ตะขบ ผลไม้ลูกเล็ก หวานหอม อร่อยตามธรรมชาติ | บทความโดย Pchalisa ตะขบเป็นผลไม้ไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยรูปลักษณ์ที่น่ารัก สีสันแดงสดใส และรสชาติที่หวานอมเปรี้ยว ทำให้ตะขบเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนทุกเพศทุกวัย ที่ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อีกทั้งตะขบยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของคนไทยมาช้านาน จากที่ตะขบมีความหอมละมุนลิ้นค่ะ และเป็นผลไม้ที่ปลูกง่าย แถมบางต้นขึ้นได้เองตามธรรมชาติด้วย จึงยังพบว่ามีคนทานตะขบเป็นอาหารว่างจนถึงตอนนี้ค่ะ ต้นตะขบสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ที่โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากกระบวนการกระจายพันธุ์ของพืช ที่มีสาเหตุหลักๆ ดังนี้ค่ะ การกระจายพันธุ์โดยสัตว์: นกและสัตว์เล็กๆ มักจะกินผลตะขบ แล้วถ่ายเมล็ดออกไปในบริเวณต่างๆ เมื่อเมล็ดตกลงสู่ดินที่มีความชื้นเหมาะสม ก็จะงอกเป็นต้นตะขบต้นใหม่ได้ การกระจายพันธุ์โดยน้ำ: ผลตะขบที่สุกงอมและหล่นลงสู่พื้นดิน มักถูกชะล้างไปตามน้ำฝนหรือน้ำท่วม แล้วไปงอกรากในที่ใหม่ๆ ค่ะ การกระจายพันธุ์โดยลม: แม้จะพบไม่ได้บ่อยนัก แต่ลมก็สามารถพัดพาเมล็ดตะขบไปตกในบริเวณใกล้เคียงได้เช่นกันค่ะ และปัจจัยที่ส่งเสริมให้เราพบการเกิดต้นตะขบเองตามธรรมชาติ ก็คือ สภาพแวดล้อม: ตะขบเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น และดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นบริเวณที่มีป่าโปร่ง หรือพื้นที่รกร้างว่างเปล่า มักพบต้นตะขบขึ้นเองตามธรรมชาติได้ง่ายค่ะ การมีอยู่ของต้นตะขบเดิม: หากมีต้นตะขบต้นเดิมอยู่ใกล้เคียง ก็จะเพิ่มโอกาสที่เมล็ดจะกระจายไปยังบริเวณใกล้เคียงและงอกเป็นต้นใหม่ได้นะคะ คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ลักษณะของต้นตะขบน่าสนใจมาก คือ ต้นตะขบเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีลักษณะเด่นหลายอย่างที่ช่วยให้เราจำแนกออกจากต้นไม้ชนิดอื่นได้ง่ายๆ ค่ะ โดย 1. ลำต้นและกิ่งก้าน ลำต้น: มีขนาดไม่ใหญ่มาก เปลือกต้นมักมีสีเทาหรือน้ำตาล อาจมีรอยแตกตามยาว กิ่งก้าน: กิ่งก้านแตกออกเป็นหลายแขนง 2. ใบ รูปร่าง: ใบตะขบมีรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบอาจเรียบหรือหยักเล็กน้อย สี: ใบอ่อนมักมีสีแดงหรือสีม่วงอมแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบ: ผิวใบด้านบนเรียบ ส่วนด้านล่างอาจมีขนละเอียด 3. ดอก สี: ดอกตะขบมีสีขาวอมเหลือง ลักษณะ: ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบและปลายกิ่ง และลักษณะของผลตะขบตามธรรมชาตินั้น ผลตะขบเป็นผลไม้เล็กๆ ที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว ด้วยสีสันสดใส โดยลักษณะเด่นของผลตะขบมีดังนี้ค่ะ 1. รูปร่างและขนาด รูปร่าง: ผลตะขบโดยทั่วไปจะมีรูปทรงกลมรี คล้ายลูกบอลเล็กๆ ขนาด: ขนาดของผลจะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.75-1.5 เซนติเมตร 2. ผลอ่อน ผลตะขบเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว ผลสุก: เมื่อสุกเต็มที่ ผลตะขบจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงสด สีม่วงเข้ม หรือสีน้ำตาลอมแดง ซึ่งสีสันที่ได้จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของตะขบค่ะ 3. เนื้อผล เนื้อ: เนื้อผลตะขบมีลักษณะนิ่ม เมื่อสุกเต็มที่เนื้อจะฉ่ำน้ำ รสชาติ: รสชาติของผลตะขบจะหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ค่ะ 4. เมล็ด ภายในผลตะขบจะมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมาก เมล็ดมีรูปร่างแบนและแข็งค่ะ หลายคนอาจยังไม่มีประสบการณ์หาตะขบ แต่คุณผู้อ่านรู้ไหมคะว่า? ตะขบเป็นผลไม้ที่หาทานได้ง่ายตามธรรมชาติมากๆ ริมทางข้างถนนมีเยอะค่ะ แต่การทานตะขบก็ต้องมีการคัดเลือกหน่อยนะคะ โดยผลตะขบที่สุกกำลังดีและอร่อยเป็นแบบไหนนั้นให้นำมาเทียบกับข้อมูลตามนี้ค่ะ กับวิธีเลือกเก็บผลตะขบ สังเกตสี: ผลตะขบที่สุกเต็มที่ จะมีสีแดงสดใสทั่วทั้งผล หรืออาจมีสีแดงอมม่วงเข้มนะคะ สัมผัสดู: ผลตะขบที่สุกนิ่ม จะมีความนุ่มเมื่อกดเบาๆ แต่ไม่เละ ดมกลิ่น: ผลตะขบสุกจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ หวานชื่นใจค่ะ ดูที่ก้าน: ก้านของผลตะขบที่สุกใหม่ๆ จะยังคงสดและติดแน่นอยู่กับผล สังเกตผิว: ผิวของผลตะขบที่ดี จะต้องเรียบเนียน ไม่มีรอยช้ำหรือรอยด่างค่ะ ซึ่งมีเคล็ดลับเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ได้แก่ เลือกผลที่ขนาดเท่ากัน: เนื่องจากผลตะขบที่ขนาดเท่ากัน มักจะมีความสุกที่ใกล้เคียงกันค่ะ หลีกเลี่ยงผลที่ร่วงหล่น: ผลตะขบที่ร่วงหล่นมานาน อาจจะช้ำหรือเสียได้นะคะ เลือกซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ: ถ้าต้องซื้อให้เลือกจากแหล่งที่น่าซื้อค่ะ การทำแบบนี้ก็เพื่อให้ได้ผลตะขบที่สดใหม่และปลอดภัยนั่นเอง ถ้าเก็บตะขบมามาเยอะหรือซื้อมาเยอะ แล้วต้องการเก็บเอาไว้ทานเวลาอื่น ให้ใช้วิธีการเก็บรักษาตะขบตามนี้ค่ะ อุณหภูมิห้อง: หากจะทานตะขบในเร็ววัน สามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ค่ะ ตู้เย็น: เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ควรเก็บตะขบไว้ในตู้เย็นช่องผัก กรณีต้องการเอาไว้ทานหลายวันนะคะ ช่องแช่แข็ง: หากต้องการเก็บไว้เป็นเวลานานขึ้น สามารถนำตะขบไปแช่แข็งได้ แต่รสชาติอาจเปลี่ยนไปเล็กน้อย ซึ่งในกรณีนี้จะเหมาะถ้าเราต้องการนำตะขบมาทำเมนูอื่นๆ เช่น น้ำตะขบ แยมตะขบ เป็นต้น ตะขบเป็นผลไม้ตามธรรมชาติที่ผู้เขียนทานบ้างค่ะ และถึงแม้ว่าลูกสีแดงจะเป็นตัวเลือกของใครหลายคน แต่สำหรับผู้เขียนแล้วส่วนมากมักเลือกลูกสีชมพูค่ะ เพราะไม่ค่อยชอบอะไรที่หวานมาก โดยเฉพาะผลไม้ที่หวานๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ แต่เห็นหลานชอบตะขบสีแดงมาก เพราะเคยพาเขาไปเก็บตะขบตามริมทาง เด็กมักมองหาลูกสีแดงค่ะ ปกติไม่เคยซื้อตะขบเลยค่ะ ก็ไม่รู้ว่าที่อื่นมีขายไหม แต่ผู้เขียนยังไม่เคยซื้อค่ะ ที่ทำบ่อยทำประจำก็คือเก็บจากต้นที่เกิดเองตามธรรมชาติ กับจากต้นที่เจ้าของไม่ได้หวงค่ะ ยังไงนั้นถ้าคุณผู้อ่านสนใจจะทานตะขบ ต้องลองออกจากบ้านไปแล้วมองหาต้นตะขบริมทางดูค่ะ ตะขบยังทานได้นะคะ และให้เลือกลูกที่น่าดีมาทาน โดยผู้เขียนก็ได้แนะนำเอาไว้แล้วตามเนื้อหาข้างต้นค่ะ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หากชอบบทความแบบนี้อีก ก็อย่าลืมกดติดตามหรือกดบุ๊กมาร์กหน้าโปรไฟล์ไว้นะคะ เพราะจะได้ไม่พลาดบทความใหม่ๆ ที่จะได้นำมาเผยแพร่ในเร็วๆ นี้ค่ะ เครดิตภาพประกอบบทความ ภาพหน้าปกและภาพประกอบเนื้อหาโดยผู้เขียน ออกแบบภาพหน้าปกใน Canva เกี่ยวกับผู้เขียน ภัคฒ์ชาลิสา จำปามูล จบการศึกษา : พยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.) จากวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม กระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม); M.P.H. (Environmental Health) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความสนใจและประสบการณ์เกี่ยวกับ : สุขภาพ จิตวิทยาเชิงบวก การจัดการน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล บทความอื่นที่น่าสนใจโดย Pchalisa https://food.trueid.net/detail/6Ay2r6ve01eJ https://food.trueid.net/detail/QBvQLRJ86JkO https://food.trueid.net/detail/7DBYW9rxAr4g เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !