ขนมหมก เป็นแบบไหน อร่อยไหม ทำจากอะไร | บทความโดย Pchalisa นอกจากภาคอีสานจะมีเมนูอาหารที่ลากหลายแล้วนะคะ ขนมยังเป็นอีกอย่างที่มีให้เลือกเยอะมาก โดยขนมในภาคอีสานที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินมาก่อน ที่ผู้เขียนอยากจะส่งต่อข้อมูลเอาไว้ในบทความนี้ คือขนมที่ทำให้สุกด้วยการนึ่ง ห่อด้วยใบตอง ที่มีเฉพาะตามเทศกาลต่างๆ ที่เรียกว่า “ขนมหมก” ค่ะ ขนมหมกเป็นขนมที่ผู้เขียนสามารถทำได้ ที่ในตอนหลังมาก็ได้ซื้อขนมหมก จากที่คนในชุมชนทำขายด้วยค่ะ ขนมหมกสามารถทานเป็นของว่าได้ นำไปใส่บาตรและไปวัดได้ ขนมหมกในงานต่างๆ สามารถพบเห็นได้ปกติในภาคอีสาน สำหรับคนที่คนทานขนมชนิดนี้มาบ้างแล้วคงจะพอบอกได้ว่ารสชาติประมาณไหน แต่สำหรับคนที่ยังไม่เคยทาน ต้องอ่านต่อให้จบค่ะ ดังข้อมูลต่อไปนี้ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ขนมหมกเป็นขนมไทยที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ที่โดยทั่วไปแล้วขนมหมกจะหมายถึงขนมที่ทำจากแป้ง มีไส้ แล้วห่อด้วยใบตอง และนำไปนึ่งให้สุกเป็นขั้นตอนสุดท้ายค่ะ โดยลักษณะเด่นของขนมหมก ได้แก่ แป้ง: ส่วนใหญ่ทำจากแป้งข้าวเหนียว แต่บางสูตรอาจมีการผสมแป้งชนิดอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น แป้งมันสำปะหลัง ไส้: มีไส้หลากหลายชนิด ทั้งไส้หวาน เช่น มะพร้าวคั่ว ถั่วเขียวกวน และไส้เค็ม เช่น กุ้งแห้ง หมูสับ การห่อ: ห่อด้วยใบตอง อาจเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือทรงกระบอก วิธีการทำ: นำไปนึ่งให้สุก จนแป้งสุกนุ่มและไส้สุกหอมค่ะ โดยความแตกต่างของขนมหมกในแต่ละภูมิภาค มีดังนี้ ภาคอีสาน: ขนมหมกอีสานมักจะมีไส้ที่หลากหลาย ทั้งไส้หวานและไส้เค็ม นิยมใช้ใบตองห่อเป็นทรงสามเหลี่ยม ภาคกลาง: ขนมหมกภาคกลางมักจะมีไส้มะพร้าวคั่ว ห่อด้วยใบตองเป็นทรงกระบอก ภาคเหนือ: ขนมหมกภาคเหนืออาจเรียกชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยรวมแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกับขนมหมกภาคอื่นๆ และเหตุผลว่าทำไมขนมหมกถึงเป็นที่นิยมนั่นเป็นเพราะว่า รสชาติอร่อย: มีทั้งรสหวานและเค็มให้เลือก เนื้อสัมผัสดี: แป้งนุ่ม ไส้หอม ทำง่าย: สามารถทำเองได้ที่บ้าน เป็นขนมมงคล: นิยมใช้ในงานบุญต่างๆ ค่ะ หากคุณผู้อ่านได้ทำขนมชนิดนี้เอง และเพื่อให้ได้รสชาติของขนมหมกที่อร่อยที่สุด ควรทำขนมหมกในปริมาณที่พอเหมาะกับการทานค่ะ และทานให้หมดภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าต้องการเก็บรักษาขนมหมกให้ทานได้นานขึ้นนั้น ก็มีหลายวิธีค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าคุณผู้อ่านต้องการเก็บขนมหมกไว้นานแค่ไหน และต้องการให้ขนมหมกมีรสชาติและเนื้อสัมผัสเป็นอย่างไรค่ะ และต่อไปนี้คือวิธีเก็บรักษาขนมหมก ระยะสั้น (1-2 วัน) อุณหภูมิห้อง: หลังจากนึ่งขนมหมกเสร็จแล้ว ให้วางในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด วางในที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง วิธีนี้จะทำให้ขนมหมกยังคงความนุ่มชุ่มฉ่ำได้ดี ตู้เย็น: หากต้องการเก็บให้นานขึ้นเล็กน้อย สามารถนำขนมหมกที่เย็นแล้วใส่ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วนำเข้าตู้เย็นช่องใต้ช่องแช่แข็งค่ะ เมื่อต้องการทานให้นำออกมาอุ่นในไมโครเวฟหรือลังถึง ระยะกลาง (3-5 วัน) ช่องแช่แข็ง: สำหรับการเก็บรักษาที่นานขึ้น สามารถหั่นขนมหมกเป็นชิ้นพอดีคำ แล้วนำไปแช่แข็งในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด เมื่อต้องการทานก็นำออกมาอุ่นในไมโครเวฟหรือลังถึงค่ะ และวิธีการสังเกตว่าขนมหมกเสียหรือไม่นั้นก็สำคัญมากค่ะ การทำแบบนี้ก็เพื่อป้องกันการทานอาหารที่ไม่สะอาดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นก่อนทานขนมหมกตามที่ต่างๆ หรือแม้แต่เราทำเอง ให้ลองสังเกตสิ่งเหล่านี้ก่อนทานเข้าไปค่ะ กลิ่นผิดปกติ: ขนมหมกที่เสียจะมีกลิ่นเปรี้ยว เหม็น หรือมีกลิ่นอับชื้น ไม่เหมือนกลิ่นขนมหมกสดใหม่ สีเปลี่ยนแปลง: สีของขนมหมกอาจเปลี่ยนเป็นสีคล้ำกว่าเดิม หรือมีรอยด่างดำ เนื้อสัมผัสเปลี่ยนแปลง: เนื้อขนมหมกอาจจะเละ หรือมีน้ำเยิ้มออกมา มีเชื้อรา: บนผิวขนมหมกอาจมีเชื้อราขึ้นเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่น มีแมลง: หากพบแมลงหรือไข่แมลงในขนมหมก แสดงว่าขนมหมกนั้นเสียแล้ว ขนมหมกอร่อยค่ะ ยิ่งได้ทานตอนอุ่นๆ หลังทำเสร็จใหม่ๆ ความอร่อยยิ่งเข้มข้นมากขึ้น มีความหอมที่ชัดเจนมากๆ และขนมหมกสำหรับผู้เขียนชอบทำขนาดเล็ก ที่จะทานเป็นของว่างประมาณ 3-4 ค่ะ ไส้มะพร้าวหอมอร่อยแต่ตอนทำยากตอนขูดมะพร้าว ไส้ถั่วทำง่ายและอร่อยแบบถั่วค่ะ ซึ่งเป็นไส้ที่ผู้เขียนเองก็ชอบอีกเหมือนกัน ที่ปกติถ้ามีโอกาสต้องทำขนมหมก มักเลือกไส้ถั่วค่ะ เพราะพอทำง่ายก็จะสนุกตอนทำ ที่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำค่ะ แต่ซื้อขนมหมกจากเพื่อนของน้องสาว ซึ่งเจ้านี้ก็อร่อย ขายไม่แพงมาก 3 ชิ้น 10 บาทค่ะ หากคุณผู้อ่านอยากทานขนมหมก ต้องลองแวะไปดูที่ตลาดค่ะ เพราะสมัยนี้ขนมหมกมีขายที่ตลาดแล้ว และอาจพบได้มากตอนมีงานบุญหรือเทศกาลต่างๆ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/kBxr2vkooAjV https://food.trueid.net/detail/MlMavaZb8val https://food.trueid.net/detail/g59Az8Y74Eq5 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !