ข้าวหมาก คืออะไร รสชาติเป็นยังไง อร่อยไหม | บทความโดย Pchalisa หลายคนอาจเคยได้ยินขนมที่ชื่อว่า “ข้าวหมาก” มาบ้าง และหลายคนก็อาจจะเคยได้ลิ้มลองรสชาติมาแล้ว แต่บางคนก็ยังกล้าๆ กลัวๆ จึงยังไม่เคยได้ลองกับเขาสักที ซึ่งสำหรับผู้เขียนนั้นต้องบอกว่าเป็นคนที่ได้มีโอกาสได้ลองทานข้าวหมากมาหลายครั้งเหมือนกันค่ะ ทั้งที่เป็นข้าวหมากแบบดูหรูหราหน่อย กับข้าวหมากแบบห่อใบตองมาที่เป็นฝีมือของคนธรรมดาทำเอง ดังนั้นในบทความนี้จึงอยากมาแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับรสชาติของข้าวหมากให้คุณผู้อ่านได้รู้กันค่ะ และเนื่องจากว่าผู้เขียนมีโอกาสได้เห็นการทำข้าวหมากมาก่อนด้วย แต่โดยส่วนตัวยังไม่เคยทำด้วยตัวเอง และส่วนประกอบหลักของข้าวหมาก มีดังนี้นะคะ ข้าวเหนียว: เป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาหมัก แป้งข้าวหมาก: เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดกระบวนการหมัก น้ำ: ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียวและผสมกับแป้งข้าวหมาก จากที่ผู้เขียนได้สังเกตมานั้น คนในชนบทไม่ได้เลือกมากว่าข้าวเหนียวต้องเป็นพันธุ์ที่จำเพาะเจาะจงค่ะ ส่วนแป้งข้าวหมากส่วนมากคนที่ทำข้าวหมากจะหาซื้อจากคนที่ทำแป้งข้าวหมากขาย และน้ำที่ใช้ก็คือน้ำสะอาดที่เรามีอยู่แล้วในบ้านค่ะ รสชาติของข้าวหมากมีความหวานหอมที่เป็นเอกลักษณ์ค่ะ ซึ่งเป็นรสชาติหลักที่ได้จากการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ความหวานของข้าวหมากจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของข้าวเหนียวและระยะเวลาในการหมักนะคะ ข้าวหมากมักกลิ่นหอมของข้าวหมากเกิดจากสารประกอบระเหยต่างๆ ที่ผลิตขึ้นในระหว่างกระบวนการหมัก กลิ่นหอมนี้เป็นเอกลักษณ์ของข้าวหมาก ทำให้รู้สึกน่าทานมากขึ้นค่ะ อีกทั้งขนมชนิดนี้ยังสามารถมีรสชาติอมเปรี้ยวเล็กน้อยได้ด้วย ที่เกิดจากการผลิตแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย จึงทำให้ข้าวหมากมีรสชาติที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นค่ะ และเวลาเราทานข้าวหมากจะพบว่า เนื้อสัมผัสของข้าวหมากจะนุ่มเนียน เพราะแป้งในข้าวเหนียวถูกย่อยสลายไปในระหว่างกระบวนการหมักค่ะ โดยสิ่งที่ควรสังเกตเมื่อต้องเลือกซื้อข้าวหมาก คือ ต้องเลือกข้าวหมากที่ดีจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่ฉุน ไม่เปรี้ยว แต่ต้องหอมหวานค่ะ เนื้อข้าวเหนียวควรมีความนุ่ม ยุบตัวได้เล็กน้อย ไม่แข็งกระด้าง หรือมีส่วนที่เป็นเม็ดแข็ง สีของข้าวหมากโดยทั่วไปจะเป็นสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อนๆ ไม่ควรมีสีผิดปกติ เช่น สีเทา สีดำ หรือมีราขึ้น ข้าวหมากที่ดีจะมีน้ำข้าวหมากออกมาเล็กน้อย รสชาติหวานกลมกล่อม ไม่ขม หรือเปรี้ยว และให้เลือกข้าวหมากที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท เพื่อป้องกันการปนเปื้อนค่ะ การเก็บรักษาข้าวหมากยังสามารถทำได้นะคะและเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ข้าวหมากคงความอร่อยและสดใหม่ได้นานยิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งวิธีการเก็บรักษาข้าวหมากให้อร่อยนานขึ้น สามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้ การเก็บรักษาในระยะสั้น หากคุณผู้อ่านต้องการทานข้าวหมากภายใน 2-3 วัน สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องได้ โดยห่อด้วยใบตองหรือภาชนะที่ปิดสนิท เพื่อป้องกันกลิ่นและสิ่งสกปรกค่ะ และเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ให้ห่อข้าวหมากด้วยพลาสติกห่ออาหารหรือใส่ภาชนะปิดสนิท แล้วนำเข้าตู้เย็นช่องใต้ช่องแช่แข็ง ซึ่งการทำแบบนี้ข้าวหมากจะเก็บได้นานขึ้นประมาณ 1-2 สัปดาห์นะคะ การเก็บรักษาในระยะยาว ควรใส่ข้าวหมากลงไปในถุงซิปล็อกหรือภาชนะที่ปิดสนิทค่ะ จากนั้นให้นำเข้าช่องแช่แข็ง เมื่อต้องการทานก็นำออกมาละลายความเย็น ซึ่งมีข้อควรระวังว่า อย่าแช่แข็งข้าวหมากที่ห่อด้วยใบตอง เพราะใบตองจะทำให้ข้าวหมากเกิดกลิ่นและเสียรสชาติได้นะคะ ให้หลีกเลี่ยงการเก็บข้าวหมากไว้ในที่อับชื้น เพราะจะทำให้ข้าวหมากขึ้นราได้ง่าย และตรวจสอบความสดทุกครั้ง โดยตรวจสอบว่าข้าวหมากมีกลิ่นและรสชาติปกติหรือไม่ หากมีกลิ่นเปรี้ยวหรือมีราขึ้น แบบนี้ควรทิ้งทันทีนะคะ ก็จบแล้วค่ะ พอจะมองภาพออกแล้วใช่ไหมคะว่า ที่มาที่ไปของข้าวหมากเกิดจากอะไร รสชาติเป็นแบบไหน ทำไมหอมหวาน และทำไมเปรี้ยว ปกติผู้เขียนนานๆ ทีถึงจะได้ทานข้าวหมากค่ะ โดยในตอนหลังมาสามารถหาข้าวหมากได้ง่ายขึ้น เพราะมีคุณยายคนหนึ่งทำขายในพื้นที่ และดูเหมือนจะมีขายตลอดค่ะ การทานข้าวหมากของผู้เขียนทานไปเพื่อเป็นของว่าง ที่ทานแต่ละทีไม่เกิน 10 คำค่ะ และถ้ามีข้าวหมากเหลือจะนำไปเก็บไว้ในตู้เย็นและทานเวลาอื่นต่อ ยังไงนั้นหากคุณผู้อ่านสนใจอยากทานข้าวหมากจริงๆ สมัยนี้ในห้างสรรพสินค้าก็มีขายแล้วนะคะ ก็ลองแวะเวียนไปซื้อมาทานกันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ😁 เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกโดยผู้เขียน ภาพประกอบเนื้อหา: ภาพที่ 1-2, 4 ถ่ายภาพโดยผู้เขียน และภาพที่ 3 ออกแบบใน Canva ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/0Q2J6X1may2Q https://food.trueid.net/detail/Bpm7jJrM9loq https://food.trueid.net/detail/70blRrERlRng หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !