7 วิธีเลือกซื้อกีวี ให้ได้ผลสุกพอดี หวานอร่อย | บทความโดย Pchalisa กีวี ผลไม้ตัวจิ๋วแต่แจ๋ว ที่ใครๆ ก็หลงรัก เพราะรสชาติหวานอมเปรี้ยว ชื่นใจ แต่จะอร่อยได้นั้น ขึ้นอยู่กับความสุกของผลเป็นหลักค่ะ และเคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมกีวีที่ซื้อมาทานทีไรไม่เคยสุกพอดีสักที ที่บางลูกก็แข็งเกินไป แต่บางลูกกลับนิ่มมาก ซึ่งปัญหานี้จะหมดไปถ้าอ่านบทความให้จบค่ะ เพราะนี่ผู้เขียนจะมาเผยเคล็ดลับการเลือกซื้อกีวีให้ได้ผลสุกพอดีทานให้ได้อ่านกันค่ะ ที่จะทำให้คุณผู้อ่านสามารถเลือกซื้อกีวีได้อย่างมั่นใจ และได้เพลิดเพลินกับรสชาติของกีวีอย่างเต็มที่ค่ะ ส่วนจะมีวิธีการอะไรบ้างนั้น เรามารู้จักไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ ดังต่อไปนี้ 1. สัมผัสความนุ่ม ลองเปรียบเทียบความแข็งของกีวีแต่ละลูกดูค่ะ โดยทั่วไป กีวีที่สุกจะนิ่มกว่ากีวีที่ยังดิบอยู่ โดยเมื่อเราบีบกีวีเบาๆ ด้วยมือ ถ้ารู้สึกว่ากีวีมีความนุ่ม ยุบลงเล็กน้อย แสดงว่ากีวีสุกกำลังดีและพร้อมรับทานค่ะ 2. สังเกตสี สีของกีวีที่สุกพอดี จะแตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่ขึ้นอยู่กับชนิดของกีวีค่ะ แต่โดยทั่วไปแล้ว ถ้าเป็นกีวีสีเขียว เมื่อสุกผิวจะเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขียวเข้มขึ้น และอาจมีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ปรากฏตามผิว ส่วนกีวีสีทอง ผิวจะเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนเป็นสีเหลืองเข้มขึ้น และอาจมีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสีไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสุกที่แม่นยำเสมอไปนะคะ เพราะปัจจัยอื่นๆ เช่น สายพันธุ์ และสภาพแวดล้อมในการปลูก ก็มีผลต่อสีของกีวีด้วยค่ะ 3. ดมกลิ่น กลิ่นของกีวีที่สุกพอดี จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่ะ กลิ่นนี้จะแตกต่างจากกีวีที่ยังดิบ ซึ่งจะไม่มีกลิ่น หรือมีกลิ่นอ่อนมาก และวิธีสังเกตกลิ่นของกีวีที่สุกนั้น ให้ดมใกล้ๆ ค่ะ โดยให้ลองนำกีวีมาดมใกล้ๆ จมูก เราถึงจะได้กลิ่นที่ชัดเจนขึ้น ตลอดจนต้องเปรียบเทียบกับลูกอื่นด้วยนะคะ การทำสิ่งนี้ก็เพื่อเปรียบเทียบกับกีวีลูกอื่นๆ เพื่อหาลูกที่มีกลิ่นหอมชัดเจนที่สุดค่ะ 4. สังเกตขนาด ให้เลือกกีวีที่มีขนาดใหญ่ค่ะ เนื่องจากกีวีลูกใหญ่ที่สุกพอดี มีข้อดีหลายอย่าง ตั้งแต่ได้เนื้อเยอะกว่าลูกเล็ก ทำให้ทานได้จุใจมากขึ้น รวมไปถึงกีวีลูกใหญ่ที่สุกกำลังดี มักจะมีรสชาติหวานฉ่ำ หวานอร่อยกว่ากีวีลูกเล็กค่ะ 5. ดูที่ขั้ว ผลกีวีสดใหม่ๆ มักมีขั้วที่สดใหม่ ดูอวบและไม่เหี่ยวค่ะ แต่เมื่อกีวีสุกพอดีทาน ขั้วจะมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อยหรืออาจจะดูเหี่ยวลงนะคะ 6. ตรวจสอบผิว ผิวของกีวีที่สุกพอดี จะมีลักษณะที่แตกต่างจากกีวีที่ยังดิบอยู่เล็กน้อยค่ะ ที่โดยทั่วไปผิวของกีวีที่สุกแล้วจะมีจุดสีน้ำตาลเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วผล ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ผิวจะดูเรียบลื่น ไม่เหี่ยวหรือยุบตัวค่ะ 7. เลือกตามสายพันธุ์ กีวีมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีรสชาติและลักษณะแตกต่างกัน ให้เลือกสายพันธุ์ที่คุณผู้อ่านชอบค่ะ โดยกีวีสีเขียว เมื่อสุกเต็มที่ผิวจะมีสีเขียวเข้ม เนื้อด้านในจะเป็นสีเขียวอ่อน และมีเมล็ดสีดำเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป รสชาติจะออกเปรี้ยวอมหวานค่ะ ในขณะที่กีวีสีทอง เมื่อสุกเต็มที่ผิวจะมีสีเหลืองทอง เนื้อด้านในจะเป็นสีเหลืองสดใส และมีเมล็ดน้อยกว่ากีวีสีเขียว รสชาติจะหวานฉ่ำนะคะ และทั้งหมดนั้นคือเคล็ดลับเลือกกีวีที่สุกพอดีทานค่ะ โดยวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบความสุกของกีวี คือ การสัมผัสค่ะ หากบีบกีวีเบาๆ แล้วรู้สึกนิ่ม ยุบตัวเล็กน้อย แสดงว่าสุกกำลังดีและพร้อมทานได้เลย และถ้าเกิดว่าคุณผู้อ่านพบว่ากีวีที่ซื้อมาไม่สุก ให้ลองใช้เทคนิคการทำให้กีวีสุกเร็วขึ้น ตามนี้คะ วางไว้ที่อุณหภูมิห้อง: วางกีวีไว้ในที่อุณหภูมิห้องสัก 1-2 วัน แบบนี้จะช่วยเร่งให้กีวีสุกเร็วขึ้นได้ค่ะ ห่อด้วยกระดาษ: ห่อกีวีด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษสา จะช่วยให้กีวีปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมา ทำให้สุกเร็วขึ้นนะคะ วางรวมกับผลไม้ชนิดอื่น: วางกีวีไว้ใกล้ๆ กับผลไม้ที่ปล่อยก๊าซเอทิลีน เช่น กล้วยหอมหรือแอปเปิล จะช่วยเร่งให้กีวีสุกเร็วขึ้น และเคล็ดลับสุดท้ายหากคุณผู้อ่านซื้อกีวีมาเยอะเกินไป และยังไม่ต้องการทานทั้งหมด แบบนี้สามารถนำไปแช่ในตู้เย็นเพื่อชะลอการสุกได้ค่ะ ก็ลองนำเทคนิคดีๆ ในบทความนี้ไปใช้กันค่ะ ปกติผู้เขียนใช้การบีบด้วยนิ้วมือมาเป็นวิธีแรกในการเลือกกีวีค่ะ จากนั้นจะเลือกลูกใหญ่ๆ ที่โดยส่วนมากจะซื้อกีวีมาแค่พอดีทานและใช้ประโยชน์ค่ะ จึงไม่ได้มีปัญหาว่าต้องนำกีวีมาเร่งให้สุกหรือเก็บในตู้เย็นค่ะ และโดยส่วนตัวชอบทานผลไม้ชนิดนี้แบบไม่แช่เย็น ที่เป็นการทานแบบเปล่าเป็นของว่างค่ะ ยังไงนั้นคุณผู้อ่านลองนำเคล็ดลับในนี้ไปปรับใช้กันค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/wjZ9Wnn1R0ea https://food.trueid.net/detail/KQabkWMymqqR https://food.trueid.net/detail/7WbDPbyLLxoJ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !