น้ำฟักทอง ดื่มง่ายไหม อร่อยหรือเปล่า รสชาติแบบไหน | บทความโดย Pchalisa รู้ไหมคะว่า? ทำไมฟักทองถึงสามารถนำมาทำน้ำฟักทองดื่มได้ โดยข้อสงสัยนี้มีคำตอบมาในแล้วในบทความนี้ค่ะ ที่เราจะมารู้ด้วยว่าน้ำฟักทองแบบไหนน่าเลือกซื้อมาดื่ม หากซื้อมาเยอะจะเก็บแบบไหนดี แล้วถ้าเป็นคนแบบว่าไม่ชอบหวาน ไม่เติมน้ำเชื่อมเลย น้ำฟักทองจะมีรสชาติประมาณไหนแน่ ซึ่งน้ำฟักทองแบบไม่เปลืองน้ำตาลเป็นรูปแบบที่ผู้เขียนดื่มตลอดค่ะ ดังนั้นเรามาอ่านต่อกันเลยดีกว่า ดังข้อมูลต่อไปนี้ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ที่ฟักทองเป็นลูกๆ สามารถนำมาทำเป็นน้ำผักได้ นั่นเป็นเพราว่า ฟักทองมีเนื้อนุ่มและละลายง่าย โดยเมื่อเรานำฟักทองไปต้ม เนื้อจะนิ่มและละลายออกมาผสมกับน้ำได้ง่าย ทำให้ง่ายต่อการปั่นและกรองค่ะ และฟักทองมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่แล้ว เลยดีและง่าย เพราะทำให้น้ำฟักทองที่ได้มีรสชาติหวาน หอมและอร่อยค่ะ การทำน้ำฟักทองเป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็ว ที่สามารถทำได้เองที่บ้านค่ะ เพราะผู้เขียนเป็นคนที่ทำน้ำฟักทองมาแล้ว โดยสูตรก็เปิดดูในอินเตอร์เน็ตค่ะ ที่ตอนว่างหรือตอนคิดอยากสนุกๆ ก็จะทำค่ะ ที่ในตอนหลังมาผู้เขียนนานๆ ได้ทำ แต่มักดื่มน้ำฟักทองแบบช่วยพ่อค้าประหยัดน้ำเชื่อม ด้วยการซื้อน้ำฟักทองจากร้านที่ไว้ใจได้ใกล้บ้านค่ะ หลายคนยังไม่รู้ว่า รสชาติของน้ำฟักทองแบบไม่เติมน้ำตาล จะมีความหวานมันตามธรรมชาติของฟักทองเองค่ะ ที่รสชาติจะไม่หวานจัดเหมือนน้ำฟักทองที่เติมน้ำตาล แต่จะมีความหวานอ่อนๆ หอมกลิ่นฟักทองแท้ๆ ที่บางคนอาจจะรู้สึกว่ามีรสชาติคล้ายๆ กับเผือกบวชชี หรือฟักทองแกงบวชที่ยังไม่ใส่น้ำกะทิค่ะ และถ้าหากคุณผู้อ่านชอบรสชาติที่หวานน้อย หรือกำลังควบคุมปริมาณน้ำตาล การดื่มน้ำฟักทองแบบไม่เติมน้ำตาลก็เป็นทางเลือกที่ดีเลยค่ะ เพราะนอกจากจะได้รสชาติที่เป็นธรรมชาติแล้ว ยังได้คุณค่าทางอาหารในฟักทองอย่างเต็มที่ ที่ผู้เขียนพบว่าน้ำฟักทองแบบไม่เติมน้ำตาลอร่อยมากเลยค่ะ! และเลือกแบบนี้ตลอด ข้อดีของน้ำฟักทองแบบไม่เติมน้ำตาล ได้รสชาติหวานธรรมชาติ จากที่ฟักทองมีรสหวานอยู่แล้ว ดังนั้นน้ำฟักทองที่ทำจากฟักทองล้วนๆ จึงมีรสหวานแบบธรรมชาติ ไม่หวานเลี่ยนจนเกินไป ทำให้ดื่มได้ง่ายค่ะ รสชาติเป็นธรรมชาติ เมื่อไม่เติมน้ำตาลหรือรสชาติอื่นๆ เราจะได้ลิ้มลองกลิ่นหอมเฉพาะตัวของฟักทองอย่างเต็มที่ ที่เป็นรสชาติแท้ๆ ของฟักทองค่ะ ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลที่เติมเพิ่มเข้ามาในอาหาร ไม่เลี่ยน: น้ำตาลเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มเลี่ยน การไม่เติมน้ำตาลจึงทำให้น้ำฟักทองมีรสชาติที่เบาและดื่มได้เรื่อยๆ เหมาะกับทุกคน: ทั้งคนที่ชอบรสชาติหวานน้อย หรือคนที่กำลังควบคุมน้ำตาล เด็ก ผู้สูงอายุ ดื่มได้หมดค่ะ ทำง่าย: ถ้ามีเวลาเราก็สามารถทำดื่มเองได้ที่บ้านได้ด้วยนะคะ ถ้าอยากให้รสชาติของน้ำฟักทองมีความเข้มข้นขึ้น เราสามารถเพิ่มความข้นจากเนื้อของฟักทองได้ค่ะ หากต้องการรสหรือกลิ่นแปลกใหม่ สามารถลองเติมเครื่องเทศเล็กน้อยได้ค่ะ เช่น อบเชยหรือขิง ที่เราก็จะได้รสชาติที่หอมอร่อยขึ้นไปอีกแบบค่ะ ปกติผู้เขียนซื้อน้ำฟักทองมามากสุด 2 ถุงค่ะ ที่มักดื่มทันทีเมื่อกลับบ้านหนึ่งถุง ส่วนอีกถุงจะเก็บไว้ดื่มในวันถัดมา ร้านที่ผู้เขียนไปซื้อน้ำฟักทองมานั้นดีค่ะ ราคาขายก็ไม่แพง รสชาติของน้ำฟักทองใช้ได้ หอมอร่อย ได้กลิ่นฟักทองจริงแบบไม่จกตาค่ะ ซึ่งน้ำฟักทองที่ผู้เขียนไปซื้อมานั้น คนขายคือคนทำน้ำเต้าหู้ค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือร้านขายน้ำเต้าหู้นั่นเองนะคะ ที่จะว่าไปทุกที่ก็น่าจะมีร้านขายน้ำเต้าหู้ แต่เรื่องมีน้ำฟักทองไหม คุณผู้อ่านต้องลองถามดูค่ะ ซึ่งถ้าซื้อน้ำฟักทองมาเยอะและอยากเก็บไว้ดื่มแบบผู้เขียน ให้ลองทำตามนี้ค่ะ 1. เก็บในตู้เย็น ซึ่งจะมีระยะเวลาเก็บได้ประมาณ 3-5 วัน นะคะ ถ้าเราทำน้ำฟักทองเอง ก็ให้รอให้อุ่นลงก่อน แล้วค่อยนำไปใส่ภาชนะปิดสนิท ที่ควรแบ่งปริมาณให้พอดีกับการดื่มในแต่ละครั้งไปเลยค่ะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและง่ายต่อการน้ำออกมาดื่มด้วย โดยให้วางภาชนะไว้ในส่วนที่เย็นที่สุดของตู้เย็นค่ะ 2. แช่แข็ง การทำแบบนี้สามารถ เก็บได้นาน 2-3 เดือนค่ะ เตรียมน้ำฟักทองก่อนเก็บคล้ายข้อที่ 1 แต่ให้ติดป้ายหรือเขียนระบุวันที่แช่แข็งด้วยค่ะ จากนั้นนำไปแช่ในช่องแช่แข็งได้เลย ซึ่งน้ำฟักทองที่แช่แข็งแล้ว รสชาติและเนื้อสัมผัสอาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างนะคะ และเมื่อนำน้ำฟักทองออกมาจากช่องแช่แข็ง ควรนำไปอุ่นให้ทั่วถึงก่อนนำดื่มค่ะ และก่อนจบเนื้อหาในบทความนี้ ขอทิ้งท้ายเคล็ดลับของการเลือกน้ำฟักทองค่ะ เพราะคิดว่าข้อมูลน่าจะได้ใช้จริงด้วย โดยน้ำฟักทองที่น่าซื้อควรมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ค่ะ ให้สังเกตสีและเนื้อสัมผัสค่ะ โดยน้ำฟักทองที่ดีจะมีสีส้มอมเหลืองเข้มข้น ที่ควรมีเนื้อละเอียด ไม่ข้นเกินไปหรือเหลวเกินไปค่ะ ที่เมื่อได้น้ำฟักทองมาแล้ว ก็สามารถนำไปดื่มได้เลย หรือจะนำไปผสมกับเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น นม หรือโยเกิร์ต ก็อร่อยไปอีกแบบนะคะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/7m8XGwKzjgom https://food.trueid.net/detail/LpXLbGePrYdp https://food.trueid.net/detail/J4yZkmm7zJ9a เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !