ชาเขียว Green Tea กับ มัทฉะ Matcha สีเขียวเหมือนกัน แล้วต่างกันยังไง

ชาเขียว Green Tea กับ มัทฉะ Matcha สีเขียวเหมือนกัน แล้วต่างกันยังไง
MEEKAO
24 กันยายน 2564 ( 17:45 )
16.1K

     ชาเขียวธรรมดา กับชาเขียวมัทฉะต่างกันยังไง สรุปง่ายๆ ให้เข้าใจในเวลาสั้นๆ ! สำหรับใครที่เป็นสาย ชาเขียวเลิฟเวอร์ หรือ Matcha Lovers หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่จริงแล้ว ชาทั้งสองชนิดนั้นมีความแตกต่างกันอยู่ ถึงแม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีสีเขียวด้วยกันทั้งคู่ แต่ทั้งกรรมวิธีการผลิต รสชาติ กลิ่น และรสสัมผัสนั้นไม่เหมือนกันนะจ๊ะ เอาล่ะ ถ้าอยากรู้แล้วว่า ชาเขียว Green Tea กับ มัทฉะ Matcha ต่างกันตรงไหน ก็ตามเรามาหาคำตอบกันเลยค่ะ

 

 

ชาเขียวธรรมดา ชาเขียวมัทฉะ ต่างกันยังไง

 

     ชาเขียว กับ มัทฉะ ชาทั้งสองตัวนี้จะเป็นชาเขียวที่มีลักษณะต้นชาเหมือนกัน หรือเรียกได้ว่าเป็นต้นเดียวกันเลยก็ได้ แต่มีกรรมวิธีในการปลูก การผลิต และแปรรูปที่ต่างกัน ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่นเหมือนกัน ซึ่งชาเขียวสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้เป็น 4 ประเภท ที่คนรู้จักกันอย่างแพร่หลาย และหาซื้อได้ง่าย คือ

 

  • Sencha (เซนฉะ) ใบชาเขียว หรือ Green Tea ที่อบจนแห้ง มีรสหอม หวานโคนลิ้น ดื่มง่าย สีของน้ำชาจะเป็นสีเขียวอ่อน
  • Genmaicha (เกนไมฉะ) ชาข้าวคั่ว คือการนำใบชาเขียวมาผสมกับข้าวคั่ว ข้าวพอง น้ำชาที่ได้จะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ สีของน้ำชาจะมีสีเหลืองอ่อน
  • Hojicha (โฮจิฉะ) ใบชาเขียวที่คั่วผ่านความร้อน จนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดงมีความเข้มคล้ายชาจีน แต่มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีของน้ำชาจะเป็นสรน้ำตาลใส
  • Matcha (มัทฉะ) ผงยอดอ่อนใบชา บดละเอียด จนสามารถละลายน้ำได้

 

     ซึ่งชาเขียวที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกก็คือ Sencha (เซนฉะ) หรือ ชาเขียว Green Tea และ Matcha (มัทฉะ) นั่นเองค่ะ

 

 

ขั้นตอนการชง ชาเขียว Green Tea และ มัทฉะ Matcha

 

     เรียกได้ว่าสิ่งที่ทำให้เราสามารถแยกชาเขียวกับมัทฉะ ว่าแตกต่างกันอย่างไร ที่ง่ายที่สุดก็คือขั้นตอนการชงนั่นเองค่ะ เพราะชาทั้ง 2 ชนิด มีขั้นตอนการชงที่แจกต่างกันโดยสิ้นเชิง

 

วิธีการชงชาเขียว

     การชงชาเขียว เป็นการนำใบชามาแช่ในน้ำร้อน ซึ่งต้องชงด้วยน้ำร้อนที่อุณภูมิไม่ร้อนจนเกินไป (ประมาณ 80 องศาเซลเซียส) และก่อนดื่มต้องกรองน้ำชาผ่านตัวกรองก่อน เพราะใบชาเขียวจะไม่สามารถละลายน้ำได้ โดยเวลาในการแช่ใบชาไม่ควรแช่นานเกินไปเพราะจะทำให้น้ำชาเฝื่อน และขม

 

วิธีการชงมัทฉะ

     การชงมัทฉะ เป็นการผสมผงชาเข้ากับน้ำร้อน น้ำเย็น หรือนมเย็น ถ้าชงด้วยน้ำร้อนจะต้องควบคุมอุณภูมิของน้ำเพราะถ้าใช้น้ำร้อนจัดเกินไป รสชาติชาจะมีความเฝื่อน ขม และการผสมชาควรใช้แปรงตีชา (Chasen) ตีผสมชาเป็นรูปตัว M เพราะเป็นการคนที่จะช่วยให้ผงชาละลายได้ดีที่สุด และเกิดฟองสวยงาม

 


ลักษณะชา

ชาเขียว : มีลักษณะเป็นใบชาแห้ง ซึ่งความละเอียดของใบอาจจะแตกต่างกันออกไป

มัทฉะ : ลักษณะเป็นผง มัทฉะเป็นอาหารที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เป็นการนำยอดอ่อนใบชาเขียวมาบดจนเป็นผงละเอียดมากๆ จนเหมือนผงแป้ง

 

สีของน้ำชา

ชาเขียว : น้ำชาจะมีสีเขียว ใส ถ้าชงแล้วปล่อยทิ้งไว้จะไม่ค่อยตกตะกอน

มัทฉะ : ลักษณะจะมีสีเขียวขุ่น เข้มข้น สีอาจจะอ่อนหรือแก่ ขึ้นอยู่กับการผลิตของแต่ละพื้นที่ เมื่อชงน้ำชาวางทิ้งไว้ผงชาจะตกตะกอนไปที่ก้นแก้ว

 

 

กลิ่น

ชาเขียว : มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ บางวิธีการชงอาจจะทำให้น้ำชามีกลิ่นคล้ายสาหร่าย ที่ประเทศไทยนิยมอบใบชาเขียวพร้อมดอกมะลิ จะทำให้กลายเป็นกลิ่นชาเขียวมะลิ

มัทฉะ : มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ของยอดอ่อนใบชา มีกลิ่นหอมนวลๆ ขึ้นจมูก

 

รสชาติ รสสัมผัส

ชาเขียว : เป็นน้ำชาใสๆ หอมกลิ่นใบชา มีกลิ่นอูมามิ สดชื่น ไม่ขม

มัทฉะ : น้ำชามีลักษณะนวล เนียน เข้มข้น ไม่ขม หอมโดดเด่น มีรสอูมามิชัดเจน มีความข้นกว่าการชงแบบใบชา บางคนอาจจะสัมผัสได้ถึงความเป็นผงๆ ตอนดื่ม เหมาะกับการดื่มแบบร้อน เอามาชงกับนม นำมาทำไอศกรีม และผสมในขนมต่างๆ

 

การปลูก

ชาเขียว : ปลูกกลางแจ้ง แบบปกติ

มัทฉะ : มีขั้นตอนการปลูกและการดูแลที่ละเอียดทุกขั้นตอน ต้นชาจะต้องปลูกในร่มเท่านั้น มีการกางสแลนคลุมเพื่อไม่ให้ใบชาโดนแดด ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ต้นชาผลิตคลอโรฟิลล์มากขั้น จึงทำให้ยอดใบชามีสีเขียวเข้ม กว่าชาเขียวปกติ

 

ราคา

ชาเขียว : ด้วยขั้นตอนการปลูก และการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก จึงทำให้มีราคาไม่สูงมาก

มัทฉะ : มัทฉะเป็นใบชาที่ต้องใช้ขั้นตอนการปลูก การเก็บเกี่ยว และการผลิตที่ละเอียด นึงทำให้ผงมัทฉะมีราคาสูง ยิ่งคุณภาพดี ก็ยิ่งแพง

 

อุปการณ์ที่ใช่ในการชงชา

อุปกรณ์ในการชงชาเขียว

  1. ใบชาเขียว
  2. กาน้ำชา พร้อมที่กรองใบชา
  3. ถ้วยชา

 

อุปกรณ์ในการชงมัทฉะ

  1. ผงมัทฉะ
  2. ที่ตักมัทฉะ
  3. แปรงตีชา (Chasen) หรือที่ตีฟองชา ทำมาจากไม้ไผ่
  4. ที่กรองผงมัทฉะ
  5. ถ้วยชา

 

 

การเก็บรักษาชาเขียว และมัทฉะ

     จริงๆ แล้วชาทั้งสองชนิดมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ค่ะ

  1. ไม่ควรวางชาอยู่ใกล้กับอาหารที่มีกลิ่น
  2. เวลานำชาไปให้ห้ามใช้มือหยิบ ควรใช่ช้อนที่แห้งสนิทเท่านั้น
  3. ควรรักษาความชื้นของใบชา และผงชา รีบเปิดและรีบปิดภาชนะใส่ชา
  4. เวลาปิดถุงชาควรรีดอากาศให้ออกจากถุงก่อนที่จะปิดถุงให้สนิท
  5. ห้ามนำถุงชาหรือกระปุกชาไปโดนแดด ควรใส่ในภาชนะทึบแสงเท่านั้น
  6. ปิดฝาถุงให้สนิท พยายามอย่าให้อากาศเข้าไปในถุงได้ เพราะความชื้นในอากาศจะทำให้ชามีรส สี กลิ่น ที่เปลี่ยนไปได้

 

บทความที่คุณอาจสนใจ

 

---------------------------

 

อัพเดทคาเฟ่สุดชิล รีวิวร้านอร่อยร้านดัง แจกสูตรอาหารเด็ดๆ
มาพูดคุยแชร์รูปยั่วน้ำลาย ให้สายกินต้องอิจฉา
ที่แอปทรูไอดี คลิกเลย > TrueID Food Community <