วิธีหุงข้าวน้ำดอกอัญชัน ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า สีม่วงสวย / บทความโดย Pchalisaข้าวสีขาวน่าเบื่อแล้วค่ะ เพราะเห็นทุกวันทานทุกวันเลยก็ว่าได้ และขนาดออกไปนอกบ้านหลายที่ก็ยังเสิร์ฟข้าวสีขาวกันอยู่ จริงไหมคะ? แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? เราสามารถเปลี่ยนสีให้ข้าวของเราได้ง่ายๆ ด้วยการเติมอะไรลงไปสักอย่างที่เป็นธรรมชาติด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสีจากดอกไม้ เปลือกไม้หรือจากใบไม้ที่เราชอบที่เรามีก็ตามแต่ค่ะ ทำได้จริงๆ ที่ทำได้ประจำเพราะผู้เขียนทำมาแล้ว ทำทุกวันถ้ามีดอกไม้ที่ให้สีเพียงพอสำหรับการหุงข้าวค่ะ และไหนๆ ก็เกริ่นจนมองเห็นภาพขนาดนี้แล้ว บทความนี้เรามารู้ถึงขั้นตอนการหุงข้าวที่ทำให้ข้าวเป็นสีฟ้าหรือสีม่วงสวยจากดอกอัญชันกันดีกว่าค่ะ ที่เป็นวิธีการง่ายๆ รับรองว่าอ่านจบรู้เรื่อง จนมองภาพออกและทำตามได้ทันที ส่วนจะง่ายขนาดไหนเรามารู้กันเลยดีกว่าจ้าขั้นตอนหุงข้าวน้ำดอกอัญชัน1. เตรียมข้าวสารที่ต้องการหุงสำหรับผู้เขียนหุงข้าวประมาณ 6 ถ้วยนะคะ ที่สามารถอุ่นทานได้ประมาณ 2 มื้อ สำหรับคนในบ้านจำนวน 5 คน แต่บางวันก็ไม่ถึง 2 มื้อ ค่ะ และข้าวที่หุงในช่วงนี้เป็นข้าวสารเก่าข้าวเจ้า พันธุ์ขาวมะลิ 105 ที่ปลูกเองแต่ให้คนที่รับสีข้าวเปลือกในชุมชนสีข้าวให้ จากนั้นล้างข้าวด้วยน้ำเปล่าจำนวน 2 ครั้ง ล้างข้าวตามปกติหรือจนกว่าจะแน่ใจว่าข้าวสะอาดเพียงพอต่อการหุงค่ะ2. นำดอกอัญชันมาคั้นเอาสีในขั้นตอนถัดมานี้เราสามารถใช้ได้ทั้งดอกอัญชันสดและดอกอัญชันแห้งนะคะ แต่สำหรับผู้เขียนตอนนี้ใช้แบบนี้เพราะเก็บไว้นานเลยต้องการทำให้หายไปจากโลกก่อนจะมีสภาพไม่ดีค่ะ แต่จากที่สังเกตมานั้นดอกสดให้ความเข้มข้นของสีที่มากกว่า แต่ถ้าคั้นเอาน้ำหลายรอบจะติดตรงที่ว่ามีกากใยจากดอกมาด้วย ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ต้องกรองด้วยผ้าขาวบางเท่านั้น สำหรับดอกแห้งสีให้น้อยกว่าค่ะ ยิ่งเก็บนานยิ่งสีน้อย เพราะบางทีคั้นรอบเดียวก็ต้องทิ้งแล้ว แต่เรื่องใยตามธรรมชาติจากที่เราคั้นดอกอัญชันนั้นแทบจะไม่มีเลยเมื่อเทียบกับดอกสดค่ะ การคั้นเอาน้ำดอกอัญชันที่ดีที่สุดคือคั้นด้วยน้ำร้อนค่ะ โดยให้ต้มน้ำจะเดือดจากนั้นนำน้ำร้อนมาเติมลงไปจำนวน 2 ถ้วย ในภาชนะที่มีดอกอัญชันแห้งจำนวนครึ่งถ้วย และใช้ทัพพีกวนในหม้อหรือถ้วยให้ดอกอัญชันโดยความร้อนอย่างทั่วถึงค่ะ หรือจะตวงน้ำก่อนนำไปต้มและใส่ดอกอัญชันแห้งลงไปในหม้อก็ได้ ซึ่งวิธีการต่างกันนิดหน่อยแต่สุดท้ายได้สีเหมือนกันและแทบไม่มีความแตกต่างเลยค่ะ3. กรองน้ำดอกอัญชันในส่วนนี้เราสามารถใช้ผ้าขาวบางหรือกระชอนก็ได้ค่ะ และให้ระวังเรื่องความร้อน แต่สำหรับผู้เขียนใช้กระชอนตอนกรองค่ะ กรองน้ำดอกอัญชันใส่ภาชนะที่ทนความร้อนนะคะ จากนั้นให้เติมส่วนของน้ำเปล่าลงไปให้สอดคล้องกับอัตราส่วนของน้ำต่อข้าวตามชนิดของข้าวของเรา สำหรับของผู้เขียนคือต้องเพิ่มน้ำเปล่าไปอีก 6 ถ้วย และใส่น้ำทั้งสองส่วนนี้ลงไปในหม้อที่เราได้ล้างข้าวไว้แล้วจากข้อที่ 1 ค่ะ โดยคำว่า "ถ้วย" ในบทความนี้เราหมายถึงถ้วยตวงขนาดมาตรฐาน โดยสามารถใช้ถ้วยตวงที่แถมมากับหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้เลยจ้า4. นำข้าวไปหุงก็ปกติค่ะเราเคยกดหุงข้าวแบบไหนก็ให้ทำตามนั้น ไม่ต้องใช้โหมดพิเศษอะไร สำหรับของผู้เขียนก็กดโหมดหุงที่เป็นโปรแกรมการหุงข้าว และเคยลองมาหมดแล้วค่ะไม่ว่าหม้อหุงข้าวไฟฟ้าจะหน้าตาแบบไหน ยี่ห้ออะไร ข้าวหุงสุกและออกมาดีหมด พอข้าวสุกหม้อข้าวก็เปลี่ยนมาเป็นโหมดอุ่น เพียงเท่านี้ก็ถือว่าสิ้นสุดการหุงข้าวด้วนน้ำดอกอัญชันแล้วค่ะ โดยใช้เวลาไปประมาณ 20 เท่านั้นเอง ก็ได้ข้าวสีม่วงสวยจากสีตามธรรมชาติของดอกอัญชัน ง่ายมากๆ เลยใช่ไหมคะ?5. ตักข้าวเสิร์ฟตามต้องการมาต่อกันที่ต้องมาหม่ำข้าวสวยๆ ของเราค่ะ โดยตอนจะทานข้าวก็ให้ตักข้าวทานได้ตามต้องการนะคะ โดยข้าวของเราจะมีสีม่วงอมฟ้าสวยมากก็ไม่ต้องตกใจค่ะ ให้ลองจัดข้าววางในจานสีพื้นโดยเฉพาะสีขาว การทำแบบนี้จะทำให้ข้าวของเราดูเด่นขึ้น มงลงจริง สวย ดูน่าทานและหรูหราหมาเห่าค่ะว้าว! เป็นยังไงค่ะ น่าสนใจมากๆ เลยใช่ไหมกับการหุงข้าวด้วยน้ำดอกอัญชัน และนั่นคือวิธีการเพียงไม่กี่ขั้นตอนสำหรับเปลี่ยนข้าวให้มีสี ที่ทานแล้วก็ดีต่อสุขภาพค่ะ ซึ่งสวยงามตามท้องเรื่อง ที่หุงแล้วการทานอาหารกับข้าวแบบนี้ก็ยังอร่อยตามปกติค่ะ ที่ไม่ขมเลย ไม่เหม็น ไม่มีกลิ่นสาบ ไม่เปลี่ยนรสชาติกับข้าวแน่นอน แถมหุงด้วยหม้อหุงไฟฟ้าง่ายๆ ด้วย และที่สำคัญคือข้าวน้ำดอกอัญชันหุงแล้วไม่บูดง่ายค่ะ ที่ยังสามารถอุ่นทานต่อได้ในเวลาถัดมา จึงได้ประโยชน์หลายต่อมาก สะดวกและรวดเร็ว แถมเด็กก็ตื่นเต้นกันใหญ่เลยค่ะและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะหลานของผู้เขียนก็ทานข้าวแบบนี้ได้พร้อมๆ กับผู้ใหญ่ค่ะดังนั้นลองไปหุงข้าวด้วยน้ำดอกอัญชันกันดีกว่าค่ะ เพราะแนวทางนี้ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งจากจุดเล็กๆ ในการส่งเสริมสุขภาพ โดยคำว่า “ส่งเสริมสุขภาพ” หมายความว่า เราได้ทำอะไรสักอย่างเพื่อคงการทำงานปกติของร่างกายเอาไว้ และการหุงข้าวน้ำดอกอัญชันก็เป็นการเอาคุณค่าจากธรรมชาติมาไว้ในข้าวที่ทำได้ง่ายๆ สำหรับคนที่อาจจะยังไม่รู้สัดส่วนของน้ำต่อข้าวที่ชัดเจนนั้น อาจต้องลองหุงน้ำธรรมดาดูก่อนเพื่อหาจุดที่พอดีค่ะ และการซื้อข้าวถุงจากห้างแบบนี้ก็ดีเพราะเขามีข้อมูลข้างถุงให้ดูด้วยว่าต้องใช้น้ำมากน้อยแค่ไหน ก็ลองดูค่ะและหลายๆ คนซื้อข้าวสารจากตลาด แต่อาจเคยได้ยินมาว่าให้ใส่น้ำหนึ่งข้อนิ้ว ต้องขอบอกไว้ในท้ายนี้เลยด้วยประสบการณ์หุงข้าวมายายนานค่ะว่า หลักการนี้ใช้ไม่ได้กับทุกข้าว โดยเฉพาะข้าวเก่าและข้าวแข็ง แต่ไม่ว่าจะข้าวแบบไหนถ้าได้เติมน้ำดอกอัญชันลงไปแล้วยังไงก็มีสีม่วงสวยอันนี้ชัดเจนมาก ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และถ้าชอบบทความแบบนี้อีกอย่าลืมกดติดตามหรือบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะเพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆนี้ค่ะ😊เครดิตภาพประกอบบทความภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียนออกแบบภาพหน้าปกใน Canvaเกี่ยวกับผู้เขียนภัคฒ์ชาลิสา จำปามูลศึกษาเกี่ยวกับ: พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisahttps://food.trueid.net/detail/3w28MVrymGGl https://food.trueid.net/detail/By4VKGAblGm1 https://women.trueid.net/detail/gbJw47lXoY1x หิวใช่ไหม อยากหาของกินอร่อย ๆ ใช่หรือเปล่า ส่องร้านเด็ดร้านดังได้ที่ App TrueID โหลดฟรี !