ลูกโดดคือพริกอะไร ทำไมต้องใส่ รสชาติยังไง มาดูกัน! | บทความโดย ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล ถ้าพูดถึงวัฒนธรรมอาหารไทยของเรา นอกจากเรื่องของรสชาติที่ไม่เป็นสองลองใครแล้วนั้น ในวัฒนธรรมด้านอาหารของประเทศไทย ก็ยังมีในส่วนของคำพูดที่ใช้สื่อถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นอันเข้าใจกันในหมู่ของคนที่ชื่นชอบอาหารชนิดนั้นๆ เช่น คำว่า “ลูกโดด” ซึ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็จะเดาได้ยากมากว่าคำๆ นี้หมายความว่าอะไร จริงไหมคะ? แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่า ลูกโดดคืออะไรกันแน่! แล้วทำไมภาพปกถึงเป็นรูปพริก เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกันยังไง ต้องอ่านต่อให้จบค่ะ เพราะอย่างน้อยจะได้มีประสบการณ์ก่อนไปเจอสถานการณ์จริงๆ เดี๋ยวจะหาว่าทำไมไม่บอกตั้งนานแล้ว และถ้าอยากรู้แล้วว่าลูกโดดคืออะไร งั้นเรามาอ่านต่อไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าค่ะ กับเนื้อหาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ หลายคนยังไม่รู้ว่า ลูกโดดเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาหารไทยภาคอีสานและภาคใต้ค่ะ ซึ่งการกินพริกลูกโดดถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาหารไทยไปแล้ว ที่สามารถพบเห็นได้แพร่หลายมากขึ้นด้วย ซึ่งในสถานการณ์จริงนั้น พริกลูกโดดไม่ได้มีความจำเป็นถึงขั้นขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันค่ะ แต่ก็มีบทบาทสำคัญในด้านอาหาร สุขภาพและวัฒนธรรม และสำหรับคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด พริกลูกโดดถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยเพิ่มรสชาติและความอร่อยให้กับอาหารเลยก็ว่าได้ โดยคำว่า "ลูกโดด" นั้น เป็นชื่อเรียกพริกที่ถูกใส่ลงไปทั้งลูก ที่ไม่ได้ถูกหั่นหรือโขลกให้แตกและใส่ลงไปในอาหาร หรือเครื่องจิ้มต่างๆ นะคะ แต่พริกลูกโดดมักจะหมายถึงพริกที่มาแบบไหนก็นำไปใช้แบบนั้นเลย ที่ส่วนมากเราอาจจะเห็นภาพที่ติดตามาบ่อยๆ ก็คือการใช้พริกขี้หนูสวนมาเป็นพริกลูกโดด เพราะพริกชนิดนี้มีขนาดเล็ก รสชาติเผ็ดจัดและมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติที่น่าสนใจ ซึ่งการกินพริกทีละเม็ด โดยไม่นำไปปรุงหรือตำรวมกับอาหารอื่นๆ ทำให้เรารู้สึกถึงรสชาติเผ็ดร้อนที่โดดออกมาอย่างชัดเจน และเมื่อเราเคี้ยวพริกทั้งเม็ด จะทำให้เกิดความรู้สึกเผ็ดร้อนที่กระจายไปทั่วปากอย่างรวดเร็ว จึงเหมือนกับ "ลูกโดด" ที่พุ่งออกมา ซึ่งบางคนยังได้เปรียบเทียบรูปร่างของพริกบางชนิด เช่น พริกขี้หนูสวน ว่ามีลักษณะคล้ายกับลูกกระสุนปืนที่โดดออกมาจากกระบอกปืน และในบางคนก็เรียกพริกบางชนิดที่โขลกไม่โดนว่า"ลูกโดด" อีกด้วย อย่างไรก็ตามในสถานการณ์จริงคนในภาคอีสาน ก็ไม่จำกัดแค่เพียงการใช้พริกขี้สวนมาเป็นพริกลูกโดดค่ะ แต่ยังใช้ประยุกต์ใช้พริกชนิดอื่นด้วย ซึ่งการใช้พริกที่นำมาทำลูกโดด เขาจะเลือกพริกที่ดูสดใหม่ ไม่เหี่ยวหรือมีรอยเน่าเสีย ที่ส่วนมากก็คือพอจะใส่พริกลูกโดด เขาจะพากันเดินไปเก็บพริกจากต้นทันที โดยสถานการณ์แบบนี้จะพบได้มาก ในกรณีที่ปลูกพริกเอาพริกเอาไว้ในสวนหรือบ้านค่ะ และคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า พริกลูกโดดนิยมนำมาใช้ในอาหารไทยหลายชนิด เช่น น้ำพริก แหนมหมูห่อใบตอง ปลาจ่อม แกงอ่อม น้ำยาขนมจีนก็ได้ โดยพริกลูกโดดสามารถเป็นได้ทั้งแบบสดและแบบปรุงสุกแล้วค่ะ ถ้าเป็นแบบสดจะนำกินสดๆ คู่กับอาหารชนิดนั้นเลย พริกลูกโดดมีรสชาติเผ็ดจัดจ้าน ซึ่งช่วยเพิ่มความเผ็ดร้อนให้กับอาหาร ทำให้มีรสชาติที่จัดจ้านและอร่อยยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพริกขี้หนูสวน ที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งช่วยเพิ่มความหอมให้กับอาหาร นอกจากนี้การใส่พริกลูกโดดทั้งเม็ด ช่วยเพิ่มความสวยงามและและดูน่ากินมากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งการใส่พริกลูกโดดในอาหารแต่ละชนิดนั้น จะขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล และสูตรอาหารของแต่ละท้องถิ่นนะคะ และอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นในสถานการณ์จริงเลยก็คือ คนที่เคยกินพริกลูกโดดเป็นประจำ จะคุ้นเคยกับรสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของพริกแบบนี้ค่ะ และเมื่อไม่มีพริกลูกโดดในอาหารจานนั้น รสชาติจึงขาดหายไป ทำให้รู้สึกไม่สมบูรณ์เหมือนขดอะไรไปสักอย่าง และบางคนชื่นชอบรสชาติเผ็ดร้อนของพริกลูกโดดเป็นพิเศษ การไม่มีพริกลูกโดดในอาหารจึงทำให้รู้สึกผิดหวัง หรือรู้สึกว่าอาหารนั้นไม่อร่อยเท่าที่ควรประสบการณ์การกิน เนื่องจากการกินพริกลูกโดดทั้งเม็ด จะให้ความรู้สึกเผ็ดร้อนที่แตกต่างจากการกินพริกที่ถูกหั่นหรือตำ และคนที่ชื่นชอบความรู้สึกนี้จึงต้องการพริกลูกโดดในอาหาร ซึ่งการถามหาพริกลูกโดดนั้นเป็นผลมาจากความเคยชิน ความชอบส่วนตัว วัฒนธรรมการกิน และประสบการณ์การกินที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลค่ะ ถ้าหากคุณผู้อ่านต้องการใส่พริกลูกโดดในอาหารนั้น มีเคล็ดลับต้องรู้อยู่เหมือนกันค่ะ ซึ่งการใส่พริกลูกโดดจะขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและรสชาติที่ต้องการ ที่โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลาหลักๆ คือ 1. ใส่ในช่วงปรุงอาหาร การใส่พริกลูกโดดในช่วงปรุงอาหาร เช่น ในแกงหรือผัด จะทำให้รสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมของพริกซึมเข้าไปในอาหารอย่างทั่วถึง สำหรับบางเมนูที่ต้องการความเผ็ดร้อนจัดจ้าน การใส่พริกลูกโดดในช่วงแรกของการปรุงอาหารจะช่วยให้ความเผ็ดออกมาได้เต็มที่ 2. ใส่ในช่วงท้ายของการปรุงอาหารหรือก่อนเสิร์ฟ การใส่พริกลูกโดดในช่วงท้ายของการปรุงอาหาร หรือก่อนเสิร์ฟ เช่น ในน้ำพริก จะช่วยคงความสดใหม่ของพริก ทำให้ได้รสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมที่สดชื่น ช่วยเพิ่มสีสันและน่ากินให้กับอาหารอีกด้วย การใส่พริกลูกโดดทั้งเม็ดในตอนท้าย ส่วนมากทำไปเพื่อเป็นการตกแต่งจานอาหาร เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับอาหารจานนั้นๆ ค่ะ ทั้งนี้ปริมาณพริกลูกโดดที่ใส่ลงไปในอาหาร ควรปรับตามความชอบส่วนบุคคล สำหรับผู้ที่ไม่ทานเผ็ด ควรใส่พริกลูกโดดในปริมาณน้อย หรือหลีกเลี่ยงการเคี้ยวพริกโดยตรงนะคะ ที่โดยสรุปแล้วพริกลูกโดดในอาหารจานหนึ่ง ถือว่ามีบทบาทสำคัญในหลายด้านค่ะ โดยเฉพาะในวัฒนธรรมการกินของคนไทย ที่จะว่าไปพริกลูกโดดเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารไทยหลายชนิด เพราะช่วยเพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบอาหารรสจัด พริกลูกโดดถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ เพราะนอกจากพริกลูกโดดช่วยเพิ่มสีสันให้กับอาหารแล้ว ทำให้อาหารดูน่ากินยิ่งขึ้นด้วย แถมได้รสชาติเผ็ดร้อนของพริกลูกโดดช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และทำให้เจริญอาหารมากขึ้นด้วยค่ะ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าพริกลูกโดดจะมีคุณค่าทางโภชนาการตามธรรมชาติ แต่ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมค่ะ สำหรับผู้เขียนนั้นต้องบอกว่า ก็มีโอกาสได้ลิ้มลองความเผ็ดร้อนของพริกลูกโดดมาบ้างเหมือนกันค่ะ อีกทั้งยังเคยได้โยนพริกลูกโดดลงไปในอาหารที่ทำกับมือมาแล้ว ก็มีหลายอย่างค่ะ เช่น แกงอ่อมต่างๆ แบบคนในภาคอีสาน น้ำยาขนมจีนได้ทั้งแบบใส่กะทิและแบบแกงป่าค่ะ และในห่อหมกนั้น คนในภาคอีสานเองก็นิยมใส่พริกลูกโดดด้วยค่ะ และถ้าคุณผู้อ่านอยากมีประสบการณ์เกี่ยวกับพริกลูกโดดบ้าง ก็อย่าลืมเก็บพริกสดใหม่และนำมาใส่ในอาหารกันค่ะ ซึ่งใส่ตอนไหนได้บ้าง ผู้เขียนก็ได้แนะนำไว้แล้ว และผู้เขียนหวังว่าเนื้อในบทความนี้จะสามารถเป็นแนวทางให้กับคุณผู้อ่านได้บ้าง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกโดยผู้เขียนใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา: พยาบาลศาสตรบัณฑิต จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ: สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดยผู้เขียน ดอกกระเจียว ผักพื้นบ้านอีสาน กินได้ไหม รสชาติยังไง ถั่วแปบสด ทำอะไรกินได้บ้าง รสชาติยังไง อร่อยไหม ผักหนอกหรือใบบัวบกอีสาน คืออะไร ขมไหม กินกับอะไรดี เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !