เขียดนาบ้านเฮา...เป็นสัตว์ที่พบมากที่สุดในตอนที่ฝนตกพรำเขียดจะออกช่วงกลางคืน ชาวบ้านก็ออกไปหาตามลำห้วย แม่น้ำ ลำคลอง สระเก็บน้ำ ทุ่งนา ไร่ พื้นที่ราบ ป่า และนิยมนำมารับประทานมากที่สุด มีชื่อท้องถิ่น ได้แก่ กบหนอง (กลาง) เขียดโม้ เขียดอีโม่ เขียดโม่ เขียดหลังขีด เขียดน้ำนอง เขียดนา (อีสาน/เหนือ บางพื้นที่) ลักษณะทั่วไป ด้านข้างมีตุ่มขนาดเล็ก ผิวหนังมีสีเหลืองแกมน้ำตาลแต้มด้วยจุดลายสีน้ำตาลเข้มกระจายทั่วผิวหนัง ผิวหนังด้านหลังเรียบ บริเวณด้านหลังของขาหลัง และขาหน้ามีตุ่มเล็กๆ สีเหลืองแกมน้ำตาล ผิวหนังที่คางเขียดเพศผู้คางจะมีถุงเสียงใต้คางเป็นผิวหนังย่น และมีสีดำ เราต้องมาจับสักเกตุกันคะ อิอิ!! เราก็นำมาประยุกต์ทำอาหารพื้นเมือง(เมืองฝาง จังหวัดเชียงใหม่) ตามไตล์ครัวเราเลย ได้แก่เมนู น้ำพริกเขียดแห้ง เป็นอาหารที่ลือชาใสช่วงหน้าฝนเป็นอันมาก วัตถุดิบหลัก ๆ เกลืออนามัย เขียด(ทำเรียบร้อยแล้ว) หรือเราต้องเดินทางตามหาเขียด(ส่องเขียด ภาษาเหนือ) ในเวลาตอนกลางคืนตอนฝนพรำ พริกขี้หนู หรือพริกขี้ฟ้า(พริกเดือไก่ ภาษาเหนือ) กระเทียม(หอมเตียม ภาษาเหนือ) ผงชูรส น้ำมันพืช ขิง วิธีทำ 1.นำเขียดที่ได้มาใส่ตะข่ายลวกน้ำร้อน(พอสะดุ้ง) จากนั้นผ่าท้องนำเอาใส่(ขี้)ออกล้างให้สะอาด มักด้วยเกลือนิดหน่อย(เพื่อไม่ให้เหม็นกลิ่น) นำมาตากแดด 1-2 วัน จนแห้ง 2.ตั้งเตาไฟเทน้ำมันลงไปในหม้อ รอน้ำมันร้อนนำเขียดที่ผ่านกรรมวิธีข้างต้นมาทอดให้กรอบ สะเด็ดน้ำมันให้เรียบร้อย แล้วก็รอให้เย็น... 3.เตรียมอุปกรณ์ ครก(ครกหิน) เริ่มได้เลยจร้า 4.ตำๆ...ใส่กระเทียม 3-4 กลีบ ใส่พริกขี้หนู หรือพริกขี้ฟ้าลงไปตามความชอบ(เผ็ดมากหรือน้อย) ตามด้วยขิง(เผ็ดร้อนแรงภายในตัว)โขลกให้ละเอียด นำเขียดที่ทอดแล้วมาใส่ลงในครกโขลกให้ละเอียด 5.ปรุงรสชาติด้วยเกลือนิดหน่อย ผงอร่อยนิดนึ่ง(ผงชูรส) 6.ตักใส่ถ้วยทานได้เลย.... ยังไม่จบ...!!!ยังมีผักเคียงในที่นี้คือ ผักกระถิน ชาวบ้านมักจะปลูกเป็นแนวรั้วบ้านและ เรานำยอดอ่อนมารับประทาน ความอร่อยของผักชนิดนี้มากมาย(คนเฒ่าคนแก่ได้กล่าวไว้) ผักกระถิน ที่ให้ความกรุบกรอบ อร่อยเข้ากันกับน้ำพริกเขียดแห้งได้ดีมากเลยทีเดียว ยังเรียกว่าเป็นเมนูเพื่อสุขภาพที่ให้คุณค่าทางอาหารครบถ้วนอีกด้วย อร่อยมากทำครั้งเดียวไม่พอจนต้องทำอีก การกินกับข้าวเหนียว(คดข้าวเหนียว ภาษาเหนือ)เป็นคำจิ้มลงไปในถ้วนน้ำพริกพร้อมกับทานคู่กับยอดกระถินอร่อยแซบ...มากจร้า เครดิตภาพทั้งหมดถ่ายโดยนักเขียน(กะทิน้อย)