกายได้รับ และน้ำหนักของร่างกายของแต่ละคน โดยอาการเป็นพิษจากไซยาไนด์มีตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ปวดหัว เวียนหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงอาการมาก เช่น หายใจเร็ว ความดันตก ช็อก หมดสติ หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว หากเราพบคนที่มีอาการหมดสติโดยสงสัยว่าอาจจะได้รับสารไซยาไนด์มากเกินไป เช่น มีอาการหลังจากการรับประทานมันสำปะหลัง หรือรับประทานหน่อไม้ ห้ามทำการผายปอดเด็ดขาด เพราะเสี่ยงที่สารไซยาไนด์จะแพร่เข้าสู่ร่างกายของผู้ช่วยเหลือได้ ก็ต้องระวังค่ะ สารไซยาไนด์นอกจากมีในผัก ผลไม้ตามธรรมชาติแล้วยังมีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ สิ่งทอ เครื่องประดับ ทอง ซึ่งถ้ามีการจัดการไม่ดี ก็อาจจะปนเปื้อนเช่นเดียวกับสารเคมีชนิดอื่น นอกจากนั้นยังมีการตรวจพบสารไซยาไนด์ในอาหารอีกหลายชนิด แล้ววันหลังจะมาเล่าให้ฟังใหม่ เผื่อใครยังไม่รู้ จะได้ไม่ไปเผลอรับประทานอาหารผสมไซยาไนด์เกินปริมาณจนทำให้เป็นพิษ และเสียชีวิตได้ วันนี้ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่นะคะบทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจhttps://food.trueid.net/detail/XKZ2rvg807DKวิธีทำน้ำใบเตย สูตรทำง่าย หอม หวาน ชื่นใจ ดับกระหาย คลายร้อน (trueid.net)5 อาหารที่ควรเลี่ยงมากที่สุด เมื่อเดินทางมาจากต่างประเทศ (trueid.net)รีวิว 6 ข้อดีเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเยอรมัน เครื่องปั่น Bosch (trueid.net)รีวิวสินค้าไทยในสวีเดนยุคของแพง 2022 (trueid.net)รวมของกินเล่นในเซเว่น อร่อยดี มีประโยชน์ เคี้ยวเพลิน จนหยุดไม่ได้ (trueid.net)เครดิต ภาพปก โดยผู้เขียนภาพที่ 2 โดย Daniel Dan จาก Pexelsภาพประกอบอื่น ๆ โดยผู้เขียนBy Nurseonomy หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !