ข้อดีของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือมีมาก เพราะอุดมไปด้วย แมกนีเซียม, แมงกานีส, สังกะสี, กรดโฟเลต, ซิลิเนียม ไทอามีน, ฟอสฟอรัส, ไนอาซิน, วิตามินบี 6, ธาตุหล็ก และที่สำคัญคือ สารกาบา ประโยชน์ของข้าวกล้องมีมาก ขนาดเขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ แต่มีข้อเสียอยู่อย่างเดียว คือ ไม่อร่อย ฝืด แข็ง คนส่วนมากจึงเลือกกินข้าวขัดสี หรือข้าวขาว แล้วค่อยไปเสริมสารอาหารจากวิธีอื่น อาทิ วิตามินเสริมรูปแบบต่าง ๆ ภาพโดยผู้เขียน ผมเป็นคนหนึ่งที่บ่ายหน้าให้ข้าวกล้อง กินแล้วไม่เจริญอาหาร แม้จะผสมกับข้าวขาวแล้วก็ตามเถอะ แต่ผมเป็นคนรักสุขภาพคนหนึ่ง พื้นที่เล็ก ๆ ของบ้านมีกระถางต้นไม้ ต้นสมุนไพรปลูกแซม หนึ่งในนั้นคือ อัญชัน น้ำดอกอัญชัน เป็นส่วนประกอบหนึ่งซึ่งชาวใต้นำมาหุงกับข้าว ทำเป็นข้าวยำ ข้าวที่ได้จากการหุงด้วยน้ำอัญชันจะเป็นสีม่วง สวยแปลกตา น่าทาน ภาพโดยผู้เขียน ข้าวกล้องนอกจากอัดแน่นด้วยสารอาหารรายนามยาวยืดแล้ว ยังมีตัวเด่นที่ตัวมันเองก็แท็คทีมสารอาหารไว้อีกเพียบ นั่นคือ สารกาบา สรุปข้อเด่นของกาบา ได้แก่ กระตุ้นให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และพาร์กินสัน จริงๆ แล้ว กาบาช่วยทำให้ผิวพรรณอ่อนกว่าวัยด้วย เป็นได้อย่างไร? เป็นได้ เพราะร่างกายสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ๆ ได้ดีอย่างไรล่ะ เซลล์หนังผลัด ก็สร้างใหม่ขึ้นมาทดแทนอย่างมีคุณภาพ อ้อ! ข้าวกล้องลดการเป็นมะเร็งในลำไส้ด้วย เอาล่ะ บอกข้อดีของข้าวกล้องไปพอสมควร ถึงอย่างนั้นก็ขอย้ำคำเดิมว่า ข้าวกล้องมันไม่อร่อย ผมขอกินข้าวขาวนี่แหละ เจริญอาหารดีกว่า ในเมื่อข้าวกล้องไม่อร่อย จะทำอย่างไรให้ได้สารอาหารใกล้เคียงข้าวกล้อง ผมก็หันไปยิ้มหวานให้กับดอกอัญชันสิครับ เพราะน้ำดอกอัญชันนั้น มีสารต้านอนุมูลอิสระ แน่นอน เจ้าสารตัวนี้ ป้องกันมะเร็งได้ นอกจากต้านอนุมูลอิสระได้แล้ว น้ำดอกอัญชันยังมีสรรพคุณ ช่วยชะลอริ้วรอยแห่งวัย นั่นไง!! ใกล้เคียงข้าวกล้องหรือยัง วิธีนำน้ำดอกอัญชันมาผนวกกับข้าวขาวก็ไม่ยากเลย เริ่มง่าย ๆ ดังนี้ ภาพโดยผู้เขียน 1. เด็ดดอกอัญชันมาขยี้ในน้ำเปล่า 2. ล้างข้าวสาร 3. เทน้ำดอกอัญชันลงไป 4. หุงข้าวปกติ 5. อร่อยกับข้าว ภาพโดยผู้เขียน จากการหุงข้าวขาวด้วยน้ำดอกอัญชัน พบว่า ข้าวที่หุงแล้วแข็ง จะนิ่มขึ้นมาอีกเล็กน้อย (ข้าวขาวบ้านผม เป็นข้าวหอมมะลิ 75% สภาพการเงินผมไม่ค่อยคล่อง) สรุปรวม ๆ คือ ข้าวนุ่มขึ้น กินอร่อยขึ้น สีสันสวยงามชวนเคี้ยว ข้อแนะนำ ใครไม่ชอบสีม่วงเข้ม ก็ให้เทน้ำอัญชันลงหุงข้าวแต่พอเหมาะ หากชอบม่วงเข้มมาก ๆ ก็เทลงมากหน่อย รู้อย่างนี้แล้ว เชิญเถอะครับ เชิญปลูกต้นอัญชัน ต้นเดียวในกระถางเล็ก ๆ ก็เหลือเฟือแล้ว ภาพโดยผู้เขียน ภาพโดยผู้เขียน