ผักอีท่อน คืออะไร กินสดหรือลวกดี มีรสขมไหม | บทความโดย Pchalisa ผักพื้นบ้านตามท้องถิ่นในสถานการณ์จริงๆ นั้น ค่อนข้างมีความหลากหลายมากค่ะ ที่บางชนิดผู้เขียนเองก็เพิ่งจะมาเคยได้ยินมาเมื่อไม่นานนี้ เช่น ผักอีท่อน “อีท่อน” คำนี้เป็นภาษาอีสานที่เป็นชื่อของผักพื้นบ้าน ที่หลายคนอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อนเลย โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้สนใจผักในท้องถิ่นค่ะ ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะมาส่งต่อเนื้อหาเกี่ยวกับผักอีท่อน ตั้งแต่หน้าตาของต้นผักอีท่อนเป็นแบบไหน ส่วนไหนทานได้ แล้วทานแล้วอร่อยไหม รสชาติเป็นยังไง ต้องอ่านต่อให้จบค่ะ เพราะคำตอบของเรื่องผักอีท่อนมีมาให้แล้ว ดังนี้ข้อมูลต่อไปนี้ ผักอีท่อนหรือผักทิ้งถ่อน เป็นพืชพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ผักหนาม ผักหวานป่า หรือ สะเดาช้าง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีใบประกอบคล้ายขนนก โดยลักษณะของต้นผักอีท่อนมีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งทำให้เราสามารถแยกแยะได้ง่ายเมื่อพบเจอในธรรมชาติ และลักษณะทั่วไปอย่างอื่น เช่น ลำต้น: มีลำต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึงหลายเมตร เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม มีรอยแตกตื้นๆ แต่หนาแน่น กิ่งก้านใหญ่และบิดงอ เปราะ ใบ: ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยขนาดใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียวเข้ม ดอก: ดอกออกเป็นช่อกลมใหญ่ สีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงเย็น ผล: ผลมีขนาดใหญ่ รูปร่างยาวรี ผิวเรียบ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และแตกออกเพื่อปล่อยเมล็ดค่ะ หลายคนยังไม่รู้ว่า ผักอีท่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่นและภูมิภาค ที่บางชื่อที่พบบ่อยก็มักได้ยินบ่อยครั้ง ดังนี้ ทิ้งถ่อน ซึก ซิก บางทีเรียกว่า ก้านฮุ้ง เป็นชื่ออีกหนึ่งชื่อที่เรียกในบางพื้นที่ของภาคอีสานค่ะ โดยการเรียกผักชนิดว่า ถ่อนนา สามารถพบได้ในจังหวัดเลย และยังพบว่ามีการเรียกว่า พระยาฉัตรทัน ซึ่งเป็นชื่อเรียกในบางพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมากมาย เช่น มะขามโคก มะรุมป่า จ๊าขาม ตุ๊ด กรีด แกร๊ะ กาแซ กาไม เป็นต้น ซึ่งเหตุผลที่ผักอีท่อนมีชื่อเรียกหลากหลาย อาจเป็นเพราะว่า ลักษณะทางกายภาพ: พืชชนิดนี้อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปเล็กน้อยในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไปค่ะ การนำไปใช้ประโยชน์: แต่ละท้องถิ่นอาจนำผักอีท่อนไปปรุงอาหารหรือใช้ประโยชน์แตกต่างกัน ทำให้เกิดชื่อเรียกที่สื่อถึงการใช้งานนั้นๆ ภาษาถิ่น: แต่ละท้องถิ่นมีภาษาและสำเนียงที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเรียกชื่อที่แตกต่างกันไป ผักอีท่อนเป็นพืชท้องถิ่นที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหาร เพราะมีรสชาติอร่อย ส่วนที่เรานำมากินคือ ยอดอ่อน ซึ่งมีเนื้อสัมผัสกรอบ อ่อนนุ่ม และมีรสชาติหวานมันเล็กน้อย ทำให้สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ผัดไฟแดง แกงเลียง หรือต้มจืดค่ะ ซึ่งผักชนิดนี้ผู้เขียนมีโอกาสได้ทานบ่อยเมื่อไม่นานมานี้ค่ะ โดยต้นอีท่อนที่สามารถให้ยอดได้นั้น เป็นต้นของคุณตาข้างบ้านที่ไม่ได้หวง แต่กลับบอกให้ผู้เขียนไปเก็บมาทานได้เลยแบบไม่ต้องขอค่ะ เพราะบ้านตาไม่ค่อยมีคนสนใจทานผักมากนัก โดยจากที่ผู้เขียนได้เก็บผักชื่อนี้มาทานเรื่อยๆ นั้น พบว่า เมื่อเราไปเก็บยอดอ่อนมาลวกแล้ว อีกไม่นานก็มียอดชุดใหม่แตกอ่อนมาค่ะ ดังนั้นหากใครมีต้นอีท่อนสามารถตัดแต่งกิ่งเพื่อให้มียอดอ่อนได้เรื่อยๆ ค่ะ รสชาติของผักอีท่อนสดลวกอร่อยค่ะ ที่ผักอีท่อนสดลวกนั้นมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ที่โดยทั่วไปแล้วจะมีรสชาติ ดังนี้ค่ะ หวานมัน: ยอดอ่อนของผักอีท่อนจะมีความหวานมันเล็กน้อย ซึ่งเป็นรสชาติที่หลายคนชื่นชอบค่ะ กรอบ: เนื้อสัมผัสของผักอีท่อนสดลวกจะมีความกรอบเล็กน้อย ทำให้เคี้ยวเพลิน กลิ่นหอมอ่อนๆ: ผักอีท่อนจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่ะ และเคล็ดลับในการทานผักอีท่อนให้อร่อย ให้ทำตามนี้ค่ะ เลือกยอดอ่อน: ควรเลือกยอดอ่อนที่ยังไม่แก่เกินไป จะได้รสชาติที่หวานอร่อยมากขึ้นค่ะ ลวกพอสุก: การลวกผักอีท่อนไม่ควรนานเกินไป เพราะจะทำให้ผักเละและเสียรสชาตินะคะ จิ้มน้ำพริก: การจิ้มผักอีท่อนสดลวกกับน้ำพริกต่างๆ จะช่วยเพิ่มรสชาติและความอร่อยได้มากขึ้น จากที่ผู้เขียนได้ลวกผักชนิดมาบ่อยครั้งนั้น มีจุดสังเกตว่า เมื่อผักอีท่อนที่เรานำมาลวกเปลี่ยนสี เพียงเท่านี้ก็ให้ตักออกได้เลยค่ะ ผักอีท่อนลวกทานได้ง่ายและอร่อย ไม่มีความขมหรือเหม็นเขียวค่ะ ทานกับน้ำพริกได้หลากหลาย ลวกง่ายและเตรียมง่าย หากเตรียมผักลวกชนิดนี้ให้ผู้สูงอายุที่ไม่มีฟัน แนะนำว่าให้ลวกให้เละค่ะ เพราะถ้าลวกแบบรวดเร็วอาจเคี้ยวได้ยาก ที่ผ่านมาผู้เขียนยังไม่พบการขายผักทิ้งท่อนที่ตลาดเลยค่ะ ก็ไม่รู้ว่าเพราะมีน้อยหรือยังไงค่ะ แต่ถ้าคุณผู้อ่านพบยอดผักคล้ายกับรูปในบทความนี้ ก็อย่าลืมลองซื้อและนำมาลวกทานเป็นผัก เพราะการทานผักคือแนวทางส่งเสริมสุขภาพวิธีการหนึ่ง และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/YWBYDyrpvyaq https://food.trueid.net/detail/bk1pQlOYME4X https://food.trueid.net/detail/pM8PXjGDJR5M เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !