มะกอกป่า คืออะไร ใส่ส้มตำได้ไหม รสชาติยังไง | บทความโดย Pchalisa มะกอกถ้าพูดแค่นี้มีต้องสับสนแน่นอนค่ะ เพราะในความเป็นจริงนั้น มีทั้งมะกอกฝรั่ง มะกอกน้ำ และมะกอกป่า ซึ่งมะกอกอย่างหลังนั้น อาจมีน้อยคนที่รู้จักและได้เกี่ยวข้อง แต่ในทางตรงกันข้ามผู้เขียนคือตัวอย่างของคนที่ได้รู้จักมะกอกป่าค่ะ โดยรู้จักมานานมากแล้วตั้งแต่เด็ก และปัจจุบันถ้าเห็นปุ๊บก็บอกได้ทันทีว่าแบบไหนเรียกว่ามะกอกป่า ที่ใครจะมาโกหกไม่ได้แน่นอน ยังไม่พอนะคะ แถมผู้เขียนยังสามารถบอกได้ด้วยว่า ต้นมะกอกป่าหน้าตาแบบไหน ส่วนไหนทานได้ รสชาติตามธรรมชาติของส่วนที่ทานได้เป็นยังไง อีกทั้งยังสามารถสาธิตทำเมนูจากมะกอกป่าได้ด้วยค่ะ น่าสนใจแล้วใช่ไหมคะ? โดยในบทความนี้ไม่ได้มาทำอาหารให้ทานค่ะ แต่จะมาสรุปให้ได้อ่านกัน เกี่ยวกับเรื่องของมะกอกป่า งั้นเรามาอ่านต่อกันเลยดีกว่านะคะ ดังนี้ มะกอกป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ที่พบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งในประเทศไทยค่ะ และลักษณะเด่นของต้นมะกอกป่า คือ ใบประกอบแบบขนนกที่สวยงาม และผลที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งเป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยต้นมะกอป่าในธรรมชาตินั้น พบว่า ลำต้น: สูงประมาณ 10-40 เมตร เปลือกนอกสีเทา หนา มีรอยแตกตามยาว ลำต้นตรง โคนต้นมักเป็นพูพอน ใบ: ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมัน ดอก: ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีขาวอมเหลือง ผล: รูปไข่ ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม เนื้อในฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวานค่ะ ซึ่งหลายคนยังไม่รู้ว่า มะกอกป่าสามารถเกิดเองได้โดยกระบวนการทางธรรมชาติหลายวิธีค่ะ จึงทำให้เราพบเห็นต้นมะกอกป่าขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ โดยหลักๆ แล้วมีดังนี้ การกระจายเมล็ดโดยสัตว์: นกและสัตว์ป่าหลายชนิดชอบกินผลมะกอกป่า เมื่อกินเข้าไป เมล็ดจะผ่านกระบวนการย่อยอาหารและออกมาพร้อมกับอุจจาระ เมื่ออุจจาระถูกทิ้งไว้ในที่ต่างๆ เมล็ดก็จะได้โอกาสงอกเป็นต้นใหม่ การกระจายเมล็ดโดยน้ำ: เมื่อผลสุกหล่นลงมาตามพื้นดิน น้ำฝนอาจพัดพาเมล็ดไปยังที่ต่างๆ ทำให้เมล็ดได้แพร่พันธุ์ออกไป การงอกของเมล็ดเองตามธรรมชาติ: เมื่อผลสุกหล่นลงมาและแตกออก เมล็ดอาจจะตกลงสู่ดินที่เหมาะสมและได้รับความชื้นเพียงพอ ก็สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้เอง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดของมะกอกป่า ได้แก่ สภาพแวดล้อม: มะกอกป่าชอบขึ้นในพื้นที่ที่มีแสงแดดส่องถึงพอสมควร ดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง และมีอินทรียวัตถุสูงค่ะ สัตว์ช่วยผสมเกสร: แมลงต่างๆ เช่น ผึ้ง ช่วยผสมเกสรให้ดอกมะกอกป่า ทำให้เกิดผลและเมล็ดนะคะ ปัจจัยรบกวน: การบุกรุกป่า การทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของมะกอกป่าได้ค่ะ และคุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ส่วนที่ทานได้ของต้นมะกอกป่านั้น มีหลักๆ อยู่ด้วยกันสองส่วนค่ะ คือ ยอดอ่อนและผลของมะกอกป่า โดยที่รสชาติของยอดมะกอกป่านั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่ะ ที่โดยทั่วไปแล้วยอดมะกอกป่าจะมีรสชาติที่เปรี้ยวอมฝาด เล็กน้อย พร้อมกับกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับอาหารได้เป็นอย่างดี และสาเหตุที่ทำให้ยอดมะกอกป่าถึงมีรสชาติแบบนั้น ก็เพราะว่า ความเปรี้ยว: เกิดจากกรดอินทรีย์ที่อยู่ในยอดมะกอกป่า ซึ่งช่วยให้รู้สึกเปรี้ยวนะคะ ความฝาด: เกิดจากสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ทั่วไปในพืชชนิดนี้ กลิ่นหอม: เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของมะกอกป่า เกิดจากสารระเหยต่างๆ ซึ่งช่วยเพิ่มรสชาติและกลิ่นหอมให้อาหารน่าทานมากยิ่งขึ้นค่ะ และผลสุกของมะกอกป่าก็มีรสเปรี้ยวที่มาจากกรดอินทรีย์ที่อยู่ในผลค่ะ ซึ่งจะค่อยๆ ลดลงเมื่อผลสุกเต็มที่ ในขณะที่ส่วนของรสหวานนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จึงทำให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมนะคะ นอกจากรมะกอกป่าจะมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานแล้ว มะกอกป่าสุกยังมีรสชาติอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกด้วยค่ะ ดังนี้ ฝาดเล็กน้อย: รสฝาดนี้จะมาจากสารแทนนิน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบในลุกมะกอป่า และจะลดลงเมื่อผลสุกเต็มที่ค่ะ หอมเฉพาะตัว: มะกอกป่าสุกจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวที่ช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับอาหารได้เป็นอย่างดีค่ะ ดังนั้นเราจึงพบว่า คนมักนำมะกอกป่ามาใส่ส้มตำ เพราะผลมะกอกป่าสุกช่วยเพิ่มรสชาติเปรี้ยวและกลิ่นหอมให้กับส้มตำได้ค่ะ แต่การทำน้ำพริก ก็ยังสามารถนำมะกอกป่าสุกมาตำรวมกับพริกและเครื่องปรุงอื่นๆ เพื่อทำน้ำพริกได้ด้วยเหมือนกันนะคะ ซึ่งทั้งสองเมนูนี้คือสิ่งที่ผู้เขียนได้ทำบ่อยที่สุดตอนที่มีผลมะกอกป่าสุกค่ะ ที่ในบางครั้งผู้เขียนยังได้ลองใส่มะกอกป่าสุกในต้มยำปลาน้ำใส และต้มยำไก่น้ำใส พบว่า รสชาติเปรี้ยวได้ใจเหมือนกันค่ะ แต่น้ำแกงไม่ค่อยสวยมากนัก ซึ่งผลมะกอกป่าสุกจะว่าเป็นตัวเลือกที่ให้ความเปรี้ยวแทนมะนาวก็ได้ค่ะ โดยส้มตำที่ใส่มะกอกป่าสุกนั้น จะมีรสชาติที่เปรี้ยวอมหวานเป็นเอกลักษณ์ค่ะ ซึ่งรสเปรี้ยวของมะกอกป่าจะเข้ากันได้ดีกับรสชาติของส้มตำ ทำให้ส้มตำมีรสชาติที่กลมกล่อมยิ่งขึ้น นอกจากนี้รสหวานของมะกอกป่าสุกยังช่วยตัดเลี่ยน และทำให้ส้มตำมีรสชาติที่น่าทานมากยิ่งขึ้นค่ะ และนอกจากรสชาติเปรี้ยวอมหวานแล้ว มะกอกป่ายังมีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติอื่นๆ ให้กับส้มตำอีกด้วย เช่น ความหอม: กลิ่นหอมเฉพาะตัวของมะกอกป่าจะช่วยเพิ่มความอร่อยให้กับส้มตำค่ะ ความฝาดเล็กน้อย: รสฝาดของมะกอกป่าจะช่วยให้ส้มตำมีรสชาติที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ที่โดยรวมแล้วส้มตำที่ใส่มะกอกป่าสุก จะมีรสชาติที่แตกต่างจากส้มตำทั่วไปค่ะ เป็นรสชาติที่หลายคนชื่นชอบ เพราะมีความเป็นเอกลักษณ์และอร่อยแบบลงตัว เราจึงพบว่ามีผลมะกอกป่าในส้มตำในหลายๆ เจ้านะคะ ทั้งนี้อาจพบว่าส้มตำใส่มะกอกป่าบางครั้งอาจมีสีที่ไม่น่าทานได้ค่ะ โดยสาเหตุหลักๆ มาจากสิ่งเหล่านี้ค่ะ ชนิดของมะกอกป่า: มะกอกป่าแต่ละชนิดจะมีสีและรสชาติแตกต่างกันไปค่ะ บางชนิดเมื่อนำมาตำ อาจทำให้ส้มตำมีสีเข้มหรือสีคล้ำลง ความสุกของมะกอกป่า: มะกอกป่าที่สุกมากเกินไป อาจมีสีเข้มและมีรสขมได้ จึงทำให้สีของส้มตำดูไม่น่าทานตามมา วิธีการเตรียมมะกอกป่า: การปอกเปลือกและการแกะเมล็ดมะกอกป่าไม่สะอาด สามารถทำให้มีส่วนที่เป็นสีดำหรือสีน้ำตาลปนอยู่ในส้มตำได้ค่ะ และถ้าหากต้องการให้ส้มตำใส่มะกอกป่ามีสีสันน่าทานมากขึ้น ต้องลองทำตามเคล็ดลับดังต่อไปนี้ดูค่ะ เลือกมะกอกป่าสุกกำลังดี: เลือกมะกอกป่าที่สุกพอดี ไม่สุกเกินไปหรือดิบเกินไป ปอกเปลือกและแกะเมล็ดให้สะอาด: ล้างมะกอกป่าให้สะอาดก่อนนำมาปอกเปลือกและแกะเมล็ด ใส่ส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มสีสัน: เช่น แครอท หอมแดง หรือมะเขือเทศ เพื่อช่วยให้ส้มตำมีสีสันที่สดใสมากขึ้น ตำให้ละเอียด: การตำให้ละเอียดจะช่วยให้ส่วนผสมต่างๆ เข้ากันได้ดี และทำให้ส้มตำมีสีสันที่สวยงามขึ้น ลองเลือกมะกอกป่าชนิดอื่น หรือลดปริมาณมะกอกป่าที่ใส่ลงไปในส้มตำก็ได้ค่ะ ปกติยอดมะกอกอ่อนและผลมะกอกป่ามีขายตามตลาดในราคาแบบบ้านๆ ค่ะ ที่จะนำมาใส่ตำถั่วและตำแตงก็ยังทำได้นะคะ ที่ผู้เขียนมักนำมาเป็นกำลังเสริมความอร่อยร่วมกับการใส่วัตถุดิบอื่นๆ ตอนทำเมนูตำค่ะ โดยส่วนมากไม่ค่อยไดซื้อมะกอกค่ะ เพราะสามารถเดินไปหาเองได้ถ้าว่างและได้มีเวลา แต่ส่วนมากตอนได้มะกอกป่ามาจะเป็นคนที่รู้จักกัน เขาไปหาเก็บมะกอกป่าสุกที่หล่นใต้ต้น ที่เก็บมาแต่ละครั้งก็จะเผื่อคนอื่นด้วย จากนั้นเขาจะนำมาแบ่งให้กับแม่ของผู้เขียน และผลพลอยได้ก็ตามมาที่ผู้เขียนอีกทอดค่ะ เลยทำให้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ทานเมนูจากผลมะกอกป่ามาเรื่อยๆ ยังไงนั้นคุณผู้อ่านยังสามารถหามะกอกแบบนี้ได้ง่ายๆ ที่ตลาดค่ะ แต่ถ้าอยากปลูกต้นมะกอกป่า สมัยนี้ก็ทำได้ค่ะ เพราะน้าของผู้เขียนเคยซื้อต้นพันธุ์ของมะกอชนิดนี้มาปลูก ที่ส่วนมากจะได้เก็บยอดอ่อนมาทานกับลาบและน้ำพริกมากกว่าค่ะ อย่างไรก็ตามผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/1W27YB5EbKnA https://food.trueid.net/detail/J5lxkAVnxY45 https://food.trueid.net/detail/6aY9Q8kpp8ya เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !