งานสังสรรค์ใดที่ขาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ย่อมเป็นงานสังสรรค์ขาดสีสันผมเชื่อว่ามีหลายคนเลยใช่ไหมครับที่มีความชื่นชอบแบบนี้ เพราะงานสังสรรค์ที่ครบเครื่องสำหรับบางคน จะต้องห้ามขาดเครื่องดื่มประเภท แอลกอฮอล์ เป็นเด็ดขาด และ " เบียร์ " ก็ถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียวล่ะครับ บางคนอาจจะดื่มเบียร์เพียงแค่ช่วงเวลาที่มีงานพบปะสังสรรค์ หรือบางคนก็อาจจะชื่นชอบการ ดื่มเบียร์ ในช่วงเวลาที่ผ่อนคลายหลังเลิกงาน เพราะว่าเบียร์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มง่าย และมีเปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์ที่ต่ำ ประเภทและส่วนผสมของเบียร์ ก่อนที่เราจะไปพูดถึงคุณค่าทางโภชนาการหรือโทษต่างๆ ของ เบียร์ เราควรจะมาดูกันก่อนว่าเครื่องดื่มยอดฮิตอย่างเบียร์ มีส่วนผสมและประเภทหลักๆ อย่างไรบ้าง โดยการที่จะผลิตเบียร์ออกมาให้หลายๆ คนได้ดื่มกันนั้น จะใช่วัตถุดิบในการผลิตหลักๆ อยู่ 4 อย่าง คือ1.น้ำน้ำคือวัตถุดิบหลักที่สำคัญของ การผลิตเบียร์ เพราะว่าเบียร์มีส่วนผสมของน้ำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความแตกต่างของน้ำที่ใช้ในการผลิตก็จะส่งผลให้รสชาติของเบียร์มีความแตกต่างกันออกไป โดยจะแบ่งได้สองกรณีคือ น้ำที่มีแร่ธาตุมาก จะส่งผลทำให้เบียร์มีรสชาติที่เข้มข้นมากกว่า เพราะจะดึงรสฝาดของ ฮอปส์ ออกมาได้มากกว่าน้ำที่มีแร่ธาตุน้อย จะได้เบียร์ที่มีรสชาติที่นุ่มนวลกว่า เพราะมีการดึงรสฝาดออกมาจาก ฮอปส์ ได้น้อยกว่า 2.ฮอปส์ (Hobs) พืชชนิดหนึ่งที่ใช้ส่วนดอก มาเป็นวัตถุดิบ เพื่อให้เบียร์มีรสชาติที่ขม โดยจะเติมไปในขั้นตอนของการต้มเบียร์ นอกจากประโยชน์ของฮอปส์จะช่วยในเรื่องของรสชาติแล้ว ฮอปส์ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของกลิ่น และการยืดอายุในการเก็บรักษาของเบียร์ได้อีกด้วย ดังนั้นขั้นตอนการเลือกพันธุ์ของ ฮอปส์ ยังเป็นอีกเคล็ดลับหนึ่งที่ทำให้เบียร์แต่ละที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป 3.มอลต์ (Malt)มอลต์ เป็นเมล็ดธัญพืชที่ใช้ในการนำมาผลิตเบียร์ ซึ่งในการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะใช้น้ำตาลที่ได้จาก มอลต์ เพื่อให้ยีสต์ได้เปลี่ยนจากน้ำตาลกลายเป็น แอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนของมอลต์เองก็มีอยู่หลากหลายประเภท มอลต์จะทำให้เบียร์นั้นมีคุณสมบัติพิเศษมากขึ้น เช่น ลักษณะของสีที่แตกต่าง หรือในส่วนของกลิ่นและรสชาติ 4.ยีสต์ (Yeast)เป็นจุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ทำให้น้ำตาลในมอลต์ เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และยีสต์เองยังเป็นตัวที่ใช้แบ่งประเภทหลักๆ ของเบียร์ได้อีกด้วย ทั้ง 4 อย่างที่ได้กล่าวถึงนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนผสมหลักเพียงเท่านั้น เพราะการผลิตเบียร์ยังมีส่วนผสมอื่นๆ ที่เป็นเคล็ดลับของแต่ละคนเพื่อให้เอกลักษณ์ของเบียร์นั้นมีความแตกต่าง ประเภทของ " เบียร์ " ที่มีการแบ่งโดยประเภทของยีสต์หลายคนอาจจะกำลังคิดว่า เบียร์ ที่ดื่มกันอยู่ทุกวัน โดยที่มีฉลากหรือแบรนด์ที่แตกต่างกันอาจจะเป็นเบียร์คนละประเภท แต่ในความจริงแล้วการแบ่งประเภทของเบียร์หลักๆ นั้นมีอยู่เพียง 2 ประเภทหลักๆ นั่นก็คือ ประเภทที่ 1 Top-Fermenting Yeast หรือ ยีสต์ประเภทที่หมักลอยผิว โดยยีสต์ประเภทนี้ในช่วงเวลาการหมักจะทำงานอยู่ที่หน้าผิวของเบียร์ โดยเราจะเรียกเบียร์ที่ได้จากยีสต์ชนิดนี้ว่า Aleประเภทที่ 2 Bottom-Fermenting Yeast หรือ ยีสต์ประเภทที่หมักนอนก้น โดยยีสต์ประเภทนี้ในช่วงเวลาการหมักจะทำงานอยู่ที่ด้านล่างของเบียร์ โดยเราจะเรียกเบียร์ที่ได้จากยีสต์ชนิดนี้ว่า Lager เบียร์ที่ได้นำมาขายในท้องตลาดในบ้านเราส่วนมากนั้นจะเป็นเบียร์ประเภท Lager เพราะว่าเบียร์ชนิดนี้มีแคลอรี่ต่ำ ดื่มได้ง่าย ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ซึ่งเหมาะกับสภาพอาการที่ร้อนจัดในบ้านเราเป็นอย่างมาก คุณค่าทางโภชนาการของเบียร์เบียร์ 1 ออนซ์ จะได้รับพลังงานอยู่ที่ 12.8 กิโลแคลอรี่เบียร์ 1 กระป๋อง 356 กรัม จะได้รับพลังงาน 153.1 กิโลแคลอรี่นอกจากการดื่มเบียร์จะได้รับความสดชื่นและได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว การดื่มเบียร์ยังได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดื่มเบียร์มีประโยชน์ต่อหัวใจมีส่วนในการช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงต่อกระดูกช่วยลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมลดปริมาณสารก่อมะเร็งในเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันโรคเบาหวานมีส่วนช่วยในเรื่องระบบการขับถ่าย ช่วยผ่อนคลายความเครียดผลเสียของการดื่มเบียร์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอาจจะเกิดอาการเสพติดแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงต่อภาวะอาการซึมเศร้าเสี่ยงต่อโรคตับน้ำหนักขึ้น มีส่วนทำให้ก่อมะเร็งทั้งในลำคอ และปาก เห็นไหมล่ะครับว่าการ " ดื่มเบียร์ " นั้นมีทั้งผลดีและผลเสีย ถึงแม้จะมีงานวิจัยมากมายที่กล่าวถึงประโยชน์ของการดื่มเบียร์ แต่ก็มีงานวิจัยมากมายที่กล่าวถึงโทษของการดื่มเบียร์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นทางที่ดีก็ควรที่จะดื่มเบียร์แต่พอประมาณ เพราะว่าจากที่จะได้รับประโยชน์จากการดื่มเบียร์ก็อาจจะได้รับผลเสียแทนได้ บทความโดย Eco-Lifeอ้างอิง 1อ้างอิง 2อ้างอิง 3 ภาพปก ออกแบบโดยนักเขียนโดย canva ภาพที่ 1 ถ่ายโดย Life-Of-Pix/Pixabay ภาพที่ 2 ออกแบบโดยนักเขียนโดย canva ภาพที่ 3 ถ่ายโดย PeterKraayvanger/Pixabay ภาพที่ 4 ถ่ายโดย Tumisu/Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !