ลิ้นฟ้าหรือเพกา คือผักอะไร มีรสชาติยังไง ทำเมนูไหนดี | บทความโดย Pchalisa ผักพื้นบ้านในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งรูปร่างหน้าตา ทั้งรสชาติ และส่วนที่ทานได้ โดยฝักอ่อนของต้นเพกา เป็นอีกอย่างที่หลายคนนำมาทานเป็นผัก เพกาหรือลิ้นฟ้า ที่เป็นภาษาอีสานนั้น ยังสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน ทั้งการนำมาเป็นผักในบ้านและการขายเพกาที่ตลาดค่ะ ซึ่งผู้เขียนเองก็เป็นคนหนึ่งที่ได้มีประสบการณ์นี้มาเหมือนกัน จะว่าทุกขั้นตอนก็ได้ ตั้งแต่สอยฝักอ่อนของเพกาที่อยู่สูงมาก การย่างผลอ่อนของเพกา การหั่นเพกาสดๆ และการทานผลเพกากับเมนูต่างๆ ค่ะ ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนจะมาเล่าให้ฟังคะว่า เพกาคืออะไรกันแน่ และถ้าจะทานต้องทำยังไงดี งั้นอ่านต่อกันเลยดีกว่าค่ะ ดังนี้ ต้นเพกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ที่มีความโดดเด่นต้นเพกา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ที่มีความโดดเด่น ที่มีลักษณะทั่วไป ดังนี้ค่ะ ลำต้น: สูงประมาณ 5-12 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตื้น เปลือกในสีเหลือง ใบ: เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบมีขนาดใหญ่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี ดอก: ดอกมีขนาดใหญ่ สีม่วงอมชมพู ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีลักษณะคล้ายระฆังห้อยลงมา ผล: ผลเป็นฝักแบนยาวคล้ายดาบ เมื่อแก่จะแตกออก เมล็ดมีปีก ช่วยให้กระจายพันธุ์ได้ไกล ต้นเพกามีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นค่ะ นี่คือตัวอย่างชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นเพกา ได้แก่ ภาคเหนือ: มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ ภาคอีสาน: ลิ้นฟ้า ชนเผ่า: กะเหรี่ยง: กาโด้โด้ง ดอก๊ะ ด๊อกก๊ะ ดุแก มาเลเซีย: เบโก อื่นๆ: หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นซ้าง และคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? เหตุผลที่ชื่อเรียกแตกต่างกันนั้น มีสาเหตุมาจาก ลักษณะเด่น: ชื่อบางชื่ออาจมาจากลักษณะเด่นของต้นเพกา เช่น ดอกมีรูปร่างคล้ายลิ้น จึงเรียกว่าลิ้นฟ้า การใช้ประโยชน์: ชื่อบางชื่ออาจเกี่ยวข้องกับการนำส่วนต่างๆ ของต้นเพกาไปใช้ประโยชน์ เช่น นำมาทำยาสมุนไพร ภาษาถิ่น: แต่ละท้องถิ่นมีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงมีการเรียกชื่อพืชพรรณแตกต่างกันไปค่ะ รสชาติของเพกาสดนั้นค่อนข้างเฉพาะตัวค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้ว เพกาจะมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยเฉพาะที่ยอดอ่อนและฝักอ่อน แต่ก็มีความหวานมันซ่อนอยู่ด้วย โดยเฉพาะเมื่อนำไปปรุงอาหาร เช่น ลวกจิ้ม หรือผัดกับน้ำมัน รสชาติของส่วนต่างๆ ของเพกา เป็นดังนี้ค่ะ ยอดอ่อน: มีรสขมเล็กน้อย แต่เมื่อนำไปลวกจะลดความขมลงไปได้ และจะมีรสหวานมันออกมา ดอกอ่อน: มีรสขมน้อยกว่ายอดอ่อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ แต่เมื่อนำมาประกอบอาหาร เช่น ต้ม หรือลวก จะช่วยลดความขมลงได้ ทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมขึ้น และสามารถนำไปทานคู่กับน้ำพริก ลาบ ก้อย หรือยำได้อย่างอร่อย ฝักอ่อน: มีรสขมมากกว่าส่วนอื่นๆ แต่เมื่อนำไปปรุงอาหารรสชาติจะกลมกล่อมขึ้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อรสชาติ ได้แก่ อายุของต้นเพกา: เพกาอ่อนจะมีรสชาติขมน้อยกว่าเพกาแก่ค่ะ ส่วนที่นำมาใช้: แต่ละส่วนของเพกามีรสชาติแตกต่างกัน วิธีการปรุงอาหาร: การนำไปปรุงอาหารแต่ละวิธีจะส่งผลต่อรสชาติที่ได้ หลายคนอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ทานผลของเพกา ซึ่งรสชาติของเพกาย่างสุกจะแตกต่างจากเพกาสดไปพอสมควรค่ะ การนำเพกาไปย่างจะช่วยลดความขมลงได้มาก ทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจากการย่าง โดยรสชาติที่ได้หลังจากย่าง เป็นดังนี้นะคะ ความขม: จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับเพกาสด ความหวาน: จะออกมาชัดเจนขึ้นเล็กน้อย กลิ่นหอม: จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวจากการย่าง เนื้อสัมผัส: เนื้อจะนุ่มขึ้น และมีรสชาติเข้มข้นขึ้น วิธีการย่างเพกา เตรียมเพกา: เลือกฝักเพกาที่แก่กำลังดี ไม่แก่เกินไปหรืออ่อนเกินไป นำมาล้างให้สะอาด ย่าง: วางเพกาบนตะแกรงย่าง หรือห่อด้วยใบตองแล้วนำไปย่างบนเตาถ่าน หรือเตาแก๊ส จนเปลือกไหม้และเนื้อนุ่ม ลอกเปลือก: เมื่อย่างสุกแล้ว นำเพกามาลอกเปลือกออก ลดความขม: หากต้องการลดความขมเพิ่มเติม สามารถนำเนื้อเพกาย่างไปแช่น้ำเกลือ หรือขยำกับน้ำเกลือเบาๆ ปรุงรส: นำเพกาย่างไปปรุงอาหารได้ตามชอบ เช่น ผัดกับน้ำมันหอย ใส่แกง หรือจิ้มน้ำพริกค่ะ ปัจจุบันคนยังนิยมทานเพกากันอยู่มาก เพราะเพกามีคุณประโยชน์และรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์หลายอย่างค่ะ ดังนี้ รสชาติเฉพาะตัว: เพกามีรสขมเล็กน้อย แต่เมื่อนำไปปรุงอาหาร เช่น ย่าง ลวก หรือผัด จะทำให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น มีความหวานมันซ่อนอยู่ และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่หลายคนชื่นชอบ ความหลากหลายในการนำไปประกอบอาหาร: เพกาสามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายเมนู เช่น เพกาลวกจิ้ม น้ำพริก แกงส้ม ผัด หรือยำ ทำให้ไม่น่าเบื่อและสามารถเปลี่ยนเมนูได้บ่อยค่ะ เป็นผักพื้นบ้าน: เพกาเป็นพืชที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ ทำให้เป็นที่รู้จักและนิยมทานกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วัฒนธรรมการทาน: การทานเพกาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการทานของคนไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งมีการนำเพกามาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ที่โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนสามารถทานผลของเพกาได้ทั้งแบบสดและแบบย่างค่ะ แบบสดมีความขมจริง แต่ไม่ได้มากเหมือนความขมของสะเดานะคะ ที่จะกรอบเวลาเคี้ยว ในขณะที่เพกาย่างมีความขมน้อยลง สามารถรับรสได้ถึงความหวานตามธรรมชาติ ที่อ่อนนุ่มและเคี้ยวได้ง่ายค่ะ ปกติผู้เขียนซื้อเพกามาจากตลาดนับครั้งได้ เพราะที่นี่มีต้นเพกา 3 ต้น ที่พอถึงช่วงที่ต้นเพกาออกลูกนั้น ทุกครั้งก็มีมากพอสำหรับเอาไว้เป็นผักในบ้านค่ะ ที่ปกติจะนำเพกามาเป็นแค่ผักเป็นหลักค่ะ แต่ยังไม่เคยยำเพกาเหมือนกับที่บางคนทำแล้วนำมาโพสต์เลยค่ะ และถ้าคุณผู้อ่านต้องการจะซื้อผักชนิดนี้มาทานบ้าง ก็สามารถหาได้ง่ายๆ ที่ตลาด ในราคาย่อมเยาว์ค่ะ และหากใครไปแวะทานอาหารที่เป็นร้านลาบ ผลอ่อนของเพกาหั่นเป็นชิ้นพอคำ ก็มักถูกนำมาเสิร์ฟเป็นผักสำหรับทานกับลาบค่ะ ยังไงนั้นหากคุณผู้อ่านสนใจก็ลองไปหาเพกาที่ตลาดกันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/yp9beee9OdW5 https://food.trueid.net/detail/w3Z4pp9d9lpJ https://food.trueid.net/detail/NkG8X8MnnMqQ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !