เห็ดผึ้งขม กินได้ไหม รสชาติยังไง ทำเมนูอะไรได้บ้าง | บทความโดย Pchalisa การทานเห็ดเป็นสิ่งที่ผู้เขียนทำได้ค่ะ และคนที่บ้านทุกคนทำได้ เราทานอาหารที่ทำจากเห็ดได้แบบเอร็ดอร่อยกันทุกคนค่ะ เห็ดที่ไม่ว่าจะมาจากฟาร์มหรือมาจากป่า ผู้เขียนชอบค่ะ โดยมีเห็ดชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมักได้ทานทุกปี คือ เห็ดผึ้งขม ที่เป็นเห็ดที่มาจากป่า ที่กินได้จริงไหมนั้น ต้องอ่านต่อกันค่ะ เห็ดผึ้งขม หลายคนอาจงงๆ เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน ในขณะที่เห็ดชนิดนี้รู้กันเป็นอย่างดีสำหรับคนที่นี่ค่ะ ดังนั้นในบทความนี้ผู้เขียนต้องการมาส่งต่อเรื่องนี้ให้กับคุณผู้อ่านที่สนใจเรื่องเห็ดผึ้งค่ะ ส่วนจะมีเนื้อหาอะไรน่าสนใจบ้างนั้น เรามาอ่านไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ ดังเนื้อหาสาระตามนี้ เห็ดผึ้งขมมีหมวกเห็ดที่มีขนาดประมาณ 3-10 เซนติเมตรค่ะ มีรูปร่างนูนแล้วแบน มีขนละเอียดหรือเรียบผิว เมื่อเปียกชื้นจะมีความหนืด โดยสีของหมวกเห็ดชนิดนี้จะแตกต่างกันไปตั้งแต่ม่วงอมเทาจนถึงม่วงอมน้ำตาลค่ะ ซึ่งจากที่ผู้เขียนได้สังเกตเห็นมานั้น เห็ดผึ้งขมอ่อนมีสีม่วงอมเทาค่ะ แต่พอแก่เห็ดชนิดนี้มีสีม่วงอมน้ำตาลแทน เห็ดชนิดนี้มีครีบเกือบกลม มีสีขาวเมื่ออ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมน้ำตาลเมื่อแก่ค่ะ โดยก้านเห็ดมีขนาด 3-10 เซนติเมตร รูปทรงเรียวใหญ่ไปทางโคน ก้านมีสีขาวตอนบน และเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมเทาหรือมีลายตาข่ายจางๆ ตอนล่าง เมื่อเราตัดเนื้อเห็ดออกจะพบว่ามีสีขาว และอาจเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนเมื่อสัมผัสกับอากาศค่ะ เห็ดผึ้งขมมักพบขึ้นตามธรรมชาติในป่า โดยเฉพาะบริเวณที่มีต้นยูคาลิปตัส เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ชอบความชื้นและอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายจากใบไม้และเศษไม้นะคะ และฤดูกาลของเห็ดผึ้งขมมักจะตรงกับช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่มีฝนตกชุกและอากาศชื้นค่ะ เพราะสภาพอากาศแบบนี้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนี้มากที่สุดค่ะทุกคน และเหตุผลที่เห็ดผึ้งขมชอบขึ้นในช่วงฤดูฝนก็คือ ความชื้น เห็ดต้องการความชื้นในการเจริญเติบโต และฝนที่ตกลงมาจะช่วยเพิ่มความชื้นในดิน จึงทำให้เห็ดผึ้งขมสามารถงอกออกมาได้ดีค่ะ อุณหภูมิ อากาศที่ไม่ร้อนจัดและไม่เย็นจัดในช่วงฤดูฝน จะเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดชนิดนี้ค่ะ สภาพแวดล้อม ในช่วงฤดูฝนสภาพแวดล้อมในป่าจะมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยอินทรีย์วัตถุ ซึ่งเป็นอาหารของเห็ดได้อย่างดี จึงทำให้มีเห็ดผึ้งขมเกิดขึ้นมาตามธรรมชาติค่ะ และคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? เห็ดผึ้งขมมีรสชาติเฉพาะตัว ถึงแม้ว่าจะมีความขม แต่หลายคนก็ชื่นชอบรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเห็ดชนิดนี้ค่ะ และเห็ดแบบนี้สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูมากๆ ที่หลายคนอาจจะมีโอกาสได้ทานมาบ้างแล้ว ในขณะที่อีกหลายคนก็ยังมองภาพไม่ออก เห็ดผึ้งขมสามารถหาได้ตามธรรมชาติค่ะ จากที่ได้เกริ่นมาบ้างแล้วว่า เห็ดผึ้งขมมักขึ้นตามธรรมชาติในป่า โดยเฉพาะบริเวณที่มีต้นยูคาลิปตัส จึงทำให้คนในพื้นที่มักนำเห็ดชนิดนี้มาเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งอาหารจากป่าที่หาได้ง่ายในบางพื้นที่ค่ะ เวลาเราจะนำเห็ดผึ้งขมมาทำอาหาร สิ่งที่ต้องรู้อีกต่อมาคือการลดความขมค่ะ เพราะถ้าต้องการทานเห็ดชนิดนี้ต้องเข้าใจการลดความขมตามธรรมชาติค่ะ โดยสามารถนำเห็ดผึ้งขมไปต้มในน้ำเดือดก่อนนำไปทานค่ะ การต้มของแต่ละคนมีหลากหลายมากนะคะ เพราะต่างคนต่างก็คิดหาวิธีการกำจัดความขม โดยที่ผู้เขียนรู้มานั้นบางคนนำเห็ดผึ้งขมสดมาต้มกับมะเขือพวงบ้าง ใบฝรั่งบ้าง เพื่อลดความขมและเพิ่มรสชาติค่ะ แต่สำหรับนั้นมองว่าการต้มในน้ำเดือดก็เพียงพอแล้วค่ะ แต่ต้องต้มอย่างน้อยสองครั้ง ที่จะยังมีความขมอ่อนๆ แบบยังทานได้อร่อยค่ะ และวิธีการเลือกซื้อเห็ดผึ้งขมที่ต้มมาแล้วนั้นยังสามารถทำได้ค่ะ ที่อาจจะยากกว่าการเลือกซื้อเห็ดสดนิดหน่อย เนื่องจากเราไม่สามารถตรวจสอบความสดใหม่ได้โดยตรง แต่ก็มีวิธีสังเกตเบื้องต้นเพื่อช่วยในการเลือกซื้อได้ ดังนี้ค่ะ สีสัน: เห็ดผึ้งขมที่ต้มสุกแล้วจะมีสีที่เข้มขึ้นกว่าเห็ดสดเล็กน้อย สีของเห็ดจะดูสม่ำเสมอ ไม่มีรอยช้ำหรือเปลี่ยนสีผิดปกติค่ะ กลิ่น: ควรมีกลิ่นหอมของเห็ดที่ปรุงสุก ไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นเปรี้ยวนะคะ เนื้อสัมผัส: เนื้อเห็ดผึ้งขมควรมีความแน่น ไม่เละ ไม่นิ่มเกินไป เมื่อกดดูแล้วไม่ยุบตัวค่ะ บรรจุภัณฑ์: เลือกซื้อจากผู้ขายที่บรรจุเห็ดผึ้งขมในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท หากคุณผู้อ่านเก็บเห็ดผึ้งขมได้จำนวนมากหรือซื้อมาเยอะ แล้วต้องการจะเก็บเอาไว้ทานนานๆ หลายเดือน เราสามารถทำได้ค่ะ โดยวิธีการที่คนแถวนี้นิยมมากที่สุดคือการแช่แข็งค่ะ ที่จะต้องนำเห็ดไปต้มก่อน จากนั้นก็ใส่ถุงและนำไปแช่ช่องแช่แข็งค่ะ ซึ่งการทำแบบนี้มีระยะเวลาเก็บได้นานหลายเดือน ซึ่งเวลาที่เราเห็นตลาดตามต่างจังกวัดมีเห็ดผึ้งขมที่ต้มแล้วมาวางขายนอกฤดูกาล ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเห็ดที่เก็บไว้ด้วยการแช่แข็งค่ะ เห็ดผึ้งขมสามารถนำมาทำแกงเห็ดใส่น้ำย่านางได้ค่ะ ที่อาจเพิ่มผักอย่างอื่นลงไปผสมได้ นอกจากนี้เห็ดผึ้งขมต้มแล้วเราสามารถนำมาทำลาบเห็ดได้ค่ะ เครื่องปรุงแบบเดียวกันกับการทำลาบเลยค่ะ ถ้าเห็ดยังขมมากแนะนำให้ทำรสจัดจากปกติ เพราะแบบนี้จะช่วยลดความขมได้นะคะ เห็ดชนิดนี้ต้มจืดดีสามารถนำมาทานกับส้มตำได้อร่อยค่ะ นั่นคือเมนูที่ผู้เขียนทานประจำ โดยทั้งหมดทั้งแกงเห็ดผึ้งขมและลาบเห็ดผู้เขียนสามารถทำได้ด้วยตัวเองค่ะ ที่ทานกับข้าวสวยได้อร่อยๆ เหมือนกับข้าวอื่นๆ ทั่วไปค่ะ ยังไงนั้นหากคุณผู้อ่านสนใจอยากลองทานเห็ดชนิดนี้ ก็ลองแวะเวียนไปหาซื้อมาทำอาหารกันค่ะ เพราะทานได้จริงที่มีความขม แต่เราก็สามารถกำจัดได้ และผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/doJVMR5PDVno https://food.trueid.net/detail/JVz4p1g17Oyv https://food.trueid.net/detail/w1l0JO6Djee1 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !