น้ำส้มแท้ตกตะกอนไหม ดูยังไงดี คั้นเอง ทำแบบไหนได้บ้าง | บทความโดย Pchalisa การคั้นน้ำส้มเองที่บ้านเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดื่มน้ำส้มสดใหม่ค่ะ ที่นอกจากจะได้รสชาติอร่อยตามใจชอบแล้ว ยังมั่นใจได้ในความสะอาดด้วยนะคะ โดยการคั้นน้ำส้มดื่มเองเป็นวิธีการที่ผู้เขียนมักทำ หากต้องการเปลี่ยนบรรยากาศจากการทานส้มเป็นลูกค่ะ การทำน้ำส้มคั้นเองไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะคะ ที่พูดแบบนี้เพราะผู้เขียนได้ลองทำมาแล้วค่ะ ที่ในตอนหลังมาถ้ามีเวลาเยอะก็มักจะทำดื่มบ่อยมากขึ้นเท่าที่จะเป็นไปได้ค่ะ ซึ่งการทำน้ำส้มดื่มเองทำได้ง่ายๆ จากอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่าง ดังนี้ค่ะ อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม ส้ม: ให้เลือกส้มที่สุกงอม เปลือกเรียบเนียน ไม่มีรอยช้ำค่ะ มีด: ควรใช้มีดที่คมกริบ เพื่อการผ่าส้มที่ง่ายและสะดวกนะคะ ที่คั้นน้ำผลไม้: สามารถใช้ที่คั้นน้ำผลไม้แบบมือหรือเครื่องคั้นน้ำผลไม้ไฟฟ้าก็ได้ สำหรับผู้เขียนชอบแบบคั้นด้วยมือ เพราะก็ใช้ได้ง่ายดีค่ะ ภาชนะสำหรับใส่น้ำส้ม: เลือกภาชนะที่สะอาดและมีฝาปิด เพื่อเก็บรักษาความสดใหม่ของน้ำส้ม แต่ถ้าต้องการดื่มน้ำส้มทันทีก็ใช้แก้วที่สะอาดค่ะ ขั้นตอนการคั้นน้ำส้ม ล้างส้มให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าหลายๆ ครั้ง เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและสารเคมีที่อาจตกค้างอยู่ค่ะ ผ่าส้มออกเป็น 2 ซีก ตามแนวกลางผล คั้นน้ำส้ม โดยนำส่วนที่เป็นเนื้อส้มไปคั้นด้วยที่คั้นน้ำผลไม้ คั้นให้ทั่วถึงเพื่อให้ได้น้ำส้มออกมามากที่สุดค่ะ กรอง (ถ้าต้องการ): หากต้องการน้ำส้มที่ใส สามารถกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนที่มีรูละเอียด ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้เขียนกดข้ามค่ะ เพราะชอบอะไรที่เป็นธรรมชาติ มาแบบไหนดื่มแบบนั้นเลยค่ะ ปรุงรส (ถ้าต้องการ): เรายังสามารถปรุงรสน้ำส้มที่คั้นแล้วเพิ่มเติมตามชอบได้นะคะ เช่น เพิ่มเกลือนิดหน่อยเพื่อชูรสชาติ หรือเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อความหวานค่ะ สำหรับผู้เขียนไม่ชอบแต่งเติมอะไรค่ะ คั้นเสร็จก็ดื่มเลยแบบไม่คิดเยอะค่ะ โดยมีเคล็ดลับเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความอร่อยให้กับน้ำส้มคั้น ดังนี้ค่ะ เลือกส้มให้ถูกชนิด: ส้มแต่ละชนิดจะมีรสชาติและความหวานแตกต่างกันไป เลือกชนิดที่ชอบค่ะ โดยผู้เขียนชอบส้มโชกุนมากที่สุดและชอบลูกที่ให้รสหวานอมเปรี้ยวค่ะ คั้นสดใหม่: ควรคั้นน้ำส้มทีละครั้ง เพื่อให้ได้น้ำส้มที่สดใหม่และน่าดื่มค่ะ พูดง่ายๆ คือ อยากดื่มตอนไหนก็คั้นตอนนั้นค่ะ ซึ่งสิ่งนี้ผู้เขียนทำประจำค่ะ เก็บรักษา: หากต้องการเก็บน้ำส้มไว้ดื่ม ควรใส่ภาชนะปิดสนิทและแช่ในตู้เย็น สามารถเก็บได้ประมาณ 2-3 วันค่ะ โดยในกรณีผู้เขียนทำบ้างแต่น้อยมากค่ะ เพราะมักทำน้ำส้มที่คั้นสดใหม่ ที่สามารถได้หมดพอดีที่เวลาหนึ่ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศ: การสัมผัสกับอากาศจะทำให้น้ำส้มเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งจะทำให้น้ำส้มเสียรสชาติและสีเปลี่ยนค่ะ ทำความสะอาดอุปกรณ์: หลังจากใช้ที่คั้นน้ำผลไม้เสร็จ ควรทำความสะอาดทันที เพื่อป้องกันการสะสมของแบคทีเรียค่ะ อย่าคั้นเปลือกส้ม: เนื่องจากเปลือกส้มมีรสขม หากคั้นลงไปจะทำให้น้ำส้มมีรสขมค่ะ หลีกเลี่ยงการใช้ส้มที่เน่าเสีย: ส้มที่เน่าเสียจะมีการปนเปื้อนแล้ว ถ้านำมาทำน้ำส้มคั้น ที่ถึงแม้ว่าจะคั้นเองก็ตาม แบบนี้เป็นสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพค่ะ วิธีสังเกตน้ำส้มแท้และดี 1. สีและความใส น้ำส้มแท้จะมีสีส้มอมเหลือง ไม่ใสจนเกินไป และจะมีเนื้อส้มเล็กน้อยลอยอยู่ เมื่อวางแก้วทิ้งไว้สักครู่ จะเห็นการแยกชั้นของเนื้อส้มและน้ำอย่างชัดเจนนะคะ 2. ดมกลิ่น กลิ่นหอมของส้มจะต้องชัดเจนและเป็นธรรมชาติ ที่ไม่ฉุนหรือมีกลิ่นแปลกปลอมอื่นๆ เจือปนค่ะ 3. รสชาติ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? รสชาติจะเปรี้ยวหวานตามธรรมชาติของส้ม ที่จะต้องไม่หวานแหลมหรือเปรี้ยวจัดเกินไป และจะรู้สึกรสชาติของส้มตามธรรมชาติค่ะ 4. เนื้อส้ม เมื่อดื่มน้ำส้มแท้จะรู้สึกถึงเนื้อส้มเล็กน้อย ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าเป็นน้ำส้มคั้นสดแท้ๆ ที่ไม่จกตาค่ะ 5. ตะกอน น้ำส้มแท้เมื่อวางทิ้งไว้สักพัก จะมีตะกอนเล็กน้อยเกิดขึ้น ซึ่งเป็นส่วนของเยื่อและกากส้ม และมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าน้ำส้มแก้วนั้นใสจนเหมือนน้ำเปล่า แบบนี้อาจมีการเติมน้ำหรือสารอื่นๆ ลงไปนะคะ หากหากมีกลิ่นสังเคราะห์หรือกลิ่นน้ำหอมเจือปน แสดงว่าเป็นน้ำส้มปรุงแต่งค่ะทุกคน หากหวานมากเกินไป แบบนี้เดาได้ว่ามีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเทียม และถ้าไม่มีเนื้อส้มเลย ก็แสดงว่าไม่ใช่น้ำส้มคั้นสดแท้ค่ะ และนั่นคือวิธีการเลือกน้ำส้มที่ไม่ได้ยากจนเกินไปในการสังเกตใช่ไหมคะ? ปกติผู้เขียนก็ชอบจับผิดน้ำส้มที่ไม่ได้คั้นเองเหมือนกันค่ะ โดยในสถานการณ์จริงนั้น พบว่า น้ำส้มไม่มีเนื้อส้ม หวานแหลมและไม่ได้มีกลิ่นหอมของความเป็นสมตามธรรมชาติ พอเจอแบบนี้บ่อยครั้งก็เลยหันมาขยันทำน้ำส้มค้นเองดื่มค่ะ ซึ่งก็ไม่ได้ยากเกินไปนะคะ ที่คั้นก็สามารถหาซื้อได้ตามตลาดหรือจะสั่งออนไลน์ก็ได้ค่ะ ที่ผู้เขียนมักดื่มน้ำส้มคั้นเองแบบไม่แช่เย็นค่ะ ยังไงนั้นคุณนั้นลองนำข้อมูลในนี้ไปปรับใช้สังเกตน้ำส้มแท้กันค่ะ และถ้าต้องการคั้นเองก็ทำตามขั้นตอนข้างต้นได้เลย ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/7m8XGwKzjgom https://food.trueid.net/detail/KQabkWMymqqR https://food.trueid.net/detail/LpXLbGePrYdp เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !