ในการทำอาหารใด ๆ สักเมนูหนึ่ง คงเป็นการแปลกหากพ่อครัวแม่ครัวไม่เลือกสรรวัตถุดิบที่ดีที่สุด, สดที่สุดมาเพื่อทำอาหารเมนูนั้น ๆ ในบทความนี้ผมอยากจะเชิญชวนท่านผู้อ่านทุก ๆ ท่านให้หันมาลองทำอาหารแบบอนุรักษ์ธรรมชาติกันบ้าง หลายท่านอาจยังสงสัยว่าความหมายของการทำอาหารเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นเช่นไร ผมจะขอนำเสนอวิธีการทำอาหารแบบอนุรักษ์และสูตรอาหารตำหรับคุณยายที่ผมได้มาในย่อหน้าต่อไป การทำอาหารเชิงอนุรักษ์สื่อความหมายถึงการทำอาหารโดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยทั่วไปการทำอาหารจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้ในหลายทาง ในบทความนี้ผมของนำเสนอ 3 ตัวแปรสำคัญของการทำอาหารที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยง่าย ตัวแปรแรกคือ เศษอาหาร ในการรังสรรค์เมนูต่าง ๆ ย่อมเกิดเศษที่เหลือจากการประกอบอาหารเป็นเรื่องธรรมดา แต่รู้ไหมครับว่าเศษอาหารเหล่านี้เมื่อนำมารวมกันจนกลายเป็นกองเศษอาหารและเมื่อปล่อยให้กองอาหารเหล่านี้ให้ถูกกองทิ้งไว้เป็นเวลานาน ๆ แบคทีเรียจะทำการย่อยสลายสารอาหารเหล่านี้ แบคทีเรียตัวการสำคัญคือแบคทีเรียประเภทไม่ใช้ออกซิเจน ที่จะย่อยสลายเศษอาหารให้กลายเป็นก๊าซมีเทนซึ่งถือเป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนของโลกเรา ทางผู้แต่งจึงอยากเชิญชวนให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมาร่วมมือกันลดเศษอาหารที่เหลือจากการทำอาหาร โดยหันมารังสรรค์เมนูอาหารจากเศษที่เหลือจากการประกอบอาหารเฉกเช่น เมนู แกงส้มเปลือกแตงโม หรือเปลือกมันฝรั่งทอดกรอบเป็นต้น ตัวแปรที่ 2 คือ การเลือกใช้ส่วนยอดอ่อนของพืช ในการทำอาหารยอดอ่อน ๆ ของพืชนั้นเป็นส่วนที่เราทุกคนต้องการ เพราะเป็นส่วนที่จะนุ่ม กรอบ และเคี้ยวง่ายกว่าส่วนอื่น ๆ ในเมนูอาหารตำหรับคุณยายที่ทางผู้เขียนจะได้เขียนในย่อหน้าต่อไปนั้นทางผู้เขียนเลือกใช้ใบแก่ ๆ ของสมุนไพรไทยเป็นหลักเพราะทางผู้แต่งมีความคิดว่า การเด็ดยอดอ่อนนั้น จะเป็นการทำลายใบพืชที่กำลังเติบโตไปเป็นใบที่เต็มวัยที่สามารถสร้างก๊าซออกซิเจนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ทางผู้แต่งจึงอยากจะเชิญชวนผู้อ่านทุกๆท่านให้หันมาลองนำใบแก่ ๆ ใบที่ปกติพ่อครัวแม่ครัวไม่ใช้กันมาประกอบอาหารกันเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวแปรสุดท้ายคือ การปลูกผักเชิงพาณิชย์ ผู้แต่งอยากจะเชิญชวนให้ผู้อ่านทุก ๆ ท่านหันมาลองปลูกผัก ผลไม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ประกอบอาหารเอง เพราะในการปลูกผักแบบพาณิชย์ตามตลาดที่เราซื้อๆกันอาจมีการฉีดสารเคมีเพื่อฆ่าแมลงรวมถึงอาจมีการถางป่าเพื่อทำไร่ต่าง ๆ ทางผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ทางผู้อ่านหันมาปลูกผักต่าง ๆ ไว้ประกอบอาหารเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สูตร "ยำไข่เยี่ยวม้าโบราณของยายวลี" ในสูตรยำไข่เยี่ยวม้าประกอบไปด้วย หัวหอมครึ่งลูก หอมแดง 3 หัวเล็ก ใบมะกรูด 4-5 ใบ ใบโหระพา 15-20 ใบ ไข่เยี่ยวม้า 3 ฟอง น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลโตนดละลาย 1 ช้อนโต๊ะ มะนาว 3 ลูก กระเทียม 2 กลีบ ขั้นตอนในการทำ ผสมน้ำปลา น้ำมะนาวคั้น น้ำตาล ในสัดส่วนข้างต้น ซอยหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม แบบละเอียดแล้วนำมาผสมรวมกัน ซอยใบมะกรูดและโหระพาให้ละเอียด นำไข่เยี่ยวม้ามาผ่าครึ่งฟอง จัดวางไข่เยี่ยวม้าเตรียมไว้บนจาน นำเครื่องที่ได้ทำการซอยไว้มารวมกับน้ำยำแล้วคลุกให้เข้ากัน ราดน้ำยำลงบนไข่เป็นอันเสร็จสิ้น สำหรับเมนูสูตรคุณยายเมนูถัดไปสามารถติดตามชมได้ในบทความถัดไปครับผม